เวียดนามและสหรัฐให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการแก้ไขผลเสียหายจากสงคราม

Chia sẻ
(VOVWORLD) - แม้สงครามเวียดนามได้ยุติไปแล้วกว่า 40 ปี แต่เวียดนามและสหรัฐยังคงต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการแก้ไขผลเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในกระบวนการขยายความสัมพันธ์ทิวภาคี ควบคู่กับการเก็บกู้กับระเบิด การค้นหาทหารที่สูญหายและการช่วยเหลือผู้พิการ เป็นต้น โดยเฉพาะการชะล้างสารเคมีและสารพิษไดอ๊อกซินในเวลาที่ผ่านมาได้ประสบผลที่น่ายินดี ซึ่งมีส่วนร่วมสมานบาดแผลสงครามและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเวียดนาม
เวียดนามและสหรัฐให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการแก้ไขผลเสียหายจากสงคราม - ảnh 1เครื่องบินสหรัฐปรยสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินในสงครามเวียดนาม (Photo NYT )

ไดอ๊อกซินคือสารประกอบสำคัญที่มีพิษร้ายแรงที่ผสมในฝนเหลืองซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชและสารที่ทำให้ใบไม้ร่วงที่สหรัฐได้ใช้ในสงครามเวียดนาม และจนถึงปัจจุบัน ในเวียดนามยังคงมีพื้นที่หลายแห่งที่ประสบปัญหาปนเปื้อนสารพิษนี้อย่างรุนแรง

นับตั้งแต่ที่ทั้งสองประเทศปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติและสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้าน เวียดนามและสหรัฐได้พยายามแก้ไขผลเสียหายและชะล้างสารพิษในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนอย่างรุนแรงเพื่อช่วยให้ประชาชนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดโปร่ง นอกจากนี้ความร่วมมือแก้ไขผลเสียหายจากสงครามได้ช่วยเอื้ออำนวยให้ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐก้าวเข้าสู่อนาคตอย่างดีงาม

เดินพร้อมกับเวียดนามฟันฝ่าความท้าทาย

ในหลายปีที่ผ่านมา สองประเทศได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเพื่อแก้ไขผลเสียหายจากสงคราม โดยเน้นถึงการเก็บกู้กับระเบิดและวัตถุระเบิดที่หลงเหลือหลังสงคราม การค้นหาทหารที่สูญหายและการช่วยเหลือผู้พิการผ่านการปฏิบัติโครงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และสร้างงานทำ แต่ถึงกระนั้นทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาสารไดอ๊อกซินที่ตกค้างตามสนามบินหลายแห่งที่กองทัพสหรัฐเคยใช้ในสงครามเวียดนามเพราะเป็นงานที่มีความลำบาก ซึ่งต้องอาศัยความพยายามเป็นอย่างมากจากทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะทางการสหรัฐและชาวอเมริกันที่รักประเทศเวียดนาม นาย Patrick Leahy ส.ว.พรรคเดโมแครตเผยว่า            “ผมยังคงรณรงค์ให้ส.ว.สหรัฐทั้งพรรคเดโมแครตและริพับลิกันเข้าร่วมกระบวนการนี้และในอนาคตถึงแม้ผมจะไม่ได้เป็นส.ว.อีกแต่ส.ว.คนอื่นๆก็จะสานต่อเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่มีความหมายนี้ต่อไป”

นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2012 กระทรวงกลาโหมเวียดนามและกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้เริ่มปฏิบัติโครงการชะล้างสารพิษไดอ๊อกซินที่ตกค้างในสนามบินดานังซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2016 โดยสามารถทำความสะอาดดินได้กว่า 90,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นนิมิตหมายสำคัญของความสัมพันธ์ทวิภาคี พร้อมทั้งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า สองประเทศได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาหลังสงครามอย่างมีความรับผิดชอบ ร่วมมือแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นถกเถียงกันและเปิดศักยภาพให้แก่ความร่วมมือต่อไปในอนาคต

มุ่งสู่อนาคตมากขึ้น

หลังเสร็จสิ้นการชะล้างที่สนามบินดานัง ทั้งสองฝ่ายก็ได้เริ่มปฏิบัติโครงการชะล้างสารไดอ๊อกซินที่สนามบินเบียนหว่า ซึ่งเคยเป็นสถานที่ที่เก็บสารไดอ๊อกซินมากที่สุดในเวียดนามและมีพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษกว่า 500,000 ลูกบาศก์เมตร สูงกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับพื้นที่ในสนามบินดานัง คาดว่า กระบวนการนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปีและใช้เงินประมาณ 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนี่เป็นอีกครั้งที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามร่วมกันของเวียดนามและสหรัฐเพื่อกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้าน และเมื่อวันที่ 20 เมษายน นาย Patrick Leahy ในฐานะรองประธานคณะกรรมการจัดสรรงบประมาณของวุฒิสภาสหรัฐ พร้อมกับส.ว.จาก 8 รัฐของสหรัฐได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการฯ พลโท เหงียนชี้หวิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเวียดนามได้ชื่นชมความร่วมมือดังกล่าวของสหรัฐและยืนยันว่า            “ผมให้ความสำคัญต่อบทบาทของนาย Patrick Leahy และผู้สนับสนุนที่อยู่เคียงข้างเขาดังเช่นส.ว. ทั้ง 8 ท่านที่เข้าร่วมงานในวันนี้ พวกเขาต่างเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญบนเวทีการเมืองสหรัฐ ดังนั้น ถ้าหากพวกเขาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขผลเสียหายจากสงครามในเวียดนาม นี่จะกลายเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในสังคมและรัฐสภาสหรัฐ และเชื่อว่า ทั้งสองประเทศจะขยายความร่วมมือในด้านนี้ต่อไปในอนาคต”

เวียดนามและสหรัฐต้องใช้เวลาอย่างยาวนานเพื่อสร้างความไว้วางใจกันผ่านกิจกรรมการแก้ไขผลเสียหายจากสงคราม ซึ่งความไว้วางใจระหว่างรัฐบาลเวียดนามกับสหรัฐได้นำมาซึ่งความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ดีงามในปัจจุบัน โดยพัฒนาการต่างๆในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในเวลาที่ผ่านมาได้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า แม้จะเป็นปัญหาที่ยากลำบากที่สุดในอดีตแต่ก็สามารถกลายเป็นพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่ความร่วมมือในอนาคต บนเจตนารมณ์แห่งความร่วมมือและความเข้าใจกัน รัฐบาลเวียดนามและรัฐบาลสหรัฐได้พยายามปิดฉากอดีตและสมานบาดแผลสงครามเพื่อร่วมกันมุ่งสู่อนาคตที่สดใส.

Feedback