การประชุมสุดยอดอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงขยายวงครั้งที่ 6 |
การประชุมสุดยอดอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงขยายวงครั้งที่ 6 และการประชุมระดับสูงสามเหลี่ยมพัฒนากัมพูชา ลาว เวียดนามคือหนึ่งในกิจกรรมการต่างประเทศพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในปี 2018โดยเวียดนามเป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้บรรลุผลงานสำคัญๆใน 2 การประชุมดังกล่าว
อนุมัติเอกสารสำคัญหลายฉบับ กำหนดการพัฒนาของภูมิภาค
ในการประชุมสุดยอดอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงขยายวงหรือจีเอ็มเอสครั้งที่ 6 บรรดาผู้นำได้เห็นพ้องเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางความร่วมมือใหญ่ๆในระยะกลาง และเริ่มกระบวนการสร้างสรรค์วิสัยทัศน์ความร่วมมือในระยะยาวของจีเอ็มเอส เอกสารสำคัญ 3 ฉบับของการประชุมคือแถลงการณ์ร่วม แผนปฏิบัติการฮานอย 2018-2022 กรอบการลงทุนอนุภูมิภาคที่มีกว่า 222 โครงการ รวมยอดเงินลงทุนเกือบ 6 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือคือแนวโน้มหลัก นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ประธานการประชุมได้ประเมินว่า “การประชุมได้ประสบความสำเร็จ สร้างความเชื่อมั่น กำหนดอย่างชัดเจนด้านที่ประเทศในกลุ่มจีเอ็มเอสให้ความสนใจอย่างชัดเจน ที่น่าสนใจคือ ที่ประชุมได้เริ่มกระบวนการสร้างสรรค์วิสัยทัศน์ระยะยาวหลังปี 2022 ในสภาวการณ์ที่ประเทศจีเอ็มเอสมุ่งสู่ระเบียบวาระการประชุมพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG 2030 ของสหประชาชาติ สถานการณ์ทั้งในภูมิภาคและโลกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ความร่วมมือจีเอ็มเอสต้องกำหนดวิสัยทัศน์ในระยะที่ยาวขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ภูมิภาคจีเอ็มเอสที่ผสมผสานและเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่ค้ำประกันให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ความกลมกลืนและความสมดุลในภูมิภาค ผลักดันการพัฒนาที่รอบด้าน ค้ำประกันให้ประชาชนทุกคนได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์และการปฏิวัติเทคโนโลยี”
ในขณะเดียวกัน ผลสำเร็จของการประชุมสุดยอดเขตสามเหลี่ยมพัฒนากัมพูชา ลาว เวียดนามหรือ CLV ครั้งที่ 10 ได้สะท้อนในหลายด้าน เช่นเปิดระยะความร่วมมือใหม่ให้แก่ CLV เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ทุกหุ้นส่วนพัฒนาเข้าร่วการประชุม ซึ่งยืนยันถึงบทบาทของ CLV ในภูมิภาคและอาเซียน การประชุมครั้งนี้ได้เปิดบรรยากาศร่วมมือใหม่ระหว่างสามประเทศ ที่น่าสนใจคือแผนการแบบบูรณาการเกี่ยวกับการเชื่อมโยง 3 เศรษฐกิจ CLV จนถึงปี 2030 นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกได้เผยว่า “นี่คือเนื้อหาสำคัญ ก่อนอื่นคือเชื่อมโยงกลไก รวมทั้งผลักดันการเผยแพร่นโยบายกฎหมาย 2 คือเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน โดยเน้นถึงการปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ไฟฟ้า การค้าและการท่องเที่ยว 3คือเชื่อมโยงคน รวมทั้งความร่วมมือในด้านการศึกษา ฝึกอบรม สาธารณสุข การกีฬาและวัฒนธรรม การเชื่อมโยงอย่างพร้อมเพรียงนี้ในเขตสามเหลี่ยมพัฒนาจะมีก้าวเดินพัฒนาในระยะต่อไป”
การประชุมระดับสูงสามเหลี่ยมพัฒนากัมพูชา ลาว เวียดนาม |
นิมิตหมายแห่งเวียดนาม
บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆได้รับทราบถึงบทบาทที่โดดเด่นของเวียดนามที่มีวิสัยทัศน์และข้อคิดริเริ่มเพื่อผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจต่างๆ ในการประชุมจีเอ็มเอส 6 นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ได้ย้ำหลายครั้งว่า 6 ประเทศต้องผลักดันการเชื่อมโยง โดยก่อนอื่นคือโครงสร้างพื้นฐาน และบรรดาผู้นำได้เห็นพ้องที่จะปฏิบัติกว่า 200 โครงการ รวมยอดเงินลงทุนเกือบ 6 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก บรรดาผู้นำได้เห็นพ้องที่จะเน้นปฏิรูปกลไกกฎหมาย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งบุคลากรในแต่ละประเทศเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอนุภูมิภาค
ที่น่าสนใจ นับเป็นครั้งแรกที่เวียดนามได้จัดฟอรั่มสุดยอดธุรกิจจีเอ็มเอสเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมที่เข้มแข็งมากขึ้นของหุ้นส่วนพัฒนา โดยเฉพาะภาคเอกชนในการร่วมมือกับจีเอ็มเอส โดยมีผู้ประกอบการ 2 พันคนเข้าร่วม นาย หวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีนได้ประเมินว่า “ด้วยข้อคิดริเริ่มของเวียดนาม จึงมีการจัดการประชุมสุดยอดธุรกิจเป็นครั้งแรก นี่คือกลไกใหม่และมีความหมายสำคัญ เพราะช่วยให้พวกเราได้รับฟังความคิดเห็นและความปรารถนาของสถานประกอบการ และเรียกร้องให้สถานประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมร่วมมือในภูมิภาค”
ในการประชุม CLV ครั้งที่ 10 บนพื้นฐานข้อเสนอของเวียดนาม บรรดาผู้นำได้เห็นพ้องรื้อฟื้นกระบวนการขยายความร่วมมือเขตสามเหลี่ยมพัฒนา ซึ่งไม่เพียงแต่ครอบคลุม 13 จังหวัดเท่านั้น หากยังขยายความร่วมมือระหว่าง 3 เศรษฐกิจอีกด้วย พร้อมทั้งอนุมัติแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการเกี่ยวกับการเชื่อมโยง 3 เศรษฐกิจด้วยเป้าหมายนำ 3 ประเทศมีบทบาทสำคัญในการขยายตัวของอาเซียน
ต่อจากผลสำเร็จของการประชุมเอเปก 2017 เวียดนามได้ประสบความสำเร็จในการจัด 2 กิจกรรมพหุภาคีระดับนานาชาติสำคัญในปี 2018คือการประชุมสุดยอดอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและการประชุมสุดยอดกัมพูชา ลาว เวียดนาม ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงการเป็นฝ่ายรุกและความกระตือรือร้นของประเทศเจ้าภาพเวียดนามในการมีส่วนร่วมและกำหนดรูปแบบความร่วมมือของประเทศต่างๆเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมค้ำประกันการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความกลมกลืนและความสมดุลในภูมิภาคอีกด้วย.