อียูแสวงหาด้านใหม่เพื่อเน้นพัฒนา

Hồng Vân-VOV5
Chia sẻ

(VOVworld)การประชุมผู้นำอียู ณ กรุงบราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 16 กันยายนเป็นโอกาสเพื่อให้อียูแสดงความสามัคคีภายในกลุ่มและกำหนดแนวทางในเวลาที่จะถึงหลังจากอังกฤษตัดสินใจถอนตัวออกจากอียู แผนการต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่การผสมผสานที่กว้างลึกมากขึ้นกำลังได้รับการจัดทำ แต่การทำให้ประเทศสมาชิกบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาของอียูยังคงเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก

(VOVworld)การประชุมผู้นำอียู ณ กรุงบราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 16 กันยายนเป็นโอกาสเพื่อให้อียูแสดงความสามัคคีภายในกลุ่มและกำหนดแนวทางในเวลาที่จะถึงหลังจากอังกฤษตัดสินใจถอนตัวออกจากอียู แผนการต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่การผสมผสานที่กว้างลึกมากขึ้นกำลังได้รับการจัดทำ แต่การทำให้ประเทศสมาชิกบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาของอียูยังคงเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก

อียูแสวงหาด้านใหม่เพื่อเน้นพัฒนา - ảnh 1
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอียูอย่างไม่เป็นทางการในกรุงบราติสลาวา (THX)

การประชุมผู้นำอียู ณ กรุงบราติสลาวามีขึ้นในสภาวการณ์ที่สหภาพยุโรปกำลังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่นอังกฤษถอนตัวออกจากอียู วิกฤตผู้อพยพ แผนการร่วมมือด้านการทหารและการพัฒนาเศรษฐกิจภายในกลุ่ม
เนื้อหาหลัก
ปัญหาผู้อพยพอาจจะเป็นเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของประเทศสมาชิกอียูในการประชุมนี้ ก่อนการประชุม นาย โดนัล ทัสค์ ประธานสภายุโรปหรืออีซีได้เตือนว่า บรรดาผู้นำยุโรปไม่สามารถเพิกเฉยต่อบทเรียนจากการที่อังกฤษถอนตัวออกจากสภาพยุโรปหรือ Brexit พร้อมทั้งยืนยันว่า ต้องแก้ไขปัญหาผู้อพยพทันทีในการประชุมผู้นำอียูในกรุงบราติสลาวา  ถ้าหากต้องการมียุโรปที่มีบรรยากาศสงบสุข โดยในสาส์นที่ส่งถึงประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม นาย โดนัล ทัสค์ ได้ยืนยันว่า ยุโรปล่าช้าในการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ และเหลือเวลาไม่มากเพื่อแก้ไขปัญหานี้ การประชุมผู้นำอียูในกรุงบราติสลาวาจะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในการแก้ไขทุกปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงการปกป้องแนวชายแดนภายนอกยุโรป ก่อนหน้านั้น ประธานอีซี โดนัล ทัสค์ ได้ย้ำว่า ชาวยุโรปหวังว่า หลังการประชุมในกรุงบราติสลาวา อียูจะเป็นปัจจัยในการค้ำประกันความมั่นคง เสถียรภาพและปกป้องประชาชน  รวมทั้ง เศรษฐกิจและสังคม
นอกจากการเสนอปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพแล้ว เนื้อหาอีกประเด็นหนึ่งที่บรรดาผู้นำอียูจะพยายามบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์คือการผลักดันความมั่นคงภายในกลุ่มเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายและเสริมสร้างความมั่นคงในเขตชายแดน ก่อนการประชุม 4 วัน เยอรมนีและฝรั่งเศสได้ประกาศแผนการจัดตั้งสำนักงานด้านการทหารร่วมกันเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอียู ตลอดจนการประชุมประจำปีเกี่ยวกับความมั่นคงและกลาโหมของอียู อีกทั้งย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องผลักดันจิตใจแห่งความสามัคคี ความสามารถในการปกป้องตนเองของยุโรปเพื่อปกป้องชายแดนและปกป้องชาวยุโรปที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับหัวข้อนี้ ในสาส์นของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 กันยายน นาย ฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้ยืนยันว่า เหตุก่อการร้ายที่รุนแรง 14 ครั้งที่เกิดขึ้นในยุโรปในตลอด 1 ปีที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า ยุโรปต้องอนุมัติมาตรการต่อต้านลัทธิก่อการร้ายที่มีประสิทธิภาพ จัดตั้งสำนักงานดูแลกองกำลังทหารของอียูในยุโรป และจัดตั้งกองทุนป้องกันอียู
ก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็ก บอฮุสลัฟ ซอบอตกา ได้เผยว่า ในการประชุมที่กรุง บราติสลาวา สาธารณรัฐเช็กจะเสนอ 3 เนื้อหาที่จะได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ 1คือปัญหาความมั่นคง โดยเน้นปกป้องแนวชายแดนภายนอกอียู ต่อต้านการก่อการร้าย ร่วมมือเพื่อจัดตั้งกองทัพยุโรป 2คือใช้ทุกโอกาสจากตลาดเสรีและสนับสนุนการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในอียูเพื่อสร้างความสมดุลของมาตรฐานการดำรงชีวิตภายในกลุ่ม และประเด็นที่ 3 คือการยกระดับบทบาทของสภาอียู
อียูแสวงหาด้านใหม่เพื่อเน้นพัฒนา - ảnh 2
สหภาพยุโรปกำลังต้องเผชิญกับวิกฤตผู้อพยพ (Reuters)

