จุดแข็งควบคู่กับความท้าทาย
เวียดนามได้เข้าร่วมและเสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีเอฟทีเอ12ฉบับทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยมีเอฟทีเอ9ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งนับเป็นโอกาสใหญ่เพื่อผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี2019 โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากสามารถใช้โอกาสจากข้อตกลงซีพีทีพีพีได้สำเร็จก็จะช่วยผลักดันอัตราการส่งออกของเวียดนามให้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ4.2 การนำเข้าเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ5.3 ในขณะที่เมื่ออีวีเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับอียูมีผลบังคับใช้ก็จะช่วยให้สินค้าเวียดนามเจาะตลาด28ประเทศอียูได้สะดวกขึ้นจากอัตราการเก็บภาษีที่0% สินค้าเวียดนามจึงมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรวมแล้วการปรับลดภาษีและยกเลิกกำแพงกีดกันทางการค้าตามคำมั่นในเอฟทีเอ สินค้าของเวียดนามจะสามารถเข้าร่วมห่วงโซ่การผลิตและจำหน่ายทั่วโลกได้กว้างลึกมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการปรากฎตัวของลัทธิคุ้มครองการค้าและความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างประเทศต่างๆ กระบวนการถอนตัวจากอียูของอังกฤษ เป็นต้น กำลังสร้างปัญหาความไม่มั่นคงของนโยบายเพิ่มมากขึ้นและเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกรวมทั้งเวียดนาม ดังนั้นเวียดนามต้องแก้ไขปัญหาระหว่างการเป็นฝ่ายรุกและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างเข้มแข็งกับการสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและเพิ่มพลังของชาติ นายบุ่ยแทงเซินรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า
“การปฏิบัติคำมั่นผสมผสานอย่างกว้างลึกกำลังสร้างแรงกดดันในการแข่งขันที่นับวันมีความดุเดือดทั้งในกรอบของประเทศ สถานประกอบการและผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องทำอย่างไรเพื่อทำให้เอฟทีเอฉบับต่างๆเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริงเพื่อพัฒนาพลังภายในและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ ผลักดันการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขยายตัว เพิ่มผลิตภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันคือพื้นฐานและมาตรการสำหรับการเพิ่มพลังภายในของประเทศ”
สร้างพลังขับเคลื่อนใหม่เพื่อการปฏิรูป
ส่วนตามความเห็นของนาย โด๋ทั้งหาย รัฐมนตรีช่วยกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนาม อัตราการขยายตัวจีดีพีของเวียดนามสามารถสูงกว่านี้ถ้าเวียดนามผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมและดึงดูดโครงการลงทุนที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งเวียดนามก็กำลังปฏิบัติแนวทางนี้อย่างดีผ่านการปฏิบัติคำมั่นต่างๆของเอฟทีเอ ในการแสดงความเห็นต่อประเด็นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจหวอชี้แถ่งยืนยันว่า การที่เวียดนามลงนามเอฟทีเอกับหลายหุ้นส่วนและการผลิตของสถานประกอบการสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาและห่วงโซ่การผลิตของโลกพร้อมทั้งมีนักลงทุนที่ดีคือเงื่อนไขเพื่อให้เวียดนามเรียนรู้ถอดประสบการณ์และนี่คือจุดแข็งของเวียดนาม
ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องทำก็คือเวียดนามต้องพยายามปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมให้สอดคล้องกับการเสริมสร้างกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมอย่างสมบูรณ์เพื่อเอื้อให้แก่การพัฒนาอย่างมั่นคงของเศรษฐกิจภาคเอกชน ควบคู่กันนั้นต้องผลักดันการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาในเชิงสร้างสรรค์โดยสถานประกอบการเป็นแกนหลัก รองศ.ดร.หวูมิงห์เคือง มหาวิทยาลัยหลีกวนยู สิงคโปร์ สมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีเผยว่า
“เวียดนามต้องมีพลังที่แข็งแกร่งเพื่อรับมือกับความผันผวนของโลกเพราะผลกระทบที่เวียดนามจะได้รับมีความรุนแรงมากและจะต้องได้รับการกระทบกระเทือนแน่นอน ฉะนั้นต้องตระหนักและติดตามกระบวกการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคอย่างใกล้ชิดและให้ความสนใจถึงผลิตภาพแรงงานและการสร้างบรรยากาศที่ยั่งยืน”
บรรดาผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังแสดงความเห็นว่า เพื่อใช้ประโยชน์จากการเปิดประเทศทางเศรษฐกิจและจากข้อตกลงเอฟทีเออย่างเต็มที่เวียดนามต้องพยายามปรับปรุงคุณภาพการบริหารและการปฏิรูปกลไกเศรษฐกิจ ต้องเป็นฝ่ายรุกในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบในหลายมิติของการแข่งขันทางการค้าและลัทธิคุ้มครองการค้า เน้นการขยายกิจกรรมการส่งออกและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่มีคุณภาพสูงเพื่อช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมั่งคง.