(VOVWorld)-ปี๒๐๑๖ การส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรจะมีสัญญาณที่น่ายินดีเนื่องจากความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นและข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามให้ภาคียานุวัติเริ่มมีผลบังคับใช้ ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือหน่วยงานและผู้ประกอบการผลักดันการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตร ทางกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทและกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเวียดนามได้เสนอมาตรการต่างๆเพื่อผลักดันการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรในเวลาที่จะถึง
ตลาดการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรในปี๒๐๑๖มีสัญญาณที่น่ายินดี |
ใน๒เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำได้บรรลุเกือบ๓พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ๙.๗เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ๑๒.๕ของมูลค่าการส่งออกของเวียดนาม โดยผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีปริมาณการส่งออกมากที่สุดคือ ข้าว กาแฟและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
ในปี๒๐๑๖นี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรได้รับการประเมินว่า มีโอกาสมากมายเนื่องจากความต้องการของตลาดเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ ผลจากการที่ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับหุ้นส่วนต่างๆมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน เวียดนามเน้นส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรไปยังตลาดหลักคือ สหรัฐ ยุโรป จีนและภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในเวลาที่ผ่านมา อัตรการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรหลัก เช่น ข้าว ไม้ กาแฟ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนมูลค่าการส่งออกผักผลไม้เพิ่มขึ้นสูงที่สุด ก่อนหน้านั้น เวียดนามยังไม่เคยส่งออกผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น แก้วมังกร มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย เป็นต้น ไปยังตลาดต่างประเทศแต่ปัจจุบันสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดที่มีมาตรฐานที่เข้มงวดคือสหรัฐ อียูและญี่ปุ่น ถ้าหากสามารถธำรงอัตราการส่งออกผักผลไม้ได้เหมือนในเวลาที่ผ่านมา ในปลายปีนี้ มูลค่าการส่งออกผักผลไม้จะอยู่ที่๒พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรของเวียดนามยังมีศักยภาพอีกมาก แต่อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อยและสิ่งที่สำคัญในปัจจุบันคือ ต้องมีมาตรการปรับปรุงการผลิตและเกาะติดความต้องการของตลาด นาย เหงวียนวันบิ๊ก ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเห็นว่า“แต่ก่อน พวกเราต้องปรับปรุงการผลิตเกษตรและมีการพยากรณ์อย่างถูกต้องเกี่ยวกับความผันผวนของตลาด ปัจจุบัน พวกเราส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรหลักรวม๑๑รายการ ซึ่งบางรายการมีความลำบากในการเพิ่มปริมาณการส่งออก ดังนั้น พวกเราต้องกำหนดผลิตภัณฑ์การเกษตรชนิดใหม่ที่มีศักยภาพในการแข่งขันและมีจุดแข็งเพื่อพัฒนามากขึ้น อาทิเช่น กล้วยที่มูลค่าการส่งออกอาจบรรลุ๑พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเวลาที่จะถึง ส่วนผักก็มีมูลค่าการส่งออกหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผมทราบมาว่า ประเทศเพื่อนบ้านต่างๆเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียและสิงคโปร์ก็มีความต้องการนำเข้าผัก”
นาย หวูดิ่งอ๊าง นักเศรษฐศาสตร์
|
แต่อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากโอกาสต่างๆ แล้ว เวียดนามกำลังถูกแรงกดดันจากการแข่งขันส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตร นอกเหนือจากอุปสรรคด้านเทคนิค คุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารแล้ว แหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์การเกษตรก็เป็นปัญหาที่บรรดาผู้ผลิตและผู้ส่งออกกำลังพยายามแก้ไข เพื่อบรรลุเป้าหมายการขยายตัวด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรให้ทัดเทียมกับ ศักยภาพที่มีอยู่ ทางกระทรวงพาญิชย์และอุตสาหกรรม กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามได้เสนอมาตรการส่งออกสินค้าชนิดดังกล่าว ในเวลาที่จะถึง นอกเหนือจากการผลักดันการวางแผน การกำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับการปลูกและการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าแล้ว เกษตรกรและผู้ประกอบการกำลังพยายามวางยุทธศาสตร์การผลิตเพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง มีความต่อเนื่องและค้ำประกันความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ที่มีมาตรฐานที่เข้มงวด นอกจากนี้ เพื่อครองส่วนแบ่งในตลาด บรรดาผู้ประกอบการต้องยืนยันคุณภาพและเครื่องหมายการค้าของตนให้ได้ นาย หวูดิ่งอ๊าง นักเศรษฐศาสตร์ได้เผยว่า“สำหรับผลิตภัณฑ์การส่งออกหลักและสินค้าการส่งออกที่จะมีศักยภาพในอีกหลายปีข้างหน้า เวียดนามต้องเน้นถึง๒ปัญหา ๑คือ ต้องกำหนดได้ว่า เน้นคุณภาพหรือปริมาณ ๒คือ ต้องทำอย่างไรเพื่อค้ำประกันคุณภาพเพื่อสร้างเครื่องหมายการค้าให้แก่ ผลิตภัณฑ์การเกษตร”
เพื่อใช้โอกาสจากกระบวนการผสมผสาน ต้องผลักดันการพยากรณ์ตลาดต่างประเทศ กิจกรรมการส่งเสริมการค้าต่อสินค้าการเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำ กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทและกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเวียดนาม โดยเฉพาะ สำนักงานพาณิชย์เวียดนามในต่างประเทศต้องเป็นสะพานเชื่อมที่สำคัญในการสนองข้อมูล ผลักดันความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงระหว่างการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำ ซึ่งนี่เป็นพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงระหว่างตลาดต่างๆกับเวียดนามเพื่อตอบสนอง ความต้องการในการยกระดับคุณภาพสินค้าการส่งออกตามมาตรฐานของประเทศที่นำเข้า
เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรในปี๒๐๑๖ รัฐเวียดนามได้วางมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการลงทุน เปลี่ยนแปลงใหม่เทคโนโลยี ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะ พันธุ์พืช เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเก็บรักษา การแปรรูป ผสานระหว่างการผลิตกับการแปรรูปและการจำหน่าย ควบคู่กันนั้น ต้องส่งเสริมความเชื่อมโยงในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดภายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ.