สร้างสรรค์ระบบอาหารโลกใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น

Chia sẻ

(VOVWORLD) -การประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารโลกปีนี้ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เน้นถึงความพยายามระหว่างประเทศในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การเชื่อมโยงความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ด้านการเกษตรเพื่อสร้างสรรค์ระบบอาหารโลกใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้นและรับมือปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารที่กำลังเพิ่มขึ้นในโลก

สร้างสรรค์ระบบอาหารโลกใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น - ảnh 1 นาย Carl Skau รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการอาหารโลก (Photo:  21stcenturychronicle.com)

 การประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารโลกหรือ GFSS ปี 2023  ถูกจัดขึ้นตามความคิดริเริ่มของรัฐบาลอังกฤษ โซมาเลีย  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และองค์การต่างๆ เช่น กองทุนสำหรับเด็กหรือ CIFF กองทุน Bill& Melinda Gates การประชุมปีนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่ความมั่นคงด้านอาหารได้รับผลกระทบจากการปะทะ ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในโลก ซึ่งบังคับให้ประชาคมโลกต้องแสวงหามาตรการรับมืออย่างฉุกเฉินและยั่งยืน

ความไม่มั่นคงด้านอาหารในโลกเพิ่มขึ้น

ตามข้อมูลของสหประชาชาติ ปัจจุบัน ประชากรกว่า 345 ล้านคนในโลกกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง เพิ่มขึ้นกว่า120 ล้านคนเมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19    นอกจากนี้ ประชากรประมาณ 40 ล้านคนกำลังตกเข้าสู่ภาวะอดอยาก ซึ่งเป็นระดับที่ 4 ในจำนวน 5 ระดับเกี่ยวกับความไม่มั่นคงด้านอาหารของสหประชาชาติ โดยประชากรกลุ่มนี้ต้องพยายามเพื่อความอยู่รอดและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเนื่องจากภาวะทุพโภชนาการ

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ประกาศตัวเลขอื่นที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าหากคำนึงถึงจำนวนผู้ที่ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารในระดับปานกลาง  จำนวนผู้ที่ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารประมาณ 2.4 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30ของประชากรโลก จากสถานการณ์ดังกล่าว สหประชาชาติเตือนว่า โลกจะไม่สามารถปฏิบัติเป้าหมายการแก้ไขปัญหาความอดอยากหิวโหยให้หมดสิ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญที่สุดในปี 2030

ในรายงานโลกเกี่ยวกับวิกฤตด้านอาหารปี 2023 ที่ประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ประกาศตัวเลขที่น่ากังวลเกี่ยวกับภาวะขาดโภชนาการในเด็ก โดยเมื่อปีที่แล้ว ทั่วโลกมีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบที่เตี้ยแคระแกร็น 148 ล้านคนและเด็กที่ผอมกว่าเกณฑ์ 45 ล้านคน  นาย Carl Skau  รองผู้อำนวยการฝ่ายผู้บริหารโครงการอาหารโลก หรือ WFP เผยว่า ความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในโลกปัจจุบันทำให้วิกฤตด้านอาหารและโภชนาการนับวันเลวร้ายมากขึ้น 

“วิกฤตด้านอาหารและโภชนาการที่ใหญ่ที่สุดกำลังเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ แรงกดดันจากการที่ราคาอาหารและหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกประสบอุปสรรค แต่อย่างไรก็ดี การปะทะและความไม่มั่นคงเป็นปัจจัยใหญ่ที่สุดที่ก่อให้เกิดปัญหาการอดอยากหิวโหยในโลก”

นอกจากสาเหตุดังกล่าว ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้สถานการณ์ความไม่มั่นคงด้านอาหารโลกเพิ่มขึ้น คือการปรับลดงบประมาณสำหรับกิจกรรมต่างๆของ WFP ในเวลาที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ WFP ไม่สามารถธำรงกิจกรรมการกู้ภัยในหลายเขตที่เกิดการปะทะ ในรายงานเมื่อวันที่ 12 กันยายน WFP เผยว่า การขาดดุลย์งบประมาณขององค์การนี้ในปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ WFP ต้องยุติหรือลดขอบเขตของโครงการช่วยเหลือ 38 โครงการในจำนวน 86 โครงการในประเทศต่างๆ ซึ่งทำให้ประชาชนประมาณ 24ล้าน คนมีความเสี่ยงที่จะตกเข้าสู่ภาวะอดอยากหิวโหยในปลายปีนี้

สร้างสรรค์ระบบอาหารโลกใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น - ảnh 2นาย ริชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีอังกฤษ(Photo:Dan Kitwood/ PA)

การแสวงหามาตรการที่ยั่งยืน

เพื่อแสวงหามาตรการรับมือกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลกที่นับวันเลวร้ายลง การประชุม GFSS ปีนี้ เน้นหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น การสร้างสรรค์วิธีใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเสียชีวิตเนื่องจากภาวะทุพโภชนาการ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร การพยากรณ์ การป้องกันความอดอยากหิวโหยและวิกฤตด้านอาหาร การสร้างสรรค์ระบบอาหารโลกที่ยั่งยืนและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ในการประชุม รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาเกี่ยวกับการวิจัยการเกษตรระหว่างประเทศหรือ CGIAR  ซึ่ง CGIAR  จะเชื่อมโยงความคิดริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมด้านการเกษตรขององค์การ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ มีส่วนร่วมพัฒนาพืชที่มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและโรคระบาด สร้างสรรค์ระบบอาหารโลกที่ยั่งยืนมากขึ้น นาย ริชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีอังกฤษเผยว่า การวิจัยพันธุ์พืชใหม่ของอังกฤษกำลังนำผลประโยชน์มาให้แก่ชาวแอฟริกากว่า 100 ล้านและอังกฤษอยากขยายรูปแบบนี้สู่โลก 

“พวกเราอยากพัฒนาผ่านการเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ที่เน้นพัฒนาการวิจัยพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วมและโรคระบาด ซึ่งผลการวิจัยนี้จะนำประโยชน์มาให้แก่ประชาชนในประเทศที่ยากจน เพิ่มผลผลิตให้แก่การปลูกพืชในอังกฤษ ซึ่งจะช่วยให้ราคาอาหารลดลง”

ก่อนหน้านั้น เพื่อรับมือกับวิกฤตอาหารที่เร่งด่วนในภูมิภาคต่างๆในโลก ตัวแทนกว่า 20 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่เข้าร่วมการประชุมได้มีคำมั่นทางการเงินที่สำคัญต่างๆ รัฐบาลอังกฤษเผยว่า จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน มูลค่า 100 ล้านปอนด์ให้แก่พื้นที่ที่เผชิญปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหาร เช่น เอธิโอเปีย ซูดาน ซูดานใต้ อัฟกานิสถาน มาลาวี และเขตSahel รัฐบาล อังกฤษให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน มูลค่า 100 ปอนด์แก่โซมาเลียเพื่อนำไปซื้ออาหารและการพัฒนาวิธีการทำเกษตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

สำหรับปัญหาการขาดโภชนาการของเด็กในโลก รัฐบาลอังกฤษให้คำมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน มูลค่า 16 ล้านปอนด์แก่กองทุนระหว่างประเทศเกี่ยวกับโภชนาการของเด็ก  ส่วนนาง Mariam Al Mheiri  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เรียกร้องให้ประเทศและองค์การต่างๆระบุปัญหาอาหารและการเกษตรที่รับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนในการหารือหลักของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ COP ครั้งที่ 28 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์.


Feedback