(VOVworld) – กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือจี 7 ได้อนุมัติแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือ รวมทั้งการประณามกิจกรรมการก่อสร้างและปรับเปลี่ยนสภาพเดิมของเกาะหินในทะเลตะวันออกของจีน แถลงการณ์ได้แสดงให้เห็นอีกครั้งว่า ประชาคมโลกให้ความสนใจมากขึ้นต่อปัญหาทะเลตะวันออก ที่กำลังทวีความตึงเครียดมากขึ้นเนื่องจากการกระทำที่เพิกเฉยกฎหมายสากลของทางการปักกิ่ง
วันแรกของการประชุมผู้นำจี7 (AFP)
|
แถลงการณ์ที่ได้รับการอนุมัติในการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือจี 7 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ณ ประเทศญี่ปุ่นย้ำว่า ประเทศต่างๆต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในการแก้ไขการพิพาททางดินแดน โดยกลุ่มจี 7 ประกอบด้วย สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศศ ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลีและแคนาดาได้ยืนยันอีกครั้งว่า การพิพาทดินแดนต้องได้รับการแก้ไขอย่างสันติ ให้ความเคารพเสรีภาพในการเดินเรือและการบิน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศที่เกี่ยวข้องใช้ความอดกลั้น ไม่มีปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวที่ทำให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียด และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงหรือการบังคับเพื่อประกาศอธิปไตย
มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับความวิตกกังวลร่วม
คำประกาศมีขึ้นในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในทะเลตะวันออกมีความตึงเครียดมากขึ้น โดยจีนเรียกร้องอธิปไตยที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลตะวันออกที่มีเส้นทางขนส่งทางทะเลสำคัญหลายเส้นทางและทับซ้อนกับเขตทะเลของหลายประเทศเพื่อนบ้าน เช่นฟิลิปปินส์และเวียดนาม คำประกาศได้แสดงให้เห็นว่า ที่ประชุมจี 7 ครั้งนี้ได้สะท้อนเสียงพูดที่แข็งกร้าวมากขึ้นจากสหรัฐ ญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆในกลุ่มที่แสดงความไม่พอใจของสหรัฐและประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาต่อปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวที่สร้างความตึงเครียดและสร้างภัยคุกคามต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ทำลายสภาพเดิมในทะเลตะวันออก ตลอดจนเขตทะเลหัวตุ้งและเขตทะเลต่างๆในโลก ในการประชุมจี 7 ครั้งนี้ ญี่ปุ่นในฐานะเป็นประเทศเจ้าภาพมีสิทธิ์ตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะถูกหารือในการประชุม และปัญหาทะเลตะวันออกก็ได้กลายเป็นหนึ่งในเนื้อหาหลักของการประชุม บรรดาผู้สังเกตการณ์ได้แสดงความเห็นว่า ญี่ปุ่นได้ประสบความสำเร็จในการดึงความสนใจจากกลุ่มประเทศจี 7 ต่อการพิพาทด้านอธิปไตยปัจจุบันในทะเลตะวันออกและทะเลหัวตุ้งมากขึ้น
ในทางเป็นจริง ปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวของจีนได้สร้างความวิตกกังวลที่นับวันเพิ่มมากขึ้นให้แก่ภูมิภาคและโลก โดยเมื่อเร็วๆนี้ จีนได้ก่อสร้างและปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างอย่างผิดกฎหมายถึงแม้ได้ถูกคัดค้านจากภูมิภาคและโลก รวมทั้งมีการพิพาทกับญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มจี 7 เกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเซนกากุหรือในภาษาจีนเรียกว่าเตียวหยูในทะเลหัวตุ้ง ซึ่งสร้างความวิตกกังวลว่า จีนอาจใช้กำลังเข้ายึดครองพื้นที่เหล่านี้ วองชิงตันได้ตำหนิอย่างเข้มแข็งมากขึ้นต่อปฏิบัติการก่อสร้างเกาะเทียมอย่างผิดกฎหมาย การส่งทหารไปประจำการในทะเลตะวันออก พร้อมทั้งผลักดันกิจกรรมการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของจีนในทะเล ส่วนญี่ปุ่นก็ให้ความสนใจมากขึ้นต่อปัญหาทะเลตะวันออกเพราะสินค้าส่วนใหญ่ของประเทศนี้ถูกขนส่งผ่านเส้นทางทะเลสำคัญนี้ เมื่อเร็วๆนี้ ญี่ปุ่นได้ส่งเรือพิฆาตและเรือดำน้ำไปเข้าร่วมการฝึกซ้อมกับกองทัพเรืออินโดนีเซียและแวะเยือนประเทศต่างๆในเขตทะเลตะวันออก พร้อมทั้งออกมาคัดค้านปฏิบัติการปรับเปลี่ยนสภาพเดิมในทะเลตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียวหลายครั้ง
บรรดาผู้นำจี7
|
สนับสนุนการแก้ไขการพิพาทผ่านกฎหมาย
ถึงแม้จีนไม่อยู่ในกลุ่มจี 7 แต่พฤติกรรมของจีนในหลายปีที่ผ่านมายังคงเป็นหนึ่งในเนื้อหาหลักของการหารือในการประชุมผู้นำจี 7 ความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของกลุ่มจี 7 ครั้งนี้ได้ทำให้จีนมีท่าทีที่เข้มแข็ง โดยจีนได้ออกมาตอบโต้ทันทีว่า ปัญหาทะเลตะวันออกไม่เกี่ยวข้องกับจี 7 หรือประเทศสมาชิกใดของกลุ่มจี 7 และก่อนหน้านั้น จีนได้เตือนหลายครั้งว่า จี 7 ไม่ควรแทรกแซงปัญหานี้ โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศจี 7 ออกแถลงการณ์คัดค้านอย่างเข้มแข็งต่อทุกปฏิบัติการยั่วยุ บังคับหรือข่มขู่แต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพเดิมและสร้างความตึงเครียดในทะเลตะวันออกและทะเวหัวตุ้ง จีนได้ตอบโต้ว่า นี่คือปฏิบัติการและคำประกาศที่ไร้ความรับผิดชอบ พร้อมทั้งยังเรียกตัวบรรดาเอกอัครราชทูตของกลุ่มประเทศจี 7 ในจีนเข้าพบเพื่อชี้แจงถึงทัศนะของตน
ที่น่าสนใจคือ ในแถลงการณ์จี 7 ครั้งนี้ บรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศจี 7 ยังเห็นพ้องกันว่า องค์การระหว่างประเทศ เช่นศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่มีสำนักงาน ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์มีอำนาจตามกฎหมายในการแก้ไขข้อพิพาทด้านอธิปไตยของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกและทะเลหัวตุ้ง ในขณะที่ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจะออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการฟ้องร้องของฟิลิปปินส์ที่เกี่ยวข้องถึงความทะเยอะทะยานด้านอธิปไตยของจีนในทะเลตะวันออกในปลายเดือนมิถุนายนนี้ คำประกาศของจี 7 ที่สนับสนุนการแก้ไขข้อพิพาทผ่านมาตรการที่สันติและกฎหมาย รวมทั้งศาล ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของประชาคมโลกในการมีเสียงพูดเดียวกัน เพื่อทำให้จีนต้องให้ความเคารพคำวินิจฉัยของศาลและกฎหมายสากล
ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ ถึงแม้คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศต่อการฟ้องร้องของฟิลิปปินส์จะไม่สามารถระบุสิทธิความเป็นเจ้าของและสิทธิด้านอธิปไตยที่เป็นรูปธรรมในทะเลตะวันออกได้ แต่คำวินิจฉัยจะส่งผลต่อการเดินเรือ การระบุสิทธิของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพิพาท ตลอดจนช่วยผลักดันมาตรการทางการทูตและลดความตึงเครียดดระหว่งประเทศต่างๆ ความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของกลุ่มจี 7 ครั้งนี้เกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยในการเดินเรือในทะเลตะวันออกได้เพิ่มเสียงพูดที่มีความความรับผิดชอบเพื่อรักษาบรรยากาศความมั่นคง สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคนี้.