นายกรัฐมนตรีเลบานอน ฮัสซัน ดิอับ ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม (Reuters) |
ในการกล่าวปราศรัยผ่านสถานีโทรทัศน์เกี่ยวกับเหตุผลลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ฮัสซัน ดิอับ ได้ยืนยันว่า เหตุระเบิดที่ท่าเรือเบรุตเมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ได้ทำลายกรุงเบรุตและสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนเป็นผลจากการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในวงกว้างและแสดงความเห็นว่า นี่เป็นอาชญากรรม การตัดสินใจลาออกของรัฐบาลเลบานอนถือเป็นผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการเคลื่อนไหวที่ตึงเครียดด้านการเมืองและบนท้องถนนในเลบานอนในหลายวันมานี้ ที่มีจุดเริ่มต้นจากเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 158 คนและได้รับบาดเจ็บหลายพันคน สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อกรุงเบรุตกว่าครึ่งเมืองและสร้างความเสียหายด้านเศรษฐกิจถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ก่อนการประกาศลาออกของรัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรี ฮัสซัน ดิอับ 1 วัน ได้มีรัฐมนตรี 3 คน ผู้ช่วยระดับสูงของนายกรัฐมนตรี 1 คนและส.ส บางคนของรัฐสภาเลบานอนได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งโดยอ้างเหตุผลเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด
ในขณะเดียวกัน การชุมนุมประท้วงและเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดได้เกิดขึ้นอย่างรุนแรง โดยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ผู้ชุมนุมประท้วงหลายคนได้บุกยึดอาคารของกระทรวงปัญหาผู้อพยพและกระทรวงแรงงานในกรุงเบรุต โดยเฉพาะ บริเวณทางเข้าสำนักงานรัฐสภาได้เกิดไฟไหม้เมื่อผู้ชุมนุมนับร้อยคนหาทางบุกข้ามกำแพงเพื่อเข้าไปพื้นที่ข้างใน สำนักข่าวแห่งชาติเลบานอนหรือ NNAL รายงานว่า ได้เกิดการปะทะหลายครั้งระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลกับกองกำลังตำรวจในค่ำวันเดียวกัน โดยตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายกลุ่มผู้ชุมนุม โดยเฉพาะที่สำนักงานราชการต่างๆ ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ผู้ชุมนุมนับพันคนได้ปะทะกับตำรวจในกรุงเบรุตหลังจากชุมนุมบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปและเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก จนทำให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนับร้อยคน รวมทั้งเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงเกือบ 100 คน
เหตุระเบิดในกรุงเบรุตได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจเลบานอน (EPA) |
สถานการณ์ที่เต็มไปด้วามความท้าทาย
การที่คณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ฮัสซัน ดิอับ ลาออกจากตำแหน่งและได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดี มิเชล อูน ได้ส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองในเลบานอนตกเข้าสู่วิกฤตที่เต็มไปด้วยความท้าทาย และความท้าทายอันดับแรกคือการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจากปัญหาความแตกแยกที่ร้าวลึกระหว่างพรรคการเมืองต่างๆในเลบานอนในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เรื่องนี้จึงถูกมองว่าจะประสบอุปสรรคมากมายและความจริงก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วก็คือ กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลนำโดยนายกรัฐมตรี ฮัสซัน ดิอับ เมื่อปลายปี 2019 ได้ประสบอุปสรรคนานัปการจนยืดเยื้อนานถึง 1 เดือนครึ่งถึงจะแล้วเสร็จ ส่วนกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน มิเชล อูน ได้ใช้เวลาถึง 29 เดือน โดยมีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2014 ถึงเดือนตุลาคมปี 2016
ความท้าทายอีกประเด็นหนึ่งคือรัฐบาลชุดใหม่ต้องแก้ไขอุปสรรคทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บรรดานักวิเคราะห์หลายคนแสดงความวิกตกกังวลว่านี่คือหน้าที่ที่ไม่อาจปฏิบัติได้ เพราะด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่ถดถอยเนื่องจากการทุจริตและผลกระทบจากการแพร่ระบาด เลบานอนต้องการเงินสนับสนุนมหาศาลจากประชาคมโลก แต่ในสภาวการณ์ที่โรคโควิด-19 กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักในหลายประเทศทำให้การได้รับเงินสนับสนุนจากประชาคมโลกแทบจะเป็นไปไม่ได้
นอกจากนั้น ยังมีอีกแผนการที่อาจเกิดขึ้นคือเลบานอนต้องจัดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนด โดยในคำประกาศก่อนนำไปสู่การตัดสินใจลาออก นายกรัฐมนตรี ฮัสซัน ดิอับ ได้เรียกร้องให้ปฏิบัติกระบวนการประชาธิปไตยนี้ แต่ตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์ ถ้าหากต้องจัดการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว สถานการณ์ทางการเมืองในเลบานอนจะผันผวนซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการนี้ต้องมีแหล่งพลังต่างๆ อีกทั้งอาขนำไปสู่การถกเถียง โดยเฉพาะการเผชิญหน้าที่รุนแรงระหว่างฝ่ายต่างๆเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งที่ผ่านมา รวมไปถึงการแทรกแซงจากกลุ่มต่างๆในภูมิภาคและโลกที่มีอิทธิพลและมีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องด้วย.