นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิลและประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน (Photo: vtv.vn) |
อนาคตของข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านหลังจากที่สหรัฐประกาศถอนตัวจากข้อตกลงนี้ยังคงเป็นประเด็นร้อนในหลายวันที่ผ่านมา โดยอิหร่านได้ยืนยันว่า จะไม่ถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าวถ้าหากยุโรปยังให้การสนับสนุนการธำรงข้อตกลงนี้ ส่วนสหรัฐได้เร่งรัดให้ประเทศพันธมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีประสานงานกับวอชิงตัน พร้อมทั้ง ขู่ว่า จะใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อบริษัทยุโรปที่ยังคงประกอบธุรกิจกับอิหร่าน
ความพยายามทางการทูตเพื่อรักษาข้อตกลง
ถึงแม้สหรัฐได้ประกาศถอนตัวแต่ประเทศที่เหลือยังคงพยายามธำรงข้อตกลงดังกล่าว โดยภายหลังการตัดสินใจที่สร้างความผิดหวังของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ไม่นาน บรรดาผู้นำของประเทศที่เข้าร่วมข้อตกลงได้เร่งผลักดันการเจรจา ซึ่งในการเจรจาที่กรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย เมื่อวันที่16พฤษภาคม ผู้นำของ28ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียูได้เห็นพ้องเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงเพื่อธำรงข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ได้รับการลงนามเมื่อปี2015 ซึ่งตามนั้น บรรดาผู้นำอียูได้ยืนยันว่า ยังคงให้การสนับสนุนJPCOAต่อไปถ้าหากอิหร่านให้ความเคารพข้อตกลงนี้ โดยเมื่อวันที่15พฤษภาคม อียูได้วางแผนการเศรษฐกิจรวม9ข้อเพื่อธำรงข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับอิหร่าน รวมทั้ง การธำรงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอิหร่าน ค้ำประกันให้อิหร่านธำรงการประกอบธุรกิจด้านน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ การเข้าถึงตลาดการเงินโลกและการปกป้องบริษัทยุโรปที่ประกอบธุรกิจในอิหร่านที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของสหรัฐ นี่เป็นครั้งแรกในหลายปีที่ผ่านมาที่อียูบรรลุเสียงพูดเดียวกันเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงความมั่นคงระหว่างประเทศ
คาดว่า นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล จะเดินทางไปเยือนรัสเซียและเจรจากับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินในวันที่18พฤษภาคมนี้ หลังจากนั้น ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครงจะเดินทางไปเยือนรัสเซีย ส่วนประธานาธิบดีรัสเซียก็มีแผนการพบปะกับนาย ยูกิยะ อามาโนะ ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ ณ เมืองโซจิ ส่วนจีนได้เผยว่า พร้อมที่จะร่วมมือกับรัสเซียเพื่อธำรงข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน
ในขณะเดียวกัน อิหร่านได้เป็นฝ่ายรุกในการแสวงหาการค้ำประกันจากฝ่ายต่างๆที่เข้าร่วม JPCOA ซึ่งการเยือนจีน รัสเซีย โดยเฉพาะเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานสหภาพยุโรปของรัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน โมฮัมหมัด จาวัด ซาริฟตั้งแต่วันที่13พฤษภาคมก็เพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยได้บรรลุผลงานเบื้องต้นเนื่องจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องต่างให้คำมั่นที่จะให้การสนับสนุนการธำรงข้อตกลงดังกล่าว แต่ถึงกระนั้น มาตรการระยะยาวก็ยังคงไม่มีความชัดเจน
สิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนัก
สำหรับอียู การตัดสินใจถอนตัวจากข้อตกลงของสหรัฐได้ทำให้อียูติดอยู่ตรงกลางของปัญหาความสัมพันธ์กับอิหร่าน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงที่อียูยืนหยัดปฏิบัติในหลายปีที่ผ่านมาและความสัมพันธ์กับสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของอียูและเป็นประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก เมื่อปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าของอียูไปยังอิหร่านบรรลุ1หมื่น1พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ66เมื่อเทียบกับปี2015 เครือบริษัทผลิตเครื่องบินแอร์บัสของยุโรปได้ลงนามสัญญากับอิหร่าน มูลค่า1หมื่นล้านยูโร ส่วนกลุ่มบริษัทปิโตรเลียมโททัลได้ลงทุน 3พันล้านยูโร ในตลาดอิหร่าน
ในขณะเดียวกัน สหรัฐกับอียูเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญต่อกันมากที่สุด ทั้งสองฝ่ายมีความคล้ายคลึงกันในด้านแนวคิด เศรษฐกิจ ความมั่นคงและผลประโยชน์ ดังนั้น สิ่งที่อียูต้องทำคือสร้างความสมดุลย์เพื่อให้อิหร่านปฏิบัติข้อตกลงนิวเคลียร์และหลีกเลี่ยงการทำลายความสัมพันธ์พันธมิตรกับสหรัฐ
แม้อียูมีการประกาศที่แข็งกร้าวแต่ในสภาวการณ์ปัจจุบัน สหรัฐมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อ เศรษฐกิจโลกทำให้แผนการที่เดินสวนกับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐจะต้องประสบอุปสรรคมากมาย สหรัฐกำลังควบคุมเครือข่ายการเงิน รวมทั้ง ระบบการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารในโลก ดังนั้น สำหรับแผนการช่วยเหลืออิหร่าน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยุโรปได้ให้ข้อสังเกตว่า ยากที่จะหามาตรการที่เหมาะสม โดยเฉพาะ สำหรับเครือบริษัทใหญ่ที่ประกอบธุรกิจในสหรัฐ
ในด้านทฤษฎี ข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับปี2015จะยังคงมีผลบังคับใช้ถึงแม้สหรัฐได้ถอนตัวแล้วแต่จะได้รับการปฏิบัติในระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า ยุโรปยอมเสียสละผลประโยชน์ด้านความสัมพันธ์พันธมิตรกับสหรัฐมากน้อยแค่ไหน ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ที่ความสัมพันธ์พันธมิตรของฝ่ายตะวันตกจะถูกทำลายเนื่องจากปัญหาของอิหร่าน ดังนั้น ยุโรปต้องแสวงหามาตรการที่สหรัฐสามารถยอมรับได้แต่กระบวนการนี้จะประสบอุปสรรคมากมายเนื่องจากยุโรปต้องค้ำประกันผลประโยชน์ของอิหร่านเช่นกัน.