เยาวชน จ่าวิงห์ ทำธุรกิจสตาร์ทอัพจากการพัฒนาสินค้าเกษตร

Chia sẻ
(VOVWORLD) - ที่จังหวัดจ่าวิงห์  นับวันมีเยาวชนกลับบ้านเกิดในเขตชนบทเพื่อทำการธุรกิจสตาร์ทอัพมากขึ้นโดยหลายคนได้ประสบความสำเร็จ ที่น่าสนใจคือมีรูปแบบการผลิตและประกอบธุรกิจหลายรูปแบบที่อาสัยสินค้าเกษตรเป็นหลัก ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้แก่เยาวชนเหล่านี้เท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมต่อการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นอีกด้วย
เยาวชน จ่าวิงห์ ทำธุรกิจสตาร์ทอัพจากการพัฒนาสินค้าเกษตร - ảnh 1นาย เจ่มมิงห์ถ่วน (กลาง) กับเกษตรกรในสหกรณ์การเกษตรลองเหียบ
 

ถึงแม้เรียนจบปริญญาโทสาขากฎหมายธุรกิจแต่นาย เจิ่มมิงห์ถ่วน ในตำบลลองเหียบ อำเภอจ่ากู๊ ได้เลือกกลับมาทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่บ้านเกิดด้วยการปลูกข้าวพันธุ์ท้องถิ่น เขาบอกว่า ตอนเป็นเด็กมีความฝันอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าวพันธุ์ท้องถิ่นเพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เมื่อปี 2018  เขาได้ก่อตั้งสหกรณ์การเกษตร ลองเหียบ รวมสมาชิก 61 คน เกษตรกรที่เข้าเป็นสมาชิกจะสามารถขายข้าวให้แก่สหกรณ์ได้ในราคาสูงกว่าตลาด 300 ด่งต่อกิโลกรัม รวมทั้งสามารถซื้อปุ๋ยและพันธุ์ข้าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาด  1,000 ด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งปัจจุบันนี้เครื่องหมายการค้าข้าวสะอาด “หาดหงอกโหร่ง” ของสหกรณ์ ลองเหียบ มีรายได้ประมาณ 2.2 พันล้านด่งต่อปีและมีกำไรกว่า 500 ล้านด่ง นายถ่วนเผยว่า“ทางสหกรณ์สร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษตามแนวทางการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ แต่เพื่อทำได้เช่นนั้น คณะกรรมการบริหารของสหกรณ์ต้องแนะนำวิธีการปลูกแบบปลอดสารพิษให้เกษตรกรปฏิบัติตาม ปัจจุบันนี้ ฟาร์มทุกแห่งของเราไม่ใช้ยากำจัดศัตรูพืชเพื่อผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีและมีรายได้เสริมจากการเลี้ยงปศุสัตว์

ก็เหมือนกับนาย เจิ่มมิงห์ถ่วน  หลังจากเรียนจบปริญญาโทสาขา Food science และทำงานเป็นเวลาสั้นๆ เพื่อเก็บประสบการณ์ นาง แถกถิชาลที ได้ตัดสินใจกลับบ้านเกิดทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ตำบล เตี๋ยวเกิ่น อำเภอเตี๋ยวเกิ่น จากการเล็งเห็นศักยภาพของต้นมะพร้าวในท้องถิ่น เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2019 เธอได้ตัดสินใจจัดตั้งสถานประกอบการผลิตน้ำหวานดอกมะพร้าวภายใต้ยี่ห้อ “ฟาร์มแห่งความสุข” จากแนวทางที่ถูกต้องคือต้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีจุดเด่น ถึงขณะนี้ทางสถานประกอบการสามารถผลิตน้ำหวานดอกมะพร้าวได้กว่า 1.5 ตันต่อเดือน สร้างรายได้ประมาณ 500 ล้านด่ง สร้างงานทำให้แก่แรงงานเกือบ 20 คนด้วยเงินเดือนประมาณ 5 ล้านด่งขึ้นไป สร้างรายได้ที่มีเสถียรภาพให้แก่ครอบครัวที่ปลูกมะพร้าว  10 ครอบครัว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ของฟาร์มเริ่มเจาะตลาดต่างประเทศโดยขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของสหรัฐ นาง แถกถิจาลทีกล่าวว่า            "ปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์ของเรากำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะน้ำหวานดอกมะพร้าวไม่เพียงแต่อร่อยเท่านั้น หากยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย ในเร็วๆนี้ ฉันจะสอนวิธีการเก็บน้ำหวานดอกมะพร้าวให้แก่เจ้าของสวนต่างๆเพื่อให้พวกเขาสามารถเก็บน้ำหวานดอกมะพร้าวด้วยตนเองเพื่อจัดสรรให้แก่ฟาร์มของเรา ซึ่งเจ้าของสวนจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนฟาร์มของเราก็มีแหล่งวัตถุดิบมากขึ้น"

เยาวชน จ่าวิงห์ ทำธุรกิจสตาร์ทอัพจากการพัฒนาสินค้าเกษตร - ảnh 2นาง แถกถิชาลที ได้ตัดสินใจกลับบ้านเกิดทำธุรกิจสตาร์ทอัพ

อีกรูปแบบการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่น่าสนใจของจังหวัดจ่าวิงห์คือ ธุรกิจผลิตผงบุกเพื่อสุขภาพยี่ห้อ แกลนฟาร์ม ของนาย เซินท้ายงวาน นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปีสุดท้ายที่ตำบลแทงเซิน อำเภอจ่ากู๊ นี่เป็นโครงการที่ได้รับคำชื่นชมจากสำนักงานสนับสนุนเยาวชนทำธุรกิจสตาร์ทอัพและนักลงทุนและเป็นหนึ่งในสองธุรกิจสตาร์ทอัพของนักศึกษาที่ติด 1 ใน 50 โครงการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการประกวด "นักเรียน นักศึกษากับความคิดริเริ่มในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ" ปี 2020 ที่จัดโดยกระทรวงศึกษาและฝึกอบรมเวียดนาม จากการตระหนักได้ดีเกี่ยวกับความยากลำบากของเกษตรกร ธุรกิจสตาร์ทอัพนี้ได้แสวงหามาตรการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผงบุกผ่านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผงบุกขมิ้นน้ำผึ้ง ผงบุกดอกอัญชันและผงบุกกลิ่นมะลิ เป็นต้น ซึ่งไม่ใส่สารกันบูด เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 100% และมีความปลอดภัย โดยคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ นาย เซินท้ายงวาน เผยว่า "ปัจจุบันนี้ ผมกำลังวิจัยการนำสินค้ามาเจาะตลาดในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและนครใหญ่ๆ เช่นนครโฮจิมินห์ ดานัง ฮานอยและเกิ่นเทอ ควบคู่กันนั้น ผมก็กำลังวิจัยความนิยมของผู้บริโภคและตลาดกัมพูชา ญี่ปุ่นและจีนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม"

กระบวนการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในหมู่เยาวชนที่จังหวัดจ่าวิงห์กำลังเกิดประสิทธิผล ช่วยสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนคนอื่นๆทำธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะเยาวชนในเขตชนบทและเยาวชนชนกลุ่มน้อย แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้เยาวชนสร้างฐานะที่มั่นคงเท่านั้น หากยังช่วยแก้ไขปัญหาเยาวชนชนบทไปทำงานในท้องถิ่นอื่นอีกด้วย และมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นมากขึ้น./.

Feedback