ทหารตุรกีเตรียมความพร้อมให้แก่การโจมตีเขตAfrin เมื่อวันที่21มกราคม (Photo: THX/TTXVN) |
ปฏิบัติการ “ช่อมะกอ”-“Olive branch”ของกองทัพตุรกีเริ่มขึ้นนับตั้งแต่วันที่20มกราคมหลังจากที่สหรัฐประกาศแผนการจัดตั้งกองกำลังรักษาความมั่นคงรวม3หมื่นนายในเขตชายแดนทางทิศเหนือของซีเรียที่ติดกับตุรกี โดยมีYPGเป็นกองกำลังหลัก การที่สหรัฐขยายการสนับสนุนกองกำลังชาวเคิร์ด ซึ่งเป็นกองกำลังที่ถูกตุรกีระบุในรายชื่อกลุ่มก่อการร้ายได้สร้างความไม่พอใจต่อทางการอังการา โดยเห็นว่า แผนการดังกล่าวของสหรัฐอาจช่วยให้ชาวเคิร์ดจัดตั้งรัฐที่อยู้ใกล้ตุรกีและคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ
ยุทธนาการทางทหารที่อ่อนไหว
เขต Afrin ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังYPG ดังนั้น การที่ตุรกีเปิดการโจมตีใส่เขต Afrin นอกจากเป้าหมายทำลายลัทธิการก่อการร้ายแล้ว ก็เพื่อขัดขวางไม่ให้ชาวเคิร์ดรวมสองเขตดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียเข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งรัฐปกครองตนเองในซีเรียเหมือนที่เคยปฏิบัติในอิรัก ซึ่งอาจจะเป็นการปลุกเร้ากองกำลังชาวเคิร์ดในตุรกีให้ปฏิบัติตามและปฏิบัติการล่าสุดนี้ของตุรกีมีความแตกต่างกับครั้งก่อนที่มุ่งสร้างความแตกแยกให้แก่กองกำลังชาวเคิร์ดเท่านั้นเพราะในครั้งนี้ ทางการตุรกีได้ทำการโจมตีเพื่อบทขยีกองกำลังYPG
สิ่งที่น่าสนใจคือ หลังการโจมตีเขต Afrinไม่ถึง1สัปดาห์ ตุรกีได้ประกาศว่า กำลังพิจารณาการขยายปฏิบัติการ “ช่อมะกอ” ไปยังเขตอื่นๆในซีเรียที่มีกองกำลังชาวเคิร์ด ได้แก่เมือง Manbijและเขตทางทิศตะวันออกของแม่น้ำยูเฟรทีสโดยให้เหตุผลว่า กองกำลังYPGได้ทำการโจมตีตุรกีจากเขตดังกล่าวและตุรกีต้องขจัดภัยคุกคามนี้
ตุรกีตั้งใจเปิดยุทธนาการนี้และยืนยันว่า ไม่ต้องการการสนับสนุนจากประเทศใดๆและเป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือขจัดภัยคุกคามต่อตุรกี แต่อย่างไรก็ตาม การประกาศดังกล่าวของตุรกีได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างตุรกีกับสหรัฐร้าวลึกมากขึ้นเนื่องจากกองกำลังYPGได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและมีบทบาทในยุทธนาการต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสในซีเรีย
ทหารตุรกีในเขตReyhanli จังหวัด Hatay (Photo: AFP/TTXVN) |
วิกฤตมนุษยธรรมในซีเรียเลวร้ายลงและคุกคามต่อการเจรจาสันติภาพซีเรีย
ภายหลัง2วันที่ตุรกีเปิดยุทธนาการทางทหารใส่เขต Afrin ประชาชนประมาณ5000คนต้องไร้ที่อยู่อาศัยและวิกฤตมนุยธรรมในเขต Afrin IdlibและGhoutaตะวันออกเลวร้ายลง การปะทะที่ยืดเยื้อเกือบ7ปีที่ผ่านมาได้ทำให้ประชาชนนับล้านคนต้องอพยพ ส่วนประชาชนอีก10ล้านคนที่ไม่ได้อพยพออกนอกพื้นที่ก็ต้องประสบอุปสรรคมากมาย
ยุทธนาการทางทหารของตุรกีในซีเรียถูกมองว่าจะเป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามในการจัดการประชุมใหญ่สนทนาประชาชาติซีเรียที่จัดโดยรัสเซีย ณ เมืองโซชิในปลายเดือนมกราคมนี้ ซึ่งกองกำลังชาวเคิร์ดได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการจัดการเลือกตั้งภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก ลาฟรอฟ ก็เคยย้ำว่า บทบาทของชาวเคิร์ดในกระบวนการทางการเมืองในอนาคตในซีเรียต้องได้รับการค้ำประกัน
ประชาชนซีเรียเพิ่งรู้สึกดีใจเมื่อกลุ่มไอเอสถูกทำลายได้ไม่นานก็ต้องกลับมาวิตกกังวลอีกครั้งต่อความเสี่ยงที่การปะทะใหม่อาจเกิดขึ้นในประเทศนี้ทำให้ดูเหมือนว่า สันติภาพในประเทศซีเรียยังคงอยู่ไกลเอื้อม.