D(VOVworld) – ทะเลตะวันออกมีทรัพยากรณ์ธรรมชาติมากมายและมีสถานะที่สำคัญเพราะเป็นเส้นทางคมนาคมหลักทางทะเลของโลกแต่ยังมีความล่อแหลมต่างๆเนื่องจากปัญหาการพิพาทที่ซับซ้อนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขดังนั้น แถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆในทะเลตะวันออกหรือDOCและการมุ่งสู่หลักปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือ COC จะเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาเสถียรภาพ สันติภาพ และมิตรภาพในภูมิภาค
แถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆในทะเลตะวันออกหรือDOCที่บรรดาประเทศอาเซียนและจีนได้ลงนามกัน ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่๔ พฤศจิกายนปี๒๐๐๒เป็นเอกสารทางการเมืองเกี่ยวกับทะเลตะวันออกฉบับแรกที่อาเซียนและจีนได้บรรลุซึ่งถือเป็นก้าวกระโดดของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนในปัญหาทะเลตะวันออก
การปฏิบัติDOC สร้างเสียงพูดร่วม
ตามขั้นตอนของDOC เมื่อวันที่๒๑กรกฎาคมปี๒๐๑๑ ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย อาเซียนและจีนได้บรรลุหลักการแนะนำการปฏิบัติDOC หลังจากที่ทำการเจรจามาเป็นเวลา๙ปีซึ่งถือเป็นก้าวพัฒนาในกระบวนการบริหารควบคุมการพิพาท DOCและหลักการแนะนำการปฏิบัติDOCเป็นพื้นฐานเพื่อให้บรรดาประเทศอาเซียนทำการเจรจากับจีนเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก สาส์นของเลขาธิการอาเซียนท่านเลเลืองมินห์ที่ส่งถึงการสัมมนาทางวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออก ครั้งที่๕ ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อเร็วๆนี้ที่นำเสนอโดยรองเลขาธิการอาเซียนNyan Lynn ได้ยืนยันว่า“DOCสามารถระบุหลักการขั้นพื้นฐานคือสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในเขตทะเลตะวันออกและวางหลักการปฏิบัติของประเทศที่เกี่ยวข้องถึงการพิพาทในทะเลตะวันออกโดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมีความอดกลั้น แก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการอย่างสันติโดยไม่ส่งพลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค DOC ยังสร้างพื้นฐานให้แก่กิจกรรมการสนทนาและกลไกการร่วมมือในภูมิภาคและสร้างพื้นฐานให้แก่กิจกรรม โครงการร่วมมือและโครงการต่างๆ”
ในกว่า๑ทศวรรษที่ผ่านมา DOCได้กลายเป็นเสาหลักและแนวปฏิบัติของประเทศอาเซียน และจีน ที่เกี่ยวข้องถึงการพิพาทในทะเลตะวันออก อย่างไรก็ดี DOCยังมิใช่เป็นเป้าหมายสุดท้ายในการเสนอมาตรการแก้ไขการพิพาทในทะเล รองเลขาธิการอาเซียนนายNyan Lynn กล่าวว่า“COC ยังคงต้องระบุหลักการที่แท้จริงบนพื้นฐานของกระบวนการเจรจาโดยมีการเข้าร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และในอนาคต COC จะเป็นเครื่องมือทางนิตินัยที่สมบูรณ์ที่อาเซียนและจีนต้องปฏิบัติเพื่อแก้ไขการพิพาทผ่านการสร้างบรรยากาศสันติภาพและ เสถียรภาพอย่างยั่งยืน”
เพื่อบรรลุCOC ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ทางด้านเนื้อหาซึ่งมิใช่เรื่องง่ายเพราะจีนและอาเซียนต่างมีแนวทางเข้าถึงCOC ที่แตกต่างกัน
มุมมองที่คล้ายคลึงจากDOCถึงCOC
|