ความขัดแย้ง
ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การประชุมผู้นำอียูที่ประเทศสโลวาเกียมีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาของอียูในเวลาที่จะถึง แต่ประชามติก็ไม่ได้คาดหวังเกี่ยวกับผลการประชุมนี้มากนัก แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ของอียูเอง โดยเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของอียูได้เผยว่า บรรดาผู้นำอียูจะพยายามแสดงความสามัคคีว่า 27 ประเทศสมาชิกอียูยังคงเดินไปข้างหน้าด้วยกัน ซึ่งนี่ก็อาจถือเป็นความสำเร็จของการประชุมนี้ได้ ในสาส์นแห่งสหภาพยุโรปก่อนการประชุม นาย ฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้ยอมรับว่า สหภาพยุโรปยังไม่มีความผูกพันพอ เพราะความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกไม่เป็นไปตามความคาดหวัง โดยก่อนการประชุมผู้นำอียู รัฐมนตรีต่างประเทศลักเซมเบิร์ก ฌอง อัสเซลบอร์น ได้เรียกร้องให้ถอนฮังการีออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นการชั่วคราวเนื่องจากละเมิด “คุณค่าแห่งประชาธิปไตยหลักของอียู” และมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้อพยพ
นอกจากนั้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอียูยังสะท้อนผ่านการที่แต่ละประเทศสมาชิกมีวิธีการรับมือต่อแรงกดดันของโลกาภิวัตน์แตกต่างกัน โดยบางประเทศสมาชิกมีความประสงค์ว่า ในการประชุมครั้งนี้ อียูจะผลักดันมาตรการคุ้มครองการค้า และก็มีบางประเทศที่ย้ำถึงการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน บรรดาผู้สังเกตการณ์ก็ไม่ได้ตั้งความคาดหวังถึงผลงานในการแก้ไขปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ในด้านการค้าปัจจุบัน เช่นการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนข้ามแอตแลนติกหรือทีทีไอพีของสหรัฐ หรือข้อตกลงเศรษฐกิจและการค้าในทุกด้านหรือซีอีทีเอกับแคนาดา
การประชุมผู้นำอียู ณ กรุงบราติสลาวาครั้งนี้มีความหมายสำคัญต่อการพัฒนาของอียูในอนาคต แต่ประเทศสมาชิกอียูจะสามารถส่งเสริมความสามัคคีภายในกลุ่มเพื่อกำหนดแนวทางของอียูในอนาคตได้หรือไม่ก็จะขึ้นอยู่กับข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมของแต่ละประเทศสมาชิกอียูในที่ประชุม.

Feedback