(VOVworld) – การเยือนรัสเซียของประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากประชามติโลก เพราะมีขึ้นในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีความผันผวนอย่างซับซ้อน ดังนั้น การเยือนนี้ถือเป็นโอกาสเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายกระเถิบเข้าใกล้กันมากขึ้น และสถาปนาความสัมพันธ์ที่ยาวนานบนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน
ประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน และประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ปูตินในการเจรจา ณ เมืองเซนปิเตอร์เบิร์ก (AFP)
|
ในการเจรจา ผู้นำทั้งสองประเทศได้เห็นพ้องเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าอาหารของตุรกี รื้อฟื้นการคมนาคมขนส่งทางอากาศ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปัญหาซีเรีย การต่อต้านการก่อการร้ายและปัญหาอื่นๆ โดยฝ่ายรัสเซียได้ยืนยันว่า จะยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรต่อตุรกีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของรัสเซียคือ การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้อยู่ในระดับที่เท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤต ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีตุรกีได้แสดงความหวังว่า การพบปะจะเปิดระยะใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์ทวิภาคี
การเยือนทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีอบอุ่นมากขึ้น
การเยือนรัสเซียของนาย รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน คือการเยือนต่างประเทศครั้งแรกหลังจากการทำรัฐประหารประสบความล้มเหลว ยุทธนาการกวาดล้างผู้ก่อกบฎของประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับพันธมิตรตะวันตกมีความตึงเครียด หลังการก่อกบฎ ตุรกีได้แสดงความเห็นว่า พันธมิตรตะวันตกไม่สนับสนุนตุรกี แถมยังกล่าวหาบางประเทศให้การสนับสนุนผู้ก่อกบฎอีกด้วย แต่ท่าทีรัสเซียไม่เหมือนกับฝ่ายตะวันตก โดยไม่มีการตำหนิใดๆต่อยุทธนาการกวาดล้างผู้ก่อกบฎของประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน และรัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆที่แสดงการสนับสนุนรัฐบาลตุรกีหลังจากเกิดการก่อกบฎเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา ดังนั้น การที่ตุรกีหันมาปรับความสัมพันธ์กับรัสเซียในสภาวการณ์ปัจจุบันคือสิ่งที่เข้าใจได้โดยง่าย
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2015 การที่ตุรกียิงเครื่องบินรบของรัสเซียตกในเขตชายแดนซีเรียได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศตกเข้าสู่สถานการณ์ตึงเครียด จนนำไปสู่การตอบโต้กัน ในขณะที่รัสเซียประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อตุรกี ส่วนตุรกีก็ห้ามนักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางไปเยือนประเทศนี้ แต่สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศก็ได้รับการแก้ไขหลังจากประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน กล่าวขอโทษเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ก่อนการเยือนรัสเซีย เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาดี ทางการตุรกีได้อนุญาตให้พลเมืองสามารถเข้าไปเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย Sputnick ซึ่งเคยถูกห้ามเมื่อเดือนเมษายนปี 2016
ผู้นำทั้งสองประเทศในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังการเจรจา (EPA)
|
กระเถิบเข้าใกล้กันมากขึ้นเพื่อผลประโยชน์ร่วม
ในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับฝ่ายตะวันตกมีความตึงเครียดหลังการก่อกบฎ ศักยภาพเกี่ยวกับระยะใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับรัสเซียกำลังยิ่งใหญ่มากขึ้น ถึงแม้ทั้งสองฝ่ายจะแข่งขันกันขยายอิทธิพลในเขตทะเลดำและตะวันออกกลาง แต่ทั้งรัสเซียและตุรกีต่างพยายามขัดขวางการถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาซีเรียและยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ร่วมมือยุทธศาสตร์ในปัญหาต่างๆ เช่น ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ TurkStream และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รัสเซียลงทุนก่อสร้างในตุรกี โดยเฉพาะความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า ก่อนช่วงที่เครื่องบินซู 24 ของรัสเซียถูกยิงตก รัสเซียและตุรกีได้ตั้งเป้าไว้ว่า มูลค่าการค้าต่างตอบแทนจะเพิ่มขึ้น 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ การระงับความร่วมมือกับตุรกีได้ทำให้รัสเซียประสบความเสียหายอย่างหนักซึ่งตรงกับช่วงที่ทางการของประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน ถูกแรงกดดันด้านเศรษฐกิจอย่างหนักเนื่องจากนโยบายโดดเดี่ยวของฝ่ายตะวันตก และราคาน้ำมันที่ลดลงได้ทำให้รัสเซียสูญเสียงบประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในขณะเดียวกัน ตุรกีก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความมั่นคงและไร้เสถียรภาพ โดยในตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา เหตุระเบิดก่อการร้าย 7 ครั้งในเมืองอังการาและเมืองอิสตันบูลได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน การปะทะกับชมรมชาวเคิร์ตซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4 หมื่นคนกำลังมีสัญญาณทวีความรุนแรง นอกจากนั้น การปะทะทางการเมืองและการแย่งชิงอำนาจที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในตุรกีเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดังนั้น การปรับความสัมพันธ์กับรัสเซียได้ช่วยให้ตุรกีไม่ถลำลึกเข้าสู่วิกฤตอีกต่อไปและนำซึ่งผลประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ตามรายงานสถิติ ในช่วงที่ถูกรัสเซียคว่ำบาตร หน่วยงานการท่องเที่ยวของตุรกีที่สมทบเงินเข้าจีดีพีร้อยละ 4.5 ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ดังนั้น ประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน หวังว่า การหันมาคบกับรัสเซียจะนำผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่ยากจะได้รับจากประเทศอื่นใด ส่วนรัสเซียก็ได้รับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่จากการช่วยเหลือของตุรกีเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านการส่งออกก๊าซธรรมชาติ
การเยือนรัสเซียของประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจและเจตนาดีของตุรกีในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ร่วมมือกับรัสเซีย มรสุมในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในเวลาที่ผ่านมาซึ่งเคยเป็นพันธมิตรได้ผ่านพ้นไปเพื่อผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายในสภาวการณ์ที่โลกมีการผันผวนอย่างซับซ้อน.