รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเวียดนาม เจิ่นต๊วนแอง กับรับมนตรีฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นToshimitsu Moteghi |
สำหรับคำถามเกี่ยวกับการประเมินความหมายของการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ตลอดจนผลประโยชน์ของข้อตกลงฉบับนี้ต่อประเทศสมาชิก รัฐมนตรี Toshimitsu Moteghi ได้กล่าวว่า “วันนี้คือวันสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับซีพีทีพีพี ตามที่เราได้ทราบแล้ว เมื่อวันที่ 23 มกราคมปี 2017 รัฐบาลสหรัฐได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากข้อตกลงทีพีพี แต่ 11 ประเทศที่เหลือยังคงร่วมมือกันเพื่อผลักดันกระบวนการเจรจา 1 ปีต่อมา เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา ณ กรุงโตเกียว หลักนโยบายของซีพีทีพีพีได้รับการอนุมัติ และในวันนี้ ข้อตกลงฉบับนี้ได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการ ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ณ นครดานัง ประเทศที่เกี่ยวข้องได้บรรลุข้อตกลงสำคัญ ผลงานที่ได้บรรลุจนถึงขณะนี้ มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายได้ฟันฝ่าอุปสรรคมากมายเพื่อผลักดันกระบวนการเจรจา อาจถือว่า นี่คือข้อกำหนดใหม่เพื่อผลักดันแนวโน้มใหม่ของการค้าและการลงทุนของศตวรรษที่ 21 มีส่วนร่วมต่อการพัฒนามากขึ้นของเอเชียแปซิฟิกที่กำลังพัฒนาอย่างคล่องตัว
โดยเฉพาะ เวียดนามได้มีส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ต่อกระบวนการนี้ และผมขอกล่าวขอบคุณอีกครั้งต่อความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและกระตือรือร้นของเวียดนาม สำหรับซีพีทีพีพี นี่คือข้อตกลงที่ไม่เหมือนกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ โดยหลายประเทศจะร่วมมือกันผ่านการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจเพื่อผลักดันไม่เพียงแต่ด้านการค้าและการลงทุนเท่านั้น หากยังสร้างห่วงโซ่คุณค่าโลก จัดสรรผลิตภัณฑ์และการบริการที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งสร้างประสิทธิภาพใหม่ให้แก่การค้าและการลงทุน ผมคิดว่า ในเวลาที่จะถึง เวียดนามจะพัฒนาอย่างเข้มแข็งมากขึ้น ในสภาวการณ์ดังกล่าว ประเทศต่างๆเหมือนเวียดนามจะใช้แหล่งพลังทั้งภายในและนอกภูมิภาคเพื่อผลักดันการค้าและการลงทุน ตลอดจนพัฒนาตลาดใหม่”
เกี่ยวกับความเห็นที่ว่า ซีพีทีพีพีถูกมองว่า มีความหมายน้อยลง เพราะไม่มีการเข้าร่วมของสหรัฐรัฐมนตรี Toshimitsu Moteghi ให้ข้องสังเกตว่า “ทีพีพี 11 หรือทีพีพีที่ไม่มีการเข้าร่วมของสหรัฐมีจีดีพีคิดเป็นร้อยละ 13 ของจีดีพีโลก ซึ่งอยู่ที่ 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าการค้าคิดเป็นร้อยละ 15 ของการค้าโลก สร้างตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างประตูเข้าสู่เอเชียแปซิฟิกที่กำลังพัฒนาอย่างเข้มแข็ง ควบคู่กันนั้นคือการสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าตามระเบียบใหม่ นั่นคือสาส์นทางการค้าในเชิงบวกให้แก่เอเชียแปซิฟิก พร้อมกับทีพีพี 11 ความร่วมมือทั้งภายในและนอกภูมิภาค ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศต่างๆและภูมิภาคจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในกระบวนการนั้น ถ้ามีประเทศใดที่ยอมรับข้อเสนอและข้อกำหนดของข้อตกลงนี้ก็สามารถเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งทีพีพี 11 จะได้รับการขยาย”
ในการตอบคำถามเกี่ยวกับแผนปฏิบัติของญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมบทบาทการเป็นหัวเรือในฐานะเป็นเศรษฐกิจชั้นนำซีพีทีพีพี รัฐมนตรี Toshimitsu Moteghi กล่าวว่า “เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2017 ในกรอบการประชุมสุดยอดเอเปก ณ นครดานัง ญี่ปุ่นและเวียดนามได้ออกแถลงการณ์ประธาน และ 11 ประเทศสมาชิกก็ได้หารือและบรรลุข้อตกลงสำคัญจนทำไปสู่การลงนามข้อตกลง ในกระบวนการนั้น ญี่ปุ่นมีบทบาทเป็นศูนย์กลาง พวกเรามีความภาคภูมิใจในสิ่งนี้ โดยเฉพาะพวกเรารู้สึกขอบคุณเวียดนามที่ได้ร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่ผ่านมา ในเวลาที่จะถึง เพื่อให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ พวกเราต้องปฏิบัติงานในหลายด้านมากขึ้น และ 11 ประเทศต้องเชื่อมโยงเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค ญี่ปุ่นจะมีบทบาทเป็นผู้ประสานงาน แนะนำ สร้างความเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป้าหมายร่วมคือ ทำให้ซีพีทีพีพีมีผลบังคับใช้โดยเร็ว”.