การพัฒนาการศึกษาในเขตชนกลุ่มน้อยคือพื้นฐานที่สำคัญของการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างชนเผ่าต่างๆ (bienphong.com.vn) |
เวียดนามมีชนกลุ่มน้อย 53 ชนเผ่า รวมประชากรกว่า 14 ล้านคนที่ตั้งหลักอาศัยใน 51 จังหวัดและนคร ซึ่งในนั้นมีตำบลในเขตชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เขตเตยเงวียน เขตตะวันตกภาคใต้และเขตริมฝั่งทะเลภาคกลาง รวม 382 แห่ง โดยพื้นที่ที่เป็นถิ่นอาศัยของพี่น้องชนกลุ่มน้อยคิดเป็น 3 ใน 4 ของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่คือเขตที่ยากจนแต่มีความสำคัญด้านกลาโหม ความมั่นคงและการต่างประเทศ
ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อย
จากแนวทางให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อย เวียดนามได้ปรับปรุงระบบนโยบายและกฎหมายที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตนี้อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศใช้เอกสาร 41 ฉบับเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขา ซึ่งในนั้น มี 15 โครงการและนโยบายเฉพาะสำหรับชนเผ่าต่างๆและจนถึงปัจจุบัน มี 54 นโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาที่กำลังได้รับการปฏิบัติ ซึ่งช่วยพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม สร้างถนนคอนกรีตเชื่อมหมู่บ้านและตำบลต่างๆ รวมทั้งการเชื่อมต่อระบบสายไฟฟ้าและการก่อสร้างสถานีอนามัยประจำตำบลที่ได้มาตรฐาน อัตราครอบครัวที่ยากจนในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาได้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงปี 2016-2018 ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3.5 ต่อปี นาย ฟานวันหุ่ง รองหัวหน้าคณะกรรมการดูแลชนเผ่าได้ประเมินเกี่ยวกับโครงการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อยของรัฐบาลว่า“หลังการปฏิบัติโครงการดังกล่าวมาเป็นเวลา 5 ปี พวกเราได้ประสบผลงานที่สำคัญๆ โดยได้ดึงดูดโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาและโครงการขององค์กร NGO ในเขตชนกลุ่มน้อยเพื่อแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาการผลิต สาธารณสุข การศึกษา การฝึกสอนอาชีพและสร้างงานทำ โดยมีส่วนช่วยพัฒนาเขตชนกลุ่มน้อยเป็นอย่างมาก ซึ่งแหล่งเงินทุนจากองค์กรระหว่างประเทศ การลงทุนของรัฐบาลและความพยายามของประชาชนชนกลุ่มน้อยได้นำผลสำเร็จต่างๆมาสู่เขตชนกลุ่มน้อย”
ภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเขตเขาเหวียดบั๊ก (daidoanket.vn) |
ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างชนเผ่าต่างๆ
จากผลงานที่ได้บรรลุ ในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 8 บรรดาผู้แทนยังได้อนุมัติแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อย เขตเขาและเขตที่ยากจนพิเศษแบบบูรณาการ โดยตั้งเป้าหมายการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป เช่น การขาดแคลนที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและทำการผลิต น้ำประปา การวางผังเขตที่อยู่อาศัยของประชาชน การพัฒนาการผลิตเกษตร ป่าไม้ การส่งเสริมศักยภาพและจุดแข็งของเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขา การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากร พัฒนาวัฒนธรรม การท่องเที่ยวควบคู่กับการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรม การเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อย ซึ่งมีความหมายสำคัญต่อการเมืองและสังคม นาย เจี่ยวเท้หุ่ง คณะผู้แทนสภาแห่งชาติจังหวัดเลิมด่งได้ประเมินว่า“นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจ แผนการดังกล่าวยังได้ระบุถึงการพัฒนาวัฒนธรรมและการศึกษาในเขตชนกลุ่มน้อย เขตทุรกันดารและเขตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติและมีส่วนช่วยพัฒนาเขตชนกลุ่มน้อยให้มีความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือการแปรสิทธิมนุษยชนตามที่ได้ระบุในรัฐธรรมนูญปี 2013 ให้เป็นข้อกำหนดที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งการค้ำประกันความมั่นคงและงานด้านกลาโหมในเขตชายแดน เขตทุรกันดารและเขตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ”
การปลูกโสมหงอกลิงและพืชสมุนไพรที่สอดคล้องกับเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขา (daidoanket.vn) |
แผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตชนกลุ่มน้อย เขตเขาและเขตที่ยากจนพิเศษแบบบูรณาการได้กำหนดเป้าหมายว่า จนถึงปี 2030 อัตราครอบครัวที่ยากจนในเขตนี้จะลดลงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปี 2020 ตำบลกว่าร้อยละ 85 ในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขา มีโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนเพื่อมุ่งสู่การส่งเสริมความเสมอภาคและการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันระหว่างชนเผ่าต่างๆของเวียดนามและตอบสนองตามเจตนารมณ์ “ไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจนถึงปี 2030 ของสหประชาชาติ.