นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ท่าน เหงวียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะผู้แทนเวียดนามได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระดับสูงคณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างประเทศครั้งที่ 3 ในระหว่างวันที่ 4 - 5 เมษายน ณ เมืองเสียมราฐ (Photo: VNA) |
จากการสานต่อผลการประชุมผู้นำคณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงครั้งที่ 2 ณ นครโฮจิมินห์เมื่อปี 2014 การประชุมครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและคำมั่นทางการเมืองของบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกในความร่วมมือเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายต่างๆเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
ร่วมแม่น้ำสายเดียวกันพร้อมชะตากรรมร่วมกัน
แม่น้ำโขง มีระยะทาง 4,800 กิโลเมตร ไหลผ่าน 6 ประเทศได้แก่ จีน เมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนาม จากทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีประชากร 65 ล้านคนกำลังมีส่วนร่วมผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในภูมิภาค
คณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขง หรือ MRC คือคณะกรรมการร่วมรัฐบาลเกี่ยวกับความร่วมมือและการสนทนาในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 1995 บนพื้นฐานของอนุสัญญาแม่โขงระหว่างกัมพูชา ลาว ไทยและเวียดนามและเป็นฟอรั่มเกี่ยวกับการทูตด้านแหล่งน้ำและการบริหารแหล่งน้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาค
ในตลอด 20ปีภายหลังการจัดตั้ง คณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงได้บรรลุผลงานที่น่ายินดี มีส่วนร่วมกระชับความร่วมมือในภูมิภาค เช่น จัดทำกลไกการใช้ทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การประมง การเชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำ การขยายความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆทั้งในและนอกภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตาม เขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เช่น ปัญหาน้ำทะเลซึมและการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบัน ลุ่มแม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในลุ่มแม่น้ำ 5 แห่งที่ประสบปัญหากระแสน้ำมีปริมาณลดลงเนื่องจากปัญหาภัยแล้งและผลกระทบจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากต้นน้ำ ดังนั้น การประชุม MRC ครั้งนี้ ได้ยืนยันถึงคำมั่นเกี่ยวกับความร่วมมือของประเทศต่างๆในภูมิภาค รวมทั้งหุ้นส่วนและนักอุปถัมภ์เพื่อค้ำประกันความมั่นคงของแหล่งน้ำ ผลักดันการบริหารและพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน นาย เลดึ๊กจุง ปลัดสำนักคณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงเวียดนามได้ยืนยันว่า“คณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างประเทศได้มีมาตรการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในภูมิภาค โดยได้อนุมัติแผนปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคบนพื้นฐานของการบริหารทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ ส่วนการประชุมผู้นำคณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงครั้งนี้มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อยืนยันถึงคำมั่นของ 4 ประเทศสมาชิกในการค้ำประกันการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน อีกทั้งกำหนดด้านที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆและแนทางการพัฒนาในเวลาข้างหน้า”
ภาพแม่น้ำโขง ( tinmoitruong.vn) |
ผลประโยชน์ของเวียดนามผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับแม่น้ำโขง
สำหรับเวียดนาม แม่น้ำโขงมีบทบาทสำคัญเป็นพิเศษต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจหลัก 2 แห่งที่มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 23 ของทั้งประเทศ คือ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและเขตที่ราบสูงเตยเงวียน โดยน้ำจากแม่น้ำโขง มีส่วนร่วมเกือบร้อยละ 60 ของปริมาณน้ำในแต่ละปี ดังนั้น เวียดนามจึงเข้าร่วมกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับแหล่งน้ำทั้งในระดับภูมิภาคและโลก อีกทั้งกระชับความร่วมมือระหว่างเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนต่างๆ เช่น ธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย
เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำคณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงครั้งที่ 2 ณ นครโฮจิมินห์เมื่อปี 2014 ในหัวข้อ “ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ พลังงานและธัญญาหารในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” ส่วนในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เวียดนามได้เสนอให้ระบุความร่วมมือด้านแหล่งน้ำเป็นหนึ่งในด้านที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มปฏิบัติงานด้านแหล่งน้ำและการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำแม่โขง-ล้านช้าง โดยเฉพาะในการประชุมผู้นำประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงขยายวงหรือGMS ครั้งที่ 6 ณ กรุงฮานอยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เวียดนามได้เสนอให้ระบุปัญหาการใช้แหล่งน้ำของแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนในระเบียบวาระการประชุมอย่างเข้มแข็ง ซึ่งได้บรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จากประเทศสมาชิกและหุ้นส่วนต่างๆ โดยประเทศเหล่านี้ได้ให้คำมั่นที่จะให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนตามข้อเสนอของท่าน เหงวียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนาม“ต้องผลักดันการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารและใช้แหล่งน้ำจากแม่น้ำโขงอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ยกระดับประสิทธิภาพความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สอดแทรกยุทธศาสตร์การขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในนโยบายการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก ผลักดันการประเมินและกำหนดค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลประโยชน์และหน้าที่ของประเทศต่างๆในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”
ในสภาวการณ์ที่เวียดนามกำลังปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาคณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างประเทศปี 2018 การเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกและคณะผู้แทนเวียดนามเป็นการยืนยันถึงความสนใจและคำมั่นของเวียดนามต่อความร่วมมือในกรอบคณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขง อีกทั้งเป็นโอกาสเพื่อให้เวียดนามยืนยันถึงคำมั่นที่จะพยายามร่วมกับประเทศต่างๆในภูมิภาค รวมทั้งหุ้นส่วนและนักอุปถัมภ์เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยเฉพาะการบริหารจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน.