จังหวัดนิงถ่วนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสมบูรณ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ

Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) - จังหวัดนิงถ่วนตั้งอยู่ในศูนย์กลางของเขตท่องเที่ยวภาคกลางตอนใต้ ประกอบด้วย ดาลัด ญางจางในจังหวัดแค้งหว่า ฟานเทียดในจังหวัดบิ่งถ่วนและนครโฮจิมินห์ เป็นศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของภูมิภาค ดังนั้น นิงถ่วนกำลังส่งเสริมการก่อสร้าง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง ใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเกี่ยวกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่เพื่อกลายเป็นจุดเด่นเกี่ยวกับการลงทุนและเศรษฐกิจของภูมิภาคและทั้งประเทศ
 
 
จังหวัดนิงถ่วนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสมบูรณ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ - ảnh 1จังหวัดนิงถ่วนกำลังดึงดูดการลงทุนในด้านการส่งไฟฟ้า พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ (plo.vn)

ในช่วงเริ่มก่อตั้งจังหวัดนิงถ่วนเมื่อปี 1992 ทั้งจังหวัดมีถนนระยะทางรวมกันไม่เกิน 500 กม. แถมยังเป็นถนนที่เก่า แคบและทรุดโทรม แต่หลังจากปฏิบัติกลไกและนโยบายใหม่ ระดมพลังทุกแหล่งเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ปัจจุบัน ระบบโครงข่ายคมนาคมของจังหวัดฯได้พัฒนาอย่างครอบคลุม มีระยะทางมากกว่า 1,500 กม. มีทางหลวงตัดผ่านจังหวัดฯ 174 กม. มีทางหลวงระหว่างเมือง 14 สาย รวมระยะทาง 324 กม. และเส้นทางคมนาคมสำคัญๆ

หนึ่งในโครงการที่ช่วยให้จังหวัดนิงถ่วนมีการเปลี่ยนแปลงคือโครงการถนนเลียบชายฝั่งจากบิ่งเตียนในอำเภอถ่วนบั๊กไปยังก่าน๊า รวมระยะทางเกือบ 106 กม. โครงการนี้ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2015 ซึ่งมีส่วนร่วมเสร็จสิ้นโครงการคมนาคมขนส่งโดยขั้นพื้นฐาน เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจหลักของจังหวัดฯ ใช้ประโยชน์จากศักยภาพและข้อได้เปรียบของทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนและการท่องเที่ยว ตามการวางแผนในช่วงปี 2021-2030 วิสัยทัศน์ถึงปี 2050 นิงถ่วนกำหนดแนวทางการพัฒนาและจัดตั้งตัวเมืองชายฝั่ง 6 แห่ง ได้แก่ หวิงฮวี แทงหาย ฟานราง ทาปจ่าม เซินหายและก่าน้าเพื่อจัดตั้งตัวเมืองการท่องเที่ยวในพื้นที่ตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัดฯ นาย เหงียนญือเหงี่ยน รองหัวหน้าสำนักงานการก่อสร้างจังหวัดนิงถ่วนเผยว่า

“เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ สำนักงานการก่อสร้างได้เป็นฝ่ายรุกในการให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการประชาชนจังหวัดฯเพื่อปรับปรุงโครงการพัฒนาตัวเมืองของจังหวัดฯในช่วงปี 2021-2025 และกำหนดแนวทางถึงปี 2030 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวเมืองในท้องถิ่น ควบคู่กันนั้น ทางสำนักงานฯได้ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการประชาชนจังหวัดฯ และสภาประชาชนจังหวัดฯ ในการประกาศใช้มติและตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติโครงการพัฒนาจังหวัดฯในช่วงปี 2025 กำหนดวิสัยทัศน์จนถึงปี 2030 นี่คือ 2 โครงการสำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานจัดทำแผนการและโครงการในการกำหนดแนวทางการพัฒนาตัวเมืองของจังหวัดนิงถ่วน”

เป้าหมายของจังหวัดนิงถ่วนจนถึงปี 2030 คือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นทางเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมบูรณ์ตามแนวทางที่พร้อมเพรียง ทันสมัย เชื่อมโยงในระดับสูงและส่งเสริมศักยภาพและความได้เปรียบของโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ท่าเรือ ชลประทานในตัวเมืองและเขตนิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบัน จังหวัดนิงถ่วนกำลังก่อสร้างท่าเรือก่าน้า มีพื้นที่ประมาณ 108 เฮกตาร์ในตำบลเฟือกเยียม อำเภอถ่วนนาม โครงการนี้มีท่าเทียบเรือ 17 แห่ง ด้วยเงินลงทุนเกือบ 274 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงกิจการวางแผน เช่น ท่าเรือและคลังสินค้า ซึ่งนี่คือท่าเรือน้ำลึกที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี โดยตั้งเป้าหมายให้เป็นสถานที่ขนถ่ายสินค้าให้แก่ทั้งเขตชายฝั่งในภาคกลางตอนใต้และเขตที่ราบสูงเตยเงวียน จังหวัดนิงถ่วนยังได้อนุมัติโครงการถนนที่เชื่อมระหว่างท่าเรือก่าน้ากับเขตที่ราบสูงเตยเงวียน ปฏิบัติโครงการถนนไฮเวย์สายเหนือ-ใต้ ช่วงกามเลิม จังหวัดแค้งหว่าและหวิงหาว จังหวัดบิ่งถ่วน เริ่มก่อสร้างถนนที่เชื่อมถนนไฮเวย์สายเหนือ-ใต้กับทางหลวงหมายเลข 1 และท่าเรือก่าน้า รวมทั้งถนนที่เชื่อมระหว่างอำเภอนิงเซินกับอำเภอดึ๊กจ่องในจังหวัดเลิมด่ง

จังหวัดนิงถ่วนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสมบูรณ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ - ảnh 2เมื่อถนนไฮเวย์กามเลิม-หวิงหาวเปิดใช้งานจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการค้าและสร้างเครือข่ายถนนระหว่างท่าเรือก่าน้า สนามบินแทงเซินและท้องถิ่นต่างๆในภูมิภาค (qdnd.vn)

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติการวางแผนแบบบูรณาการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสนามบินทั่วประเทศในช่วงปี 2021-2030 วิสัยทัศน์ถึงปี 2050 รวมถึงสนามบินแทงเซินในจังหวัดนิงถ่วน ซึ่งจะช่วยให้จังหวัดฯมีวิธีการขนส่งครบทั้ง 5 รูปแบบ ได้แก่ ทางบก ทางรถไฟ ท่าเรือ ทางน้ำและทางอากาศ อันเป็นการเปิดพลังขับเคลื่อนแห่งการเติบโตใหม่ที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กลาโหมและความมั่นคงให้แก่ท้องถิ่น นาย เหงียนวันวิง ผู้อำนวยการสำนักงานคมนาคมขนส่งจังหวัดนิงถ่วนเผยว่า

“นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเพิ่มการวางแผนสนามบินแทงเซิน ซึ่งจะสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้แก่จังหวัดฯ โดยเฉพาะการพัฒนาการท่องเที่ยว เปิดกระแสการพัฒนาใหม่ให้แก่จังหวัดนิงถ่วน ในเวลาที่ผ่านมา จังหวัดนิงถ่วนได้เป็นฝ่ายรุกและเร่งวางแผนก่อสร้างสนามบินแทงเซินให้เป็นการวางแผนระดับชาติ”

นอกจากเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในตัวเมืองและเครือข่ายคมนาคมขนส่งแล้ว จังหวัดนิงถ่วนกำลังดึงดูดการลงทุนในด้านการส่งไฟฟ้า พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ทางจังหวัดฯได้อนุมัตินโยบายการลงทุนและใบรับรองการจดทะเบียนการลงทุนให้แก่โครงการพลังงาน 63 โครงการ รวมยอดเงินลงทุนกว่า 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปลายเดือนมิถุนายน จังหวัดฯมีโครงการที่เสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับกระแสไฟฟ้าแห่งชาติ  54 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตเกือบ 3,400 เมกะวัตต์ 4 โครงการที่กำลังก่อสร้าง และ 4 โครงการกำลังเสร็จสิ้นระเบียบการทางกฎหมายเพื่อเริ่มการก่อสร้าง ซึ่งกิจการเหล่านี้ทำให้จังหวัดนิงถ่วนกลายเป็นศูนย์กลางพลังงานหมุนเวียนของประเทศ นาย เหงียนเติมเตี๊ยน ผู้อำนวยการใหญ่ของกลุ่มบริษัทจุงนาม ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่กำลังปฏิบัติโครงการส่งไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าย่อยขนาด 500kv และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 450 เมกะวัตต์ในตำบลเฟือกมิง อำเภอถ่วนนามได้เผยว่า

“ความแตกต่างของจังหวัดนิงถ่วนคือคณะกรรมการประชาชนจังหวัดฯเดินพร้อมกับสถานประกอบการอยู่เสมอ ร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับไกล นโยบาย กระทรวงและหน่วยงานส่วนกลาง เช่น มติที่ 115 ของรัฐบาลได้อำนวยความสะดวกที่สำคัญในการดึงดูดการลงทุนของนักลงทุนภาคเอกชนในด้านพลังงานหมุนเวียน นอกจากนั้น คณะกรรมการประชาชนจังหวัดนิงถ่วนได้ทำงานร่วมกับนักลงทุน สภาแห่งชาติ รัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานต่างๆเพื่อพัฒนาโครงการแรกที่มอบหมายให้แก่นักลงทุนเอกชน ลงทุนก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยและสายส่งไฟฟ้า 500kv ในท้องถิ่น”

ในเวลาที่จะถึง เมื่อถนนไฮเวย์กามเลิม-หวิงหาวเปิดใช้งานจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการค้าและสร้างเครือข่ายถนนระหว่างท่าเรือก่าน้า สนามบินแทงเซินและท้องถิ่นต่างๆในภูมิภาค จากนั้น นิงถ่วนจะสร้างเขตตัวเมืองโลจิสติกส์อุตสาหกรรม แร่ธาตุ พลังงานและเขตเศรษฐกิจหลักในภาคใต้ มีส่วนร่วมต่อการเพิ่มศักยภาพและความได้เปรียบอย่างเต็มที่เพื่อสร้างก้าวกระโดด ก้าวรุดหน้าไปและพัฒนาอย่างเข้มแข็งในปีต่อ ๆ ไป.

Feedback