ยุโรปรับมือกับวิกฤตผู้อพยพครั้งใหม่ สร้างอุปสรรคที่ซ้ำซ้อน

Huyền
Chia sẻ
(VOVWORLD) - นับตั้งแต่ตุรกีเปิดชายแดนที่ติดกับกรีซเพื่อให้ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยนับพันคนเข้ายุโรป ได้ทำให้ยุโรปต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งใหม่ จนทำให้ผู้คนมีความวิตกกังวลว่า จะเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมเหมือนเมื่อปี ๒๐๑๕ และอาจจะเลวร้ายมากขึ้นเนื่องจากทวีปนี้กำลังต้องรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ที่ไม่รู้ว่า จะยุติเมื่อไหร่
ยุโรปรับมือกับวิกฤตผู้อพยพครั้งใหม่ สร้างอุปสรรคที่ซ้ำซ้อน - ảnh 1ผู้อพยพ ณ จังหวัดEdirne ประเทศตุรกี ติดกับชายแดนกรีซเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม (vietnamplus)

ต่อจากการเจรจาเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม อียูและตุรกีจะพบปะกันในวันที่ ๒๖ มีนาคมนี้เพื่อแสวงหามาตรการที่ทั้งสองฝ่ายต่างสามารถยอมรับได้เพื่อขัดขวางกระแสผู้อพยพเข้ายุโรป หลีกเลี่ยงการเกิดวิกฤตผู้อพยพเหมือนเมื่อปี ๒๐๑๕

ทำไมตุรกีเปิดชายแดน

เมื่อ ๔ ปีก่อน ในเดือนมีนาคมปี ๒๐๑๖ บรรดาผู้นำยุโรปได้ลงนามข้อตกลงกับตุรกีเพื่อยุติวิกฤตผู้อพยพ โดยอียูเห็นพ้องจ่ายเงิน ๖ พันล้านยูโรให้แก่ตุรกีและผลักดันการเจรจาเกี่ยวกับการที่ตุรกีขอเข้าเป็นสมาชิกของอียู ส่วนฝ่ายตุรกีต้องขัดขวางกระแสผู้อพยพไม่ให้เข้าอียูอีก และข้อตกลงฉบับนี้ได้เกิดประสิทธิผล โดยในตลอด ๓ ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้อพยพที่เดินทางผ่านตุรกีเพื่อเข้าถึงเกาะต่างๆของกรีซได้ลดลงเป็นอย่างมาก คือจาก ๗ พันคนต่อวันลดลงเหลือไม่กี่ร้อยคนต่อวัน แต่ตัวเลขนี้กลับมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี ๒๐๑๙

เหตุผลของสถานการณ์ดังกล่าวคือ ถึงแม้ตุรกีได้พยายามขอเข้าเป็นสมาชิกของอียู แต่โอกาสที่ข้อเสนอนี้จะได้รับการอนุมัติยิ่งลำบากมากขึ้นเมื่อรัฐสภายุโรปเรียกร้องให้ระงับทุกการเจรจาเกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่ ในขณะที่ประธานาธิบดีตุรกีกำลังมีมาตรการที่แข็งกร้าวภายในประเทศที่ทำให้อียูไม่พอใจและมีความลังเลต่อการเจรจา

นอกจากนั้น การปะทะทางทหารระหว่างกองกำลังของตรุกรีกับซีเรียในจังหวัด Idlib  ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของกลุ่มกบฎในซีเรียในเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้ปัญหาผู้อพยพมีความรุนแรง ซึ่งเป็นความวิตกกังวลของประเทศต่างๆในยุโรปในหลายปีที่ผ่านมา ถึงแม้ตกเข้าสู่วิกฤตในจังหวัด Idlib แต่ตุรกีไม่ได้รับการช่วยเหลือจากประเทศตะวันตก ดังนั้น ประธานาธิบดีตุรกี เออร์โดกัน ได้ประกาศว่า จะเปิดจุดผ่านแดนซึ่งเป็นจุดปิดกั้นเส้นทางเข้าไปยังยุโรป และหลังจากได้รับไฟเขียวจากประธานาธิบดี เออร์โดกัน เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี ๒๐๒๐ ผู้อพยพจำนวนมากจากซีเรียได้ข้ามชายแดนตุรกีเพื่อมุ่งหน้าไปที่เขตชายฝั่งและเขตชายแดนที่ติดกับกรีซและฮังการี

วิกฤตซ้ำซ้อน

เพื่อแก้ไขปัญหาผู้อพยพชาวซีเรียและประเทศตะวันออกกลางที่อพยพผ่านชายแดนตุรกี อียูต้องทำการเจรจาอีกครั้งกับตุรกี โดยในการเจรจาใหม่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องจัดตั้งกลุ่มปฏิบัติงานเพื่อปฏิบัติข้อตกลงเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพที่ลงนามเมื่อปี ๒๐๑๖ สิ่งที่น่าสนใจในการเจรจาคือฝ่ายอียูได้เห็นพ้องในเชิงหลักการเกี่ยวกับการสนับสนุนด้านการเงินให้แก่ทั้งผู้อพยพ กรีซและตุรกี ซึ่งถือเป็นการปลอบใจตุรกีเพื่อให้พวกเขาแสวงหามาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมกระแสผู้อพยพ มุ่งสู่ข้อตกลงที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ให้แก่ทั้งอียูและตุรกี

คาดว่า ทั้งสองฝ่ายจะประชุมในวันที่ ๒๖ มีนาคมปี ๒๐๒๐ เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหานี้ แต่ในสภาวการณ์ในปัจจุบันที่อียูกำลังอยู่ในระยะที่ลำบากเมื่อต้องแก้ไขปัญหา Brexit และต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่ม ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจและงบประมาณนับวันเป็นปัญหาใหญ่ต่ออียู โดยเฉพาะที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบันคืออียูได้กลายเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ของโลก นอกจากนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาผู้อพยพยอย่างเด็ดขาด ทุกฝ่ายต้องยุติการปะทะในซีเรีย รวมทั้งที่จุดร้อนคือจังหวัด Idlib แต่เรื่องนี้ยากที่จะแก้ไขได้ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อบทบาทของอียูในการปะทะที่ซีเรียนับวันลดลง และตุรกีกำลังใช้ปัญหาผู้อพยพยเพื่อต่อรองกับอียู ดังนั้นดูเหมือนว่า ปัญหาผู้อพยพในเขตชายแดนตุรกีกับอียูจะยืดเยื้อต่อไปและไม่สามารถยุติลงได้โดยเร็ว./.

Feedback