กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนามประเมินว่า ในปี 2011 เวียดนามประสบความสำเร็จในการส่งออกข้าวทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า โดยเฉพาะเกษตรกรมีรายได้มากที่สุดที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนบรรดาผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจได้แสดงความเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ 7 ล้านตันตามแผนที่วางไว้
|
สมาพันธ์ธัญญาหารเวียดนามเผยว่า จนถึงต้นเดือนธันวาคมปี 2011 สถานประกอบการต่างๆได้มีสัญญาส่งออกข้าวกว่า 7.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วและได้ส่งมอบข้าวให้แก่ผู้สั่งซื้อกว่า 6.7 ล้านตัน ด้วยยอดมูลค่าเกือบ 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 490 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละเกือบ 12 เมื่อเทียบกับปี 2010 คาดว่า การส่งออกข้าวในเดือนธันวาคมอาจจะบรรลุ 4 แสนตัน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่เวียดนามจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในการส่งออกข้าวปี 2011 คือ 7 ล้านตัน นาย Vu Huy Hoang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนามเผยว่า สาเหตุที่ช่วยให้หน่วยงานการเกษตรเวียดนามประสบผลสำเร็จที่น่ายินดีทั้งในด้านการผลิตและการส่งออกข้าวนั้นก็เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวได้ผลดีและเกษตรกรสามารถขายข้าวได้ในราคาสูง ซึ่งให้กำไรได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งเป็นอัตราสูงเป็นประวัติการ แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังมีความกังวลในด้านราคา เพราะว่า ราคาข้าวที่ขายได้ยังต่ำกว่าราคาข้าวของบางประเทศในภูมิภาค ซึ่งบางทีต่ำกว่า 50-100 เหรียญสหรัฐต่อตันเพราะวิธีการทำธุรกิจแบบรายย่อยและการปลูกพันธุ์ข้าวที่แตกต่างกันได้ทำให้ข้าวมีคุณภาพไม่เหมือนกัน นาย Nguyen Ngoc Tri อธิบดีกรมการเพาะปลูกกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามเผยว่า“
การผลิตในด้านเกษตรของเราส่วนใหญ่ยังคงเป็นการปลูกและการผลิตแบบรายย่อยเพราะว่า พื้นที่การเกษตรของเวียดนามมีน้อยมากเมื่อถัวเฉลี่ยต่อหัวประชากร”
ฉนั้นเพื่อให้ข้าวเวียดนามสามารถพัฒนามูลค่าได้ ก็ต้องมีการวางมาตรการแก้ไขต่างๆ เช่น สร้างสถานะที่มั่นคงให้แก่เครื่องหมายการค้า โดยเฉพาะทำการปฏิรูปในการควบคุม การสร้างระบบคลังสำรองและการเก็บรักษาข้าว รวมไปถึงการยกระดับความสามารถในการพยากรณ์ การบริหารและการรับมืออย่างคล่องตัวกับความผันผวนของตลาด ส่วนตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจ การส่งออกข้าวของวน.ต้องเป็นไปตามแนวทางเพิ่มปริมาณการผลิต ยกระดับคุณภาพและส่วนแบ่งข้าววน.ในตลาดโดยรัฐจะมีบทบาทสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ นาย Le Van Banh หัวหน้าสถาบันวิจัยข้าวในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเผยว่า“ปัจจุบัน ที่วน. สถานประกอบการยังเป็นผู้รับซื้อข้าวโดยตรงจากเกษตรกร ดังนั้นการได้กำไรหรือขาดทุนนั้นก็จะเป็นผู้รับผิดชอบเอง แต่เมื่อเร็วๆนี้ เกิดปัญหาเกษตรกรได้ทำการสำรองข้าวเองแล้วขายในราคาต่ำเพราะกลัวว่าข้าวจะเสียหาย ดังนั้นรัฐควรเป็นผู้ซื้อเพื่อสำรองแล้วจะเปิดการประมูลเมื่อมีความต้องการส่งออกข้าวซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่เกษตรกรในการผลิต”
|
เพื่อการพัฒนาข้าวอย่างยั่งยืน นักวิทยาศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนการทำเกษตรที่ดี โดยก่อนอื่นต้องใช้มาตรฐานการผลิตที่ทันสมัยในขอบเขตที่กว้างขวางเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านคุณภาพของตลาดและแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเกษตรกรกับสถานประกอบการตามแนวทางที่ให้ความสนใจมากขึ้นต่อกำไรของผู้ปลูกข้าว โดยเฉพาะความช่วยเหลือของสถานประกอบการและนักวิชาการในการสร้างทุ่งนาที่กว้างใหญ่นับร้อยเฮ็กต้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยและการใช้พันธุ์ข้าวดีอีกด้วย ศ.ดร. Vo Tong Xuan ผู้เชี่ยวชาญการเกษตรกล่าวว่า “
เราควรมีการวางผังเขตพื้นที่ปลูกพันธุ์ข้าวดีเพื่อสามารถทำการฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรเพื่อช่วยให้พวกเขาปลูกข้าวได้มาตรฐานของยุค เช่น มาตรฐานGlogap หรือ Vietgap ซึ่งจะช่วยยกระดับสถานะของข้าววน.บนเวทีโลก”
ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา วน.อยู่อันดับที่สองในการส่งออกข้าวของโลกเสมอ ซึ่งการพัฒนานั้นไม่เพียงแต่ช่วยรักษาความมั่นคงด้านอาหาร ความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานและเสถียรภาพของราคาข้าวภายในประเทศเท่านั้น หากยังเป็นด้านหลักในการส่งออกอีกด้วย ดังนั้น การที่วน.จะส่งออกข้าว 7 ล้านตันในปี 2011 ถือเป็นสัญญาณที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก./.