(VOVWorld)-
การที่อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือBrexit เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สร้างความวิตกกังวลต่อโลกในปี๒๐๑๖เพราะไม่เพียงแต่สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตทางการเมืองของอังกฤษเท่านั้นหากยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ-สังคมของอังกฤษและยุโรปอีกด้วย
ผลการลงประชามติเกี่ยวกับการที่อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปเมื่อวันที่๒๓มีนาคมปี๒๐๑๖ระบุว่า ชาวอังกฤษร้อยละ๕๒ลงคะแนนสนับสนุนให้อังกฤษออกจากอียู ในขณะที่ร้อยละ๔๘.๑ไม่เห็นด้วยกับการออกจากอียู ก่อนหน้านั้น แกนนำของฝ่ายสนับสนุนBrexitก็ไม่คาดคิดว่า จะได้รับชัยชนะในการลงประชามติดังกล่าว
Brexitส่งผลกระทบในทางลบไม่มากนักต่ออังกฤษ
สถานการณ์การเมืองในอังกฤษได้มีการเปลี่ยนแปลงหลังการลงประชามติBrexit โดยพรรคการเมืองต่างๆของอังกฤษก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว สำหรับพรรคอนุรักษนิยม หลังจากที่นาย เดวิด คาเมรอนลาออกจากตำแหน่ง นาง เทเรซา เมย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีท่าทีที่โอนอ่อนได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โดยมีหน้าที่สำคัญคือผลักดันกระบวนการถอนตัวออกจากอียู ในขณะเดียวกัน พรรคแรงงานหรือLP ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษก็ประสบปัญหา เมื่อมีสมาชิกพรรคLP ๒๐คน ซึ่งรวมถึงผู้นำระดับสูงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งแต่นาย Jeremy Corbyn หัวหน้าพรรค ซึ่งสนับสนุนให้อังกฤษอยู่กับอียูต่อไปไม่ลาออก ซึ่งสิ่งนี้สร้างความแตกแยกให้แก่พรรคLP
ที่ประเทศสกอตแลนด์ นาง นิโคลา สเตอร์เจียน ผู้นำของสกอตแลนด์ได้เตือนหลายครั้งว่า จะจัดการลงประชามติเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากสหราชอาณจักร ในขณะเดียวกัน พรรคเพื่ออิสรภาพแห่งสหราชอาณาจักรหรือUKIPที่มีจุดยืนต่อต้านการอพยพและให้การสนับสนุนการถอนตัวออกจากอียูได้มีบทบาทมากขึ้นบนเวทีการเมืองของอังกฤษ
บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้พยากรณ์ว่า หลังBrexit เศรษฐกิจอังกฤษจะตกเข้าสู่ภาวะซบเซาแต่สถานการณ์ที่เป็นจริงได้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจอังกฤษได้รับการฟื้นฟูเนื่องจากตัวเลขการอุปโภคบริโภคได้เพิ่มสูงขึ้นและการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมและการลงุทนประกอบธุรกิจ ข้อมูลสถิติใน๖เดือนหลังการลงประชามติBrexit ระบุว่า การผลิตและการบริการของอังกฤษมีเสถียรภาพ รายได้จากการขายปลีกอยู่ในระดับสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ตลาดงานทำได้รับการฟื้นฟูและอัตราคนว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ๑๑ปีที่ผ่านมาคือร้อยละ๔.๘
|
ความท้าทายในเวลาที่จะถึง
ปี๒๐๑๗ อังกฤษจะย่างเข้าสู่ระยะสำคัญของการเจรจาเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียู บรรดานักวิเคราะห์ได้ให้ข้อสังเกตว่า เนื้อหาการเจรจาระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับอียูจะเป็นปัญหาที่สร้างความถกเถียงบนเวทีการเมืองของอังกฤษในปี๒๐๑๗ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้อังกฤษตกเข้าสู่ภาวะไร้เสถียรภาพ สร้างความวิตกกังวลให้แก่บรรดานักลงทุน นายจ้างและแรงงาน ซึ่งอังกฤษต้องเผชิญกับอุปสรรคคือต้องตัดสินใจว่า จะธำรงหรือยกเลิกข้อกำหนดใดของอียู สิ่งที่น่าสนใจคือ พรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นพรรคที่มีเสียงสนับสนุนข้างมากกำลังมีความขัดแย้งเพราะทุกการเปลี่ยนแปลงต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาและแน่นอนว่า การเจรจาจะประสบอุปสรรค โดยเฉพาะ ปัญหาการเดินทางอย่างเสรี ปัญหางานทำ สิทธิผลประโยชน์ของชาวอังกฤษในยุโรปและปัญหาทางการค้า
สำหรับยุโรป ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศต่างๆที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับอังกฤษ เช่น ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและไซปรัส ส่วนประเทศที่ลงทุนโดยตรงในอังกฤษหรือร่วมมือกับหน่วยงานธนาคารของอังกฤษ เช่นไซปรัส ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เยอรมนี กรีซ สเปน เป็นต้นอาจจะได้รับผลกระทบ ถ้าดูในภาพรวม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากปัญหาBrexitต่ออียูมีไม่มากนักแต่การที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียูจะขัดขวางการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาค นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองภายในอียูเกี่ยวกับปัญหาBrexit จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากกระบวนการดังกล่าวมีขึ้นประจวบกับช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆจัดการเลือกตั้งที่สำคัญ
ผลกระทบของปัญหาBrexitภายหลังการลงประชามติของอังกฤษต่ออียูและต่ออังกฤษไม่เหมือนกัน แต่ก็ส่งผลเสียต่อทั้งสองฝ่ายและผลกระทบดังกล่าวอาจยืดเยื้อต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า.