รองเลขาธิการอาเซียนNyan Lynn ( Photo:VOV ) |
สถานการณ์โลกและภูมิภาคมีความผันผวนมากมายและแฝงไว้ซึ่งความล่อแหลมจากปัญหาการพิพาท ปัญหาทะเลตะวันออกถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของทั้งอาเซียนและจีนในปี๒๐๑๓ โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการปฏิบัติที่เข้มแข็งเพื่อผลักดันกระบวนการร่างCOCซึ่งแสดงให้เห็นจากแถลงการณ์ร่วมระหว่างสองฝ่ายในการประชุมอาเซียน จีน ครั้งที่๑๖ ในโอกาสรำลึกครบรอบ๑๐ปีการปฏิบัติDOC และการทาบทามระหว่างอาเซียนกับจีน เมื่อเดือนกันยายนปี๒๐๑๓ พร้อมกับความพยายามของแต่ละประเทศอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาในทะเลตะวันออกในการหารือกับผู้นำระดับสูงของจีน ฝ่ายต่างๆได้เห็นพ้องกันว่า เมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังต้องเผชิญกับความท้าทาย สิ่งที่สำคัญคือ อาเซียนและจีนต้องแบ่งปันผลประโยชน์ร่วม มีความรับผิดชอบและมีความมุ่งมั่นทางการเมืองในการร่างCOCอย่างมีประสิทธิภาพ นายRalf Emmers ผู้เชี่ยวชาญที่วิจัยเกี่ยวกับทะเลตะวันออก สังกัดสถาบันวิจัยระหว่างประเทศS.RajaratmanหรือRSIS ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า“เมื่อต้นปีนี้ จีนเห็นด้วยเริ่มการทาบทามเกี่ยวกับCOCอย่างเป็นทางการซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนะไปในทางที่ดีของจีน เพราะ เมื่อก่อนนี้ จีนมีจุดยืนที่แข็งกร้าวเกี่ยวกับกระบวนการทาบทามCOC และเห็นว่า ยังไม่ถึงเวลาเพื่อปฏิบัติสิ่งนี้ การตัดสินใจทาบทามCOCเป็นพัฒนาการที่ดีแต่กระบวนการเจรจาและทาบทามCOC จะดำเนินไปในระยะยาว”
ค้ำประกันการรักษาสันติภาพ และเสถียรภาพในภูมิภาคปัญหาทะเลตะวันออกเป็นหนึ่งใน ปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีนอย่างไรก็ดี ถ้าปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างสมเหตุสมผลก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆ ส่งผลกระทบในทางลบต่อสถานการณ์ในเขตทะเลตะวันออกซึ่งเป็นเขตอ่อนไหวในหลายปีที่ผ่านมา นางLi Jianwei ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจทางทะเล สถาบันวิจัยแห่งชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออกประเทศของจีน กล่าวว่า“สันติภาพและเสถียรภาพมีความสำคัญต่อทุกประเทศไม่เพียงแต่ประเทศอาเซียนและจีนเท่านั้นและการปฏิบัติตามกฎหมายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อทั้งอาเซียนและจีนและต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ดังนั้น ต้องดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรมต่างๆเพื่อผลักดันคำมั่นปฏิบัติจากDOCถึงCOC”
การเข้าร่วมของจีนและอาเซียนในปัญหาทะเลตะวันออกจะช่วยขยายบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในปัญหาความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการที่จีนและอาเซียนปฏิบัติโครงการร่วมมือต่างๆบนพื้นฐานของDOCจะสร้างโอกาสเพื่อสร้างความไว้วางใจและสร้างบรรยากาศที่สะดวกให้แก่การเจรจาเกี่ยวกับCOCซึ่งสัญญาณที่ดีนี้ได้เปิดความหวังเกี่ยวกับความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างฝ่ายต่างๆ มีส่วนร่วมรักษาสันติภาพ และเสถียรภาพในภูมิภาค./.
Lê Phương-VOV5