(VOVWorld)-ผลการประเมินครั้งล่าสุดของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือIAEA ที่ประกาศเมื่อวันที่๑๘ธันวาคมที่ผ่านมาระบุว่า ภายหลังกว่า๑ปีที่บรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับกลุ่มพี๕+๑ที่ประกอบด้วยสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย จีนและเยอรมนี อิหร่านได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ในข้อตกลงนี้ ซึ่งการประกาศดังกล่าวเป็นการรับรองของประชาคมโลกต่อความพยายามของอิหร่านในการปฏิบัติข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งมีส่วนร่วมต่อเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ดี อิหร่านยังต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อยในการปฏิบัติข้อตกลงนี้
นายยูกิยะ อามาโนะ ผู้อำนวยการใหญ่ของIAEA (Photo: The Guardian)
|
เมื่อวันที่๑๔กรกฎาคมปี๒๐๑๕ ภายหลังการเจรจาเป็นเวลาหลายปี อิหร่านและ๖ประเทศได้แก่สหรัฐ รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีได้ลงนามข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์เพื่อยุติความตึงเครียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีชื่อว่า แผนการปฏิบัติร่วมอย่างสมบูรณ์หรือ JCPOA มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่๑๖มกราคมปี๒๐๑๖ โดยประชาคมโลกได้ผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรทางการเงิน เศรษฐกิจและปิโตรเลี่ยมต่ออิหร่านเพื่อแลกกับการจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน
ผลประโยชน์จากการปฏิบัติข้อตกลงนิวเคลียร์อย่างจริงจัง
อิหร่านได้ปฏิบัติคำมั่นเกี่ยวกับการยืนหยัดข้อตกลงนิวเคลียร์กับกลุ่มพี๕+๑ผ่านปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม เช่น การลดจำนวนยูเรเนียมและยุติการเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อารัก อิหร่านยังอนุญาตให้IAEAเข้าตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ที่ถูกสงสัย ซึ่งถือเป็นปฏิบัติการที่ไม่เคยมีมาก่อน IAEAเผยว่า จนถึงขณะนี้ อิหร่านยังคงปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆของข้อตกลงนิวเคลียร์ดังกล่าว รวมทั้ง การลดปริมาณยูเรเนียมที่สำรองไว้และจำนวนเครื่องหมุนเหวี่ยงเสริมสมรรถภาพยูเรเนียม
จากความพยายามในการปฏิบัติข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน อิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศที่คัดค้านข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านก็ได้ประเมินว่า ข้อตกลง JCPOAได้มีส่วนช่วยลดภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์จากอิหร่าน ซึ่งนาย โมเช่ ยาอาลอน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิสราเอลได้ยืนยันว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ อิสราเอลจะไม่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามใดๆ” ในขณะเดียวกัน บรรดานักการทูตและนักวิเคราะห์ของฝ่ายตะวันตกได้ให้ข้อสังเกตว่า ความสัมพันธ์และการพบปะระหว่างฝ่ายต่างๆกับอิหร่านมีความน่าเชื่อถือ พร้อมทั้ง ยืนยันว่า ข้อตกลงฉบับนี้เป็นความสำเร็จในการจำกัดความสามารถพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านเพื่อมีส่วนร่วมสร้างเสถียรภาพในภูมิภาค
การปฏิบัติตามข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านไม่เพียงแต่ได้รับการรับรองจากประชาคมโลกเท่านั้น หากยังนำผลประโยชน์ในเบื้องต้นมาให้แก่ประเทศนี้ สำหรับด้านเศรษฐกิจ อิหร่านได้กลับเข้าสู่กระแสเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง โดยสามารถเข้าถึงเงินฝากต่างประเทศ๑ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่ถูกอายัดเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งเป็นพื้นฐานเพื่อให้อิหร่านลงทุนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตปิโตรเลี่ยมและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ องค์การและสถานประกอบการอิหร่านสามารถเปิดบัญชีธนาคารในต่างประเทศ ซึ่งหนึ่งในผลงานที่ใหญ่ที่สุดคือ อิหร่านได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติแผนการผลักดันการผลิตน้ำมันเพื่อมีส่วนแบ่งในตลาดหลังจากที่ถูกคว่ำบาตรเป็นเวลานาน อิหร่านและประเทศหุ้นส่วนต่างๆ เช่น จีน รัสเซีย สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นได้ลงนามสัญญาต่างๆในด้านก๊าซธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐานและการเงิน เป็นต้น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางการค้า โดยเฉพาะ จนถึงเดือนกันยายนปี๒๐๑๖ มูลค่าการส่งออกของอิหร่านได้เพิ่มขึ้นร้อยละ๒๐ ส่วนยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ที่๕พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การปฏิบัติข้อตกลงนิวเคลียร์กับกลุ่มพี๕+๑ได้ช่วยให้อิหร่านหลุดพ้นจากภาวะถูกโดดเดี่ยวทางการเมือง ซึ่งอิหร่านได้ปรับปรุงความสัมพันธ์กับยุโรปและตุรกี ผลักดันความสัมพันธ์ร่วมมือในหลายด้านกับรัสเซีย จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดียและบางประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา การที่อิหร่านได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาของซีเรียและบทบาทของอิหร่านในการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคได้แสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมสถานะของอิหร่านในภูมิภาคตะวันออกกลาง
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิหร่าน (Photo: PressTV)
|
ยังมีความท้าทายไม่น้อย
แม้สามารถบรรลุผลงานต่างๆแต่ข้อตกลงนิวเคลียร์กำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยสหรัฐยังคงธำรงมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินส่วนใหญ่ต่ออิหร่าน เมื่อกลางเดือนธันวาคม สหรัฐได้ประกาศใช้ร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับการขยายระยะการปฏิบัติมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านเพิ่มอีก๑๐ปี ซึ่งร่างรัฐบัญญัติดังกล่าวได้รับการอนุมัติเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี๑๙๙๖เพื่อคว่ำบาตรผู้ที่ลงทุนในด้านอุตสาหกรรมและพลังงานของอิหร่านและยับยั้งความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ทำให้นาย ฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านกำชับให้บรรดานักวิทยาศาสตร์อิหร่านฟื้นฟูการต่อเรือรบที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ พร้อมทั้ง เรียกร้องให้สำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่านฟื้นฟู้แผนการออกแบบ ผลิตเชื้อเพลิงและโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสนับสนุนการขนส่งทางทะเล นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้รับมอบหมายหน้าที่เตรียมเอกสารและข้อมูลต่างๆเพื่อฟ้องร้องสหรัฐต่อคณะกรรมการระหว่างประเทศเกี่ยวกับการตรวจสอบการปฏิบัติข้อตกลง JCPOA นอกจากนี้ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านอาตก็มีโอกาสตึงเครียดมากขึ้นหลังจากที่นาย โดนัล ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในต้นปี๒๐๑๗เพราะนาย โดนัล ทรัมป์มีจุดยืนที่จะพิจารณาข้อตกลงดังกล่าวอีกครั้ง ตลอดจน ยังมีความขัดแย้งในด้านปัญหาสิทธิมนุษยชน โครงการขีปนาวุธนำวิถีและการก่อการร้าย
ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การที่อิหร่านปฏิบัติตามคำมั่นในข้อตกลงนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่ออนาคตของข้อตกลงฉบับประวัติศาสตร์นี้เพราะมีส่วนร่วมต่อการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงปีแรกที่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้เท่านั้นและการปฏิบัติข้อตกลงนี้จะต้องเผชิญกับความท้าทายอีกไม่น้อยในเวลาข้างหน้า.