นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง หารือกับคณะผู้แทนเวียดนามที่เข้าร่วมการประชุม (VGP) |
การประชุมครั้งนี้ยังคงถืออาเซียนเป็นศูนย์กลางของระเบียบวาระการประชุมที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค ตั้งแต่สถานการณ์ในเมียนมาร์ คาบสมุทรเกาหลี ทะเลตะวันออก ไปจนถึงแผนการรับมือวิกฤตโควิด-19 การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การประชุมครั้งนี้มีขึ้นในช่วงเวลาที่พิเศษมาก โดยอาเซียนกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19และการกลายพันธุ์ของเชื้อ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของทุกประเทศ นอกจากนี้ปัญหาในการผลิตวัคซีนให้เพียงพอเพื่อการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกันก็เป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับภูมิภาคนี้ เนื่องจากจนถึงขณะนี้ อาเซียนยังคงขาดแคลนวัคซีน
สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะนี้ อาเซียนได้ตกลงที่จะเปิดการเดินทางสำหรับนักธุรกิจและประชาชน แต่นี่เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ในการควบคุมโรคระบาดเนื่องจากประเทศต่างๆกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการผ่อนคลายมาตรการจำกัดต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง ควบคู่กันนั้นคือความท้าทายต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ความมั่นคงในภูมิภาค โดยเฉพาะการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจ
ในสภาวการณ์ดังกล่าว ในการประชุมครั้งนี้ อาเซียนยังคงให้ความสำคัญต่อความสามัคคี การส่งเสริมพลังภายใน ยืนหยัดปฏิบัติตามวิธีการจัดระเบียบของอาเซียน โดยเฉพาะการปกป้องหลักการความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และหลักการอื่น ๆ ที่ถูกระบุในกฎบัตรอาเซียน ควบคู่กันนั้นคือสามัคคีเพื่อร่วมกันรักษาบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ส่งเสริมบทบาทของกลไกที่นำโดยอาเซียน อีกทั้งค้ำประกันเสียงพูดร่วมกันและวิธีการเข้าถึงอย่างสมดุลกับหุ้นส่วนต่างๆ
ยืนยันถึงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในปัญหาระดับภูมิภาคและโลก
นอกจากการเน้นแก้ไขความท้าทายภายในกลุ่มแล้ว ที่ประชุมครั้งนี้ยังเป็นโอกาสเพื่อให้อาเซียนกระชับและขยายความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนนอกภูมิภาค เช่น จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย สหรัฐ ออสเตรเลียและรัสเซีย ธำรงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในกลไกความร่วมมือโดยอาเซียนเป็นผู้ริเริ่ม เช่น อาเซียน+3 และ EAS
ในเวลาที่ผ่านมา อาเซียนยังคงธำรงความสัมพันธ์ที่สมดุลกับหุ้นส่วนต่างๆในสภาวการณ์ที่หุ้นส่วนหลายรายแสดงความปรารถนาที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับอาเซียน ส่งเสริมให้หุ้นส่วนต่างๆสนับสนุนอาเซียนในการควบคุมและรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และร่วมมือเพื่อแก้ไขความท้าทายทั่วไป ซึ่งรวมถึงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศพิเศษกับจีนเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2021 กับรัสเซียเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2021 และกับสหรัฐเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2021 อาเซียนยังได้บรรลุความเห็นพ้องเกี่ยวกับการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-G7 ในเดือนธันวาคมปี 2021 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่น่าสนใจคืออาเซียนได้รับรองอังกฤษเป็นคู่สนทนาลำดับที่ 11 ของอาเซียน ให้สถานะการเป็นหุ้นส่วนรายสาขาของอาเซียนให้แก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ UAE และกำลังพิจารณาข้อเสนอของจีนและออสเตรเลียเกี่ยวกับการยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้าน
สำหรับปัญหาการเมืองในเมียนมาร์ อาเซียนได้มีท่าทีอย่างรวดเร็วและทันท่วงที โดยเฉพาะ การอนุมัติและการปฏิบัติความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ 5 ข้อเกี่ยวกับเมียนมาร์เมื่อเดือนเมษายนปี 2021 นอกจากนั้น ทะเลตะวันออกก็ยังคงเป็นประเด็นที่ประเทศอาเซียนและหุ้นส่วนให้ความสนใจและหารืออย่างกว้างขวาง อาจกล่าวได้ว่า อาเซียนธำรงทัศนะคือให้ความสำคัญต่อคุณค่าของกฎหมายสากล รวมทั้ง อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทะเลหรือ UNCLOS ปี1982 ย้ำถึงความสำคัญของการธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือและการบินในทะเลตะวันออก ปฏิบัติตามแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ บรรลุหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
การเคลื่อนไหวนี้ยังคงแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้นของอาเซียนในโครงสร้างภูมิภาค โดยประเทศต่าง ๆ ให้ความความสนใจเป็นอันดับต้นๆเกี่ยวกับอาเซียน รวมถึงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นและความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้เป็นโอกาสเพื่อให้อาเซียนแสดงออกถึงความรับผิดชอบร่วมการร่วมกันพัฒนาภูมิภาค ส่งเสริมเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ส่งเสริมคุณค่าและบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในภูมิภาคและโลก.