แผนการของวอชิงตันในการถอนตัวออกจากสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยใกล้และพิสัยกลาง

HongVan/VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ภายหลัง 3 ทศวรรษที่บังคับใช้ สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยใกล้และพิสัยกลางหรือ INF ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐกำลังเสี่ยงที่จะประสบความล้มเหลว เพราะเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่า จะถอนตัวออกจากข้อตกลงฉบับนี้ ถึงแม้ประชามติโลกได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเผชิญหน้าเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 1970 แต่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงมุ่งมั่นในการตัดสินใจดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐเอง
แผนการของวอชิงตันในการถอนตัวออกจากสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยใกล้และพิสัยกลาง - ảnh 1อดีตผู้นำของสหภาพโซเวียด Mikhail Gorbache และอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ Ronald Reagan ลงนามข้อตกลง INF เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมปี 1987 (Reuters) 

สหภาพโซเวียดและสหรัฐลงนามสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยใกล้และพิสัยกลางหรือ INF เมื่อปี 1987 โดยห้ามอีกฝ่ายมีขีปนาวุธที่ติดตั้งบนพื้นดินและขีปนาวุธข้ามทวีปที่มีรัศมีทำการระยะ 500 ถึง 5,500 กิโลเมตรไว้ในครอบครอง เพื่อป้องกันการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ใส่กัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นี่คือเครื่องมือควบคุมอาวุธนิวเคลียร์เพื่อขัดขวางการแข่งขันอาวุธในยุคสงครามเย็น

การลงนามปฏิบัติ INF พร้อมกับสนธิสัญญาฉบับอื่นๆ เช่น สนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธข้ามทวีปหรือ ABM สนธิสัญญาลดอาวุธโจมตีทางยุทธศาสตร์หรือ START ที่ลงนามเมื่อปี 1991 ระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียดหรือรัสเซียในปัจจุบัน ตลอดจนสนธิสัญญาลดอาวุธโจมตีทางยุทธศาสตร์ฉบับใหม่หรือ START 2 ที่ลงนามเมื่อปี 1993 และ START 3 ที่ลงนามเมื่อปี 2010 ได้ยุติภาวะการเผชิญหน้าด้านนิวเคลียร์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย สร้างเสถียรภาพในระดับหนึ่งให้แก่ทวีปนี้ในตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนสร้างความคาดหวังเกี่ยวกับโลกที่ปลอดนิวเคลียร์

แผนการของวอชิงตัน

แผนการถอนตัวออกจาก INF ของทำเนียบขาวไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจ เพราะได้มีกระแสข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว รวมทั้งการที่ INF ได้อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะประสบความล้มเหลวอยู่ตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเหตุผลที่สหรัฐอ้างถึงคือ รัสเซียได้ละเมิดสนธิสัญญาฉบับนี้อย่างรุนแรง  แต่นี่ไม่ใช่เป็นเหตุผลใหม่ เพราะทางการชุดก่อนคือประธานาธิบดี บารัก โอบามา ก็ได้กล่าวหารัสเซียว่า ละเมิดข้อกำหนดของสนธิสัญญานี้หลายครั้งแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ ความคิดในการตำหนิไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับต่างๆคือสิ่งที่นำไปสู่การตัดสินใจของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งถ้าหากสหรัฐถอนตัวออกจาก INF สหรัฐก็จะสามารถปฏิบัติแผนการพัฒนาขีปนาวุธ โทมาฮอว์ก ให้สามารถยิงจากพื้นดิน รวมทั้งสามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้

อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือจีน นับตั้งแต่ปี 1987 กองทัพจีนได้มีกระบวนการพัฒนาให้มีความทันสมัยอย่างเข้มแข็งด้วยการลงทุนพัฒนาอาวุธใหม่ โดยเฉพาะขีปนาวุธซึ่งได้รับการลงทุนมากที่สุด ส่วนบรรดาเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงของสหรัฐเคยเผยว่า ถ้าหากจีนเป็นหนึ่งในภาคีของสนธิสัญญา INF ขีปนาวุธนำวิถีและขีปนาวุธข้ามทวีปร้อยละ 95 ของจีนจะละเมิดสนธิสัญญาฉบับนี้ เพราะขีปนาวุธบางชนิดของจีนมีพิสัยการยิงถึง 15,000 กิโลเมตร ซึ่งสามารถครอบคลุมดินแดนของสหรัฐได้ทั้งหมด และตามความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาพรรครีพับลิกันของสหรัฐ Tom Cotton จีนคือหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ทางการสหรัฐพิจารณาถอนตัวออกจากข้อตกลงกับรัสเซีย ซึ่งแม้กระทั่งประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เองก็ได้ยืนยันว่า เหตุผลที่สหรัฐถอนตัวออกจากสนธิสัญญา INF ที่ลงนามกับรัสเซีย เนื่องจากความจำเป็นที่จะต้องตอบโต้กระบวนการพัฒนานิวเคลียร์ของจีน

นอกจากนั้น ยังมีการวิเคราะห์ว่า คำประกาศถอนตัวออกจาก INF ของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ มีขึ้นในขณะที่ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสหรัฐเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ John Bolton กำลังอยู่ระหว่างการเยือนรัสเซีย ดังนั้นนี่อาจเป็น “การเดินเกม” ของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อบังคับให้รัสเซียต้องมีคำมั่นที่เข้มแข็งเกี่ยวกับการไม่ละเมิดสนธิสัญญา INF ก่อนการพบปะสุดยอดระหว่างตัวเขากับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน

แผนการของวอชิงตันในการถอนตัวออกจากสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยใกล้และพิสัยกลาง - ảnh 2ขีปนาวุธ Patriot ของสหรัฐที่ได้รับการติดตั้งในโปแลนด์ (AFP) 

ก้าวเดินต่อไปคืออะไร

ไม่ว่าสหรัฐจะมีแผนการอะไรหลังการประกาศถอนตัวออกจาก INF แต่ประชามติโลกก็มีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง โดยมีเห็นว่า สหรัฐและรัสเซียต้องทำการสนทนาอย่างสร้างสรรค์เพื่อธำรงสนธิสัญญาฉบับนี้

แต่อย่างไรก็ตาม หลังคำประกาศถอนตัวออกจาก INF สิ่งที่น่าวิตกกังวลอีกก็คือ มีความเป็นไปได้สูงที่สหรัฐจะไม่ขยายระยะเวลาการบังคับใช้สนธิสัญญาลดอาวุธโจมตีทางยุทธศาสตร์หรือ START-3 ซึ่งจะหมดอายุภายในปี 2021 ถึงแม้ทางการของอดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา ได้แสดงความเห็นว่า START-3 คือชัยชนะด้านการต่างประเทศของสหรัฐ แต่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ กลับกล่าวว่า START-3 ให้ผลประโยชน์แก่มอสโคว์มากกว่าวอชิงตัน

ก่อนประกาศถอนตัวออกจาก INF สหรัฐได้ถอนตัวออกจากสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธหรือ ABM เมื่อปี 2001 ถ้าหากคำประกาศถอนตัวออกจากสนธิสัญญา INF ของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นความจริง พร้อมกับสนธิสัญญา New START ซึ่งจะหมดอายุภายในปี 2021 นี่จะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1972 ประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ไม่ต้องผูกพันธ์กับข้อผูกมัดใดๆ และความเสี่ยงเกี่ยวกับแข่งขันด้านนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้โลกตกเข้าสู่การเผชิญหน้าเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์

จนถึงขณะนี้ ประเทศต่างๆ ยกเว้นสหรัฐได้แสดงความเห็นว่า สหรัฐควรพิจารณาการถอนตัวออกจากสนธิสัญญาขีปนาวุธพิสัยสั้นและพิสัยกลาง ประชามติหวังว่า การพบปะสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินจะมีขึ้นโดยเร็วเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถแก้ไขความขัดแย้งเพื่อนำเสถียรภาพมาสู่โลก.

 

Feedback