พัฒนาเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Vu Dung - Thu Hoa - VOV
Chia sẻ
(VOVworld) – การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีส่วนร่วมต่อจีดีพีร้อยละ 15 ดังนั้น ในฟอรั่ม “เพื่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่เจริญรุ่งเรืองและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยน แปลงของสภาพภูมิอากาศ”ที่มีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือเขตที่ราบลุ่มแม่ น้ำโขงฟันฝ่าความท้าทายจากปัญหาน้ำทะเลหนุนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ อากาศผ่านการเชื่อมโยงระหว่างเขตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(VOVworld) – การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีส่วนร่วมต่อจีดีพีร้อยละ 15 ดังนั้น ในฟอรั่ม “เพื่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่เจริญรุ่งเรืองและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”ที่มีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงฟันฝ่าความท้าทายจากปัญหาน้ำทะเลหนุนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศผ่านการเชื่อมโยงระหว่างเขตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พัฒนาเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1
ผู้แทนที่เข้าร่วมฟอรั่ม “เพื่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่เจริญรุ่งเรืองและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยน แปลงของสภาพภูมิอากาศ”
ฟอรั่มครั้งนี้ได้มีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์เมื่อวันที่ 27 ที่ผ่านมาโดยธนาคารโลกได้ประสานงานกับกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงวางแผนและการลงทุนจัดขึ้น รายงานและผลการวิจัยที่เสนอในฟอรั่มล้วนสรุปว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของเวียดนามและความมั่นคงด้านอาหารของภูมิภาคเนื่องจากเป็นเขตผลิตเกษตรและสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ซึ่งมีส่วนร่วมถึงร้อยละ 41 ในมูลค่าการผลิตเกษตร เกือบร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำและร้อยละ 90 ของปริมาณข้าวที่ส่งออกหรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของปริมาณข้าวที่ป้อนให้แก่ตลาดโลก
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ส่วนร่วมในจีดีพีลดลง
ถึงขณะนี้ น้ำทะเลได้ซึมลึกเข้ามาในพื้นที่ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงไกลถึง100-120 ก.ม. ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกข้าว 230,000 เฮ็กตา พื้นที่ปลูกผลไม้ 9,400 เฮ็กตาและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกว่า 5,000 เฮ็กตา จนทำให้ปริมาณข้าวในฤดูข้าวนาปีที่ผ่านมาลดลงกว่า 400,000 ตัน ควบคู่กันนั้นมีครอบครัวที่ขาดแคลนน้ำประปากว่า 250,000 ครัวเรือน คาดว่า ในระยะยาว ชุมชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งปัญหาน้ำทะเลหนุนและพายุโซนร้อนที่นับวันมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น คาดว่า ผลผลิตข้าวของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะลดลงตั้งแต่ร้อยละ 6-12 ซึ่งนี่ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาของเวียดนามเท่านั้นหากยังส่งผลกระทบต่อราคาอาหารในตลาดโลกและความมั่นคงด้านอาหารอีกด้วย
ปฏิบัติรูปแบบความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนา
ในฟอรั่ม ผู้นำรัฐบาลเวียดนามเผยว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงไม่เพียงแต่เป็นอู่ข้าวที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามเท่านั้นเพราะในอนาคต เขตนี้จะเป็นพื้นที่ที่มีระบบการเกษตรอัฉริยะ ยั่งยืนและมีมูลค่าสูงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชีย ดังนั้นถ้าหากบรรลุเป้าหมายดังกล่าวก็หมายความว่าบรรลุหน้าที่อันหนักหน่วงที่สุดในภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงใหม่ให้เป็นระบบการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อให้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงพัฒนามากขึ้นในอนาคต นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้กำชับว่า “คณะกรรมการชี้นำเขตตะวันตกภาคใต้พร้อมกับจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องประสานกับรัฐบาลเน้นชี้นำการสร้างสรรค์ความเชื่อมโยงในเขต จัดทำร่างยุทธศาสตร์พัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงโดยใช้ศักยภาพและจุดแข็งของท้องถิ่น หลีกเลี่ยงการแข่งขันภายในกลุ่มและจัดระเบียบการปลูกพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น กำหนดหน้าที่ บทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละท้องถิ่นเพื่อให้การช่วยเหลือในด้านการผลิตและประกอบธุรกิจอย่างทันท่วงที ขยายความเชื่อมโยงและการบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน”
ที่ฟอรั่ม ได้มีการหารือเกี่ยวกับมาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขต ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์การปรับตัวอย่างเหมาะสม รวมทั้งแผนการปรับปรุงโครงสร้างให้มีความพร้อมเพรียงและการประสานงานระหว่างท้องถิ่นและหน่วยงาน
พัฒนาเศรษฐกิจเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2
นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กกล่าวปราศรัยในฟอรั่ม
ขยายความร่วมมือกับหุ้นส่วนพัฒนา
ในฟอรั่มครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้ย้ำถึงความร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะความร่วมมือกับธนาคารโลก โดยธนาคารโลกได้ขยายการจัดสรรสินเชื่อพิเศษตามมาตรฐานสูงสุด ให้การช่วยเหลือด้านเทคนิคและประสบการณ์ในการเพิ่มทักษะการพยากรณ์และเตือนภัยธรรมชาติ สร้างสรรค์เครือข่ายตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน จัดทำร่างแผนการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นางวิกตอร์เรีย กวากวา รองประธานเขตเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของธนาคารโลกเผยว่า “ฟอรั่มครั้งนี้เป็นโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหุ้นส่วนนานาชาติหารือเกี่ยวกับมาตรการให้การช่วยเหลือ พวกเรามีเป้าหมายร่วมกันคือช่วยให้เกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงรับมือกับความท้าทายและสร้างความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหงียนซวนฟุ๊กได้เสนอมาตรการบางอย่าง ส่วนสำนักงานส่วนกลางและท้องถิ่นก็ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน พวกเราต้องยกระดับการเตรียมพร้อม เช่น ก่อสร้างระบบเขื่อนกั้นน้ำ ปลูกป่า ใช้น้ำอย่างประหยัด ทดลองกลไกการใช้แหล่งน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ประยุกต์ใช้ประสบการณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ยากจะคาดเดาได้ของสภาพภูมิอากาศในอนาคต"
ควบคู่กับการขยายความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ รัฐบาลเวียดนามยังให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการลงทุนก่อสร้างเขตอุตสาหกรรม ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบคมนาคมทางบกและทางอากาศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง พร้อมทั้งลงทุนให้แก่การวิจัยวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลูกข้าวและผลไม้อย่างเหมาะสม ตลอดจนปรับปรุงระบบการเกษตรให้มีความทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง.

Feedback