ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ

Tô Tuấn- VOV5 Theo Tô Tuấn- VOV5 -
Chia sẻ
(VOVworld) – ถึงแม้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ในหลายปีมานี้ เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ยัง คงไหลเข้าจังหวัดต่างๆในภาคเหนืออย่าแข็งขัน รวมทั้งมีโครงการลงทุนจำนวนมากในเขตนิคมอุตสาหกรรมซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า  นักลงทุนต่างประเทศยังคงถือจังหวัดต่างๆในภาคเหนือเป็นจุดนัดพบที่น่าสนใจ เพื่อลงทุนโครงการใหม่ๆหรือขยายการลงทุน


(VOVworld) – ถึงแม้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ในหลายปีมานี้ เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ยังคงไหลเข้าจังหวัดต่างๆในภาคเหนืออย่าแข็งขัน รวมทั้งมีโครงการลงทุนจำนวนมากในเขตนิคมอุตสาหกรรมซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า  นักลงทุนต่างประเทศยังคงถือจังหวัดต่างๆในภาคเหนือเป็นจุดนัดพบที่น่าสนใจเพื่อลงทุนโครงการใหม่ๆหรือขยายการลงทุน

ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ - ảnh 1
โรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมThang Long

ปี ๒๐๑๒ จังหวัดต่างๆในภาคเหนือสามารถดึงดูดเงินทุนFDI  ได้ประมาณ ๖ พันล้านเหรียญสหรัฐจากยอดเงินทุนFDI ของทั้งประเทศ ๑ หมื่น ๓ พันล้านเหรียญสหรัฐและในจำนวน ๑๐ ท้องถิ่นชั้นนำในการดึงดูดเงินทุน FDI มี ๖ จังหวัดในภาคเหนือซึ่งประกอบไปด้วย ฮานอย เมืองท่าไฮฟอง บั๊กนิง บั๊กยาง กว๋างนิงและฮึงเอียนซึ่งได้ดึงดูดเงินทุนFDIรวม ๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ บางจังหวัดในภาคเหนือถึงแม้จะประสบความลำบาก แต่ก็มีการพัฒนาการดึงดูดเงินทุนFDIโดยหันไปเน้นดึงดูดเงินทุนจดทะเบียนใหม่และโครงการที่เพิ่มเงินลงทุนรวมประมาณ ๑ พันล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น จังหวัดในภาคเหนือส่วนใหญ่จึงเป็นแหล่งของโครงการและเงินทุนFDIใหม่ในปี๒๐๑๒ สิ่งที่ชัดเจนคือ หลังจากผ่านพ้นภาวะซบเซาเมื่อเทียบกับเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆในภาคใต้ สถานการณ์การดึงดูดเงินทุนFDI ของเขตนิคมอุตสาหกรรมในภาคเหนือได้ดีขึ้นหลังจากปรับปรุงมาตรการต่างๆโดยรัฐบาลได้สั่งให้กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆปฏิบัติงานด้านการวางแผน การเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการร่างเอกสารทางนิตินัยที่เพิ่มความคล่องตัวให้แก่เขตนิคมอุตสาหกรรมให้เสร็จสมบูรณ์แล้ว รัฐยังคงผลักดันการช่วยเหลือเงินทุนเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการดึงดูดการลงทุนเข้าเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ นาย Bùi Quang Vinh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้เผยว่ารัฐได้ให้การช่วยเหลือด้านต่างๆ โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ผู้บริหารและผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมต้องมีความคล่องตัวมากขึ้นในการแสวงหาแหล่งเงินทุนอื่นๆนอกเหนือจากเงินทุนของรัฐเพื่อสร้างก้าวกระโดดในการดึงดูดเงินทุน”

ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ - ảnh 2
เขตนิคมอุตสาหกรรมVSIP ไฮฟอง

การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดหลังจากปฏิบัตินโยบายดึงดูดเงินทุนเข้าเขตนิคมอุตสาหกรรมในเวลาที่ผ่านมาคือ โครงการใหญ่หลายโครงการได้รับการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว เช่น โรงงาน Kyocera ในเขตนิคมอุตสาหกรรม VSIP ไฮฟอง หลังจากที่ได้รับใบรับรองการลงทุนเพียงไม่กี่เดือน โรงงานดังกล่างได้รับการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในกว่า 1 ปีและได้ผลิตเครื่องพิมพ์ยี่ห้อ Kyocera Made in Vietnam เครื่องแรก นอกจากนั้น โครงการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ Nipro Pharma ในเขตนิคมอุตสาหกรรมVSIP ไฮฟองซึ่งผลิตยารักษาโรคและอุปกรณ์สาธารณสุขทันสมัยของญี่ปุ่น โครงการของกลุ่มบริษัทชั้นนำในโลก Bridgestone ซึ่งผลิตยางรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเขตนิคมอุตสาหกรรม Đình Vũ ไฮฟอง ตามแนวโน้มดังกล่าว จังหวัด Quảng Ninh ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีบทบาทสำคัญในเขตสามเหลี่ยมพัฒนาเศรษฐกิจในภาคเหนือก็กำลังพยายามแสวงหามาตราการและเรียกร้องให้โครงการลงทุนจากต่างประเทศที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโครงการสถานประกอบการญี่ปุ่นลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ViệtHưng และ ĐôngMai ในปี 2013 จังหวัด Quảng Ninh ได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะดึงดูดเงินทุน  FDI 7 โครงการ รวมยอดเงินทุน 500 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งในนั้นมี 2 โครงการที่กำลังก่อสร้างคือ โครงการขยายท่าเรือ Hải Hà และโรงงานผลิตธาตุหายาก นอกจากนั้น ทางจังหวัดกำลังปฏิบัติโครงการสำคัญต่างๆ เช่น เส้นทางไฮเวย์ฮาลอง-MóngCái โครงการเส้นทางลัดและสะพาน Bắc Luân II และสนามบินนานาชาติ Vân Đồn เพื่อต้อนรับแหล่งเงินทุนใหม่ๆ

ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ - ảnh 3
เขตนิคมอุตสาหกรรม Đình Vũ (diendandautu.vn)

การเปลี่ยนแปลงอีกประเด็นหนึ่งในการดึงดูดเงินทุนFDIของเขตนิคมอุตสาหกรรมในภาคเหนือคือ สถานประกอบการหลายแห่งได้ให้ความสนใจต่อการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างดีในเชิงรุกและให้การช่วยเหลือสถานประกอบการเข้าลงทุน เช่น เขตนิคมอุตสาหกรรม Nam Sách ในจังหวัด HảiDương ถึงแม้ไม่มีจุดแข็งคือมีชายฝั่งทะเลดั่งเช่นเมืองท่าไฮฟองหรือ QuảngNinh แต่เขตนิคมอุตสาหกรรม NamSách ยังคงมีข้อได้เปรียบเนื่องจากลงทุนก่อสร้างเขตนิคมอุตสาหกรรมได้มาตรฐานสากล ดังนั้น สถานประกอบการได้ใช้พื้นที่ดินในเขตนี้ถึงร้อยเปอร์เซนต์โดยมี 19 โครงการทั้งภายในและต่างประเทศ รวมยอดเงินทุนกว่า 230 ล้านเหรียญสหรัฐ นาย Phạm Văn Hồng ผู้อำนวยการเขตนิคมอุตสาหกรรม Nam Sách ได้แสดงความเห็นว่าในการวางแผนต้องคำนึงถึงความพร้อมเพรียงและความสมบูรณ์ไม่เพียงแต่ในด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเท่านั้น หากยังต้องให้ความสนใจถึงโครงสร้างพื้นฐานสังคมและปัญหาแรงงานอีกด้วย เนื่องจากนักลงทุนที่ลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรม พวกเขาพิจารณาปัญหาต่างๆอย่างรอบคอบ เช่น ถนน กิจการสาธารณูปโภค พวกเราต่างให้การช่วยเหลือนักลงทุนอย่างทันการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการลงทุนไปจนถึงการร่างเอกสารทางนิตินัยที่เกี่ยวข้องและเมื่อโครงการดังกล่าวเปิดให้บริการและผลิต พวกเรายังมีกลุ่มที่ปรึกษา แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พวกเขามั่นใจประกอบธุรกิจและผลิต

ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ - ảnh 4
เขตนิคมอุตสาหกรรมTu Son-BacNinh

จากสถานการณ์ที่เป็นจริงในเวลาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การดึงดูดเงินทุน FDI ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังช่วยให้เวียดนามปรับปรุงแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงให้ดีขึ้นอีกด้วย ผลสำเร็จจากการดึงดูดเงินทุนต่างประเทศในบางแขนงอุตสาหกรรมในจังหวัดต่างๆในภาคเหนือเป็นตัวอย่างดีเด่นของนโยบายพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมเวียดนามอย่างยั่งยืน ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในท้องถิ่น มีส่วนร่วมช่วยให้เศรษฐกิจเวียดนามผสมผสานเข้ากับกระแสโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว./.

Feedback