พัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อธำรงอันดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเวียดนาม

Thu Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ตามรายงานของสำนักรัฐบาล ดัชนีการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเวียดนามปี 2019 ได้เลื่อนขึ้น 34 อันดับเมื่อเทียบกับปี 2016 และเลื่อนขึ้น 3 อันดับเมื่อเทียบกับปี 2018 โดยเวียดนามอยู่อันดับที่ 54 จาก 164 ประเทศและดินแดน ผลสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดและนครทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดและนครในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง การประชุมของคณะอนุกรรมการเศรษฐกิจสังคมของที่ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคสมัยที่ 13 กับท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและนครโฮจิมินห์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมาคือเวทีใหญ่ในการหารือถึงมาตรการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อมีส่วนร่วมธำรงอันดับพัฒนาอย่างยั่งยืนของเวียดนาม
พัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อธำรงอันดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเวียดนาม - ảnh 1เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (thanhnien.vn)

เวียดนามอยู่อันดับที่ 2 ในอาเซียน รองจากประเทศไทยเกี่ยวกับดัชนีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่น่าสนใจคือ ในดัชนีการจัดอันดับในระดับสูงของเวียดนาม ดัชนีเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศบรรลุผลงานที่น่าประทับใจ โดยดัชนีแก้ปัญหาความยากจนได้ 95 คะแนน และดัชนีรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ 94 คะแนน ดัชนีการศึกษาได้ 91 คะแนนและดัชนีการเข้าถึงพลังงานได้ 82 คะแนน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประชาคมโลกรู้จักเวียดนามว่าเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจน แต่ในเวลาที่จะถึง โลกจะรู้จักเวียดนามในฐานะเป็นประเทศที่ประสบสำเร็จในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

วิสัยทัศน์ใหม่ให้แก่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

ในการกล่าวปราศรัยในการประชุมของคณะอนุกรรมการเศรษฐกิจสังคมของที่ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคสมัยที่ 13 กับ 13 ท้องถิ่นในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและนครโฮจิมินห์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ได้ย้ำว่า หน้าที่ของรัฐบาลคือต้องประสบความสำเร็จในการรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ปลอดภัยและเจริญรุ่งเรือง เพราะเป็นเขตที่มีที่ดินที่อุดมสมบูรณ์และเป็นอู่ข้าวที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีการขยายตัวด้านเศรษฐกิจในระดับสูง โครงสร้างเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดี อุตสาหกรรมแปรรูปพัฒนา บรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น อัตราคนจนในหลายมิติต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศและมีรูปแบบการผลิตสินค้าขนาดใหญ่  สำหรับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ได้ย้ำว่า “เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องกำหนดวิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 วางวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของประเทศจนถึงปี 2045 โดยวิสัยทัศน์นั้นต้องมุ่งสู่การเชื่อมโยงที่ครอบคลุมเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง การพัฒนาอย่างรวดเร็ว ยั่งยืนและมีการก้าวกระโดดในด้านต่างๆ ดังนั้นต้องมีมาตรการที่ก้าวกระโดดทั้งด้านแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อให้เขตนี้พัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืนมากขึ้นในขณะที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น มาตรการใหญ่ๆคือเร่งเสร็จสิ้นการวางผังเขตตามมาตรการผสานหน่วงานต่างๆกับแนวคิดและวิสัยทัศน์ใหม่”

ในการประชุม นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกได้สั่งให้กระทรวงวางแผนและการลงทุนเป็นเจ้าภาพในการปฏิบัติและประสานกับท้องถิ่น กระทรวง หน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่า จนถึงกลางปี 2020 จะยื่นเสนขออนุมัติพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่สัมพันธ์กับผังพัฒนานครโฮจิมินห์ มีมาตรการเชื่อมโยงเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและแก้ไขปัญหาของอนุภูมิภาคได้สำเร็จ

พัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อธำรงอันดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเวียดนาม - ảnh 2 นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ในการประชุมที่นครเกิ่นเทอ (chinhphu.vn)

รัฐบาลให้ความสนใจถึงเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

รัฐบาลได้ให้ความสนใจพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงโดยให้ทั้งนโยบาย ยุทธศาสตร์และทรัพยากรด้านการเงินอีกด้วย นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก เห็นพ้องกับข้อเสนอของกระทรวงวางแผนและการลงทุนในการจัดงบ 45 ล้านล้านด่ง หรือคิดเป็น 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่ภูมิภาคนี้ในกรอบระยะเวลา 5 ปีเพื่อผลักดันโครงการเร่งด่วนสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงกับเขตอื่น โครงการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การค้ำประกันแหล่งน้ำสำหรับการผลิตและใช้ในครัวเรือน โครงการแก้ไขปัญหาที่ขัดขวางการพัฒนาเขต ตามรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน แหล่งเงินลงทุนภาครัฐแผนระยะกลางในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะมุ่งพัฒนาการเกษตร การคมนาคมและสาธารณสุข นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ได้ย้ำถึงบทบาทของรัฐบาลต่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงว่า “รัฐบาลจัดทำกลไกประสานงานภูมิภาคอย่างเข้มแข็ง มีอำนาจการบริหารที่สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศ ไม่มีเขตใดที่รวม 13 จังหวัด นครและประชากรเกือบ 20 ล้านคนที่มีการเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาที่ดีขนาดนี้ แต่พวกเรายังปฏิบัติไม่ดีพอเท่าทีควร ยังไม่มีการประสานงานกันหรือเชื่อมโยงกัน ดังนั้น ต้องทำการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงและต้องมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการแปรรูปและตลาดจำหน่าย สร้างห่วงโซ่การผลิตและเครื่องหมายการค้า ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรต้องควบคู่กับการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพราะต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าออากาศ ซึ่งเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องเปลี่ยนความเสี่ยงให้กลายเป็นโอกาส”

นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก เห็นพ้องกับท้องถิ่น กระทรวงและหน่วยงานต่างๆเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างคมนาคมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างเข้มแข็งทั้งทางบกและทางรถไฟ ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับเขตต่างๆ โดยเฉพาะกับนครโฮจิมินห์ เพราะการพัฒนาของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องพึ่งพานครโฮจิมินห์เป็นหลัก ส่วนนครโฮจิมิน์ก็ต้องพึ่งพาเขตนี้เช่นกัน ดังนั้น พลังขับเคลื่อนใหม่ที่นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกกำลังกำหนดให้แก่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง คือการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นของประชาชาติและความมุ่งมั่นพัฒนาเขตนี้ให้ทัดเทียมกับเขตอื่นๆในประเทศ.


Feedback