(VOVworld) – การปรับเปลี่ยนความประพฤติของนักโทษให้กลับตัวเป็นคนดีถือเป็นการศึกษาพิเศษเพื่อช่วยให้นักโทษเปลี่ยนแปลงจิตสำนึก มีความประพฤติดีเพื่อเตรียมความพร้อมกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวและชุมชน สำหรับประเทศเวียดนาม ได้มีการเชิดชูความหมายด้านมนุษยธรรมที่ลึกซึ้งในด้านนี้ผ่านนโยบายและกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับนักโทษ
ปรับเปลี่ยนความประพฤติของนักโทษให้กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี
|
หลักนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามระบุว่า “มนุษย์เป็นศูนย์กลางของยุทธศาสตร์การพัฒนาและเป็นเป้าหมายของการพัฒนา ต้องให้ความเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน การเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิทธิผลประโยชน์ของประชาชาติ ประเทศและสิทธิการเป็นเจ้าของของประชาชน” ในการปฏิบัติหลักนโยบายและเอกสารของพรรค ถึงขณะนี้ เวียดนามได้เข้าร่วมและให้ภาคียานุวัติอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเกือบทุกฉบับ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานให้เวียดนามปฏิบัติเป้าหมายด้านมนุษยธรรมในปรับเปลี่ยนความประพฤติของนักโทษ การให้อภัยโทษและการปล่อยตัวนักโทษก่อนกำหนด รวมทั้งสนับสนุนการปรับตัวเข้ากับชุมชนของนักโทษ
ลงทุนมากให้แก่การปรับเปลี่ยนความประพฤติของนักโทษ
นับตั้งแต่ปี 1957 เวียดนามได้เข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรม “ที่ปกป้องคุ้มครองเหยื่อสงครามและการปฏิบัติต่อเชลยศึกอย่างมีมนุษยธรรม” ก่อนเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ในสภาวการณ์ที่ถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐ เมื่อปี 1981 เวียดนามได้ให้สัตยาบัน “อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการยุติการเหยียดเชื้อชาติ” “อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการยุติการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ” โดยเฉพาะเมื่อปี 1982 ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในขั้นพื้นฐาน 2 ฉบับ คือ “อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม” และ “อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิพลเรือนทางการเมือง” และเมื่อปี 1990 เวียดนามได้ลงนามในอนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิของเด็ก
ในการปฏิบัติบรรพที่ 2 รัฐธรรมนูญปี 2013 เกี่ยวกับ “ สิทธิมนุษยชน สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง” พร้อมทั้งการจัดทำกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่เวียดนามได้ให้ภาคียานุวัต เมื่อปี 2014 เวียดนามได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทารุณกรรมและการลงโทษหรือการปฏิบัติอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือทำให้เสียชื่อเสียงหรือเรียกสั้นๆว่าอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทารุณกรรม ซึ่งเรียกร้องให้รัฐต้องเพิ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพของเรือนจำและมาตรฐานการกินอยู่ของนักโทษ เป็นต้น สำหรับการค้ำประกันสิทธิของนักโทษ รัฐบาลได้ประกาศมติ “ ระเบียบการของเรือนจำ” และ มติ “แก้ไขและเพิ่มเติมระเบียบการคุมขังชั่วคราวปี 1988 ของรัฐบาล” ซึ่งต่างปกป้องสิทธิตามกฎหมายให้แก่นักโทษ สำหรับการควบคุมนักโทษ มติรัฐบาลปี 1988 ฉบับแก้ไขได้กำหนดว่า “เรือนจำต้องแบ่งการคุมขังนักโทษตามกลุ่ม เช่น ถ้าหากเป็นนักโทษหญิงหรือผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องแยกตัวจองจำเฉพาะ” “เรือนจำต้องได้รับการปกป้องอย่างเข้มงวด มีแสงสว่างเพียงพอ มีการรักษาสุขอนามัยและความสะอาดของพื้นที่” “นักโทษต้องได้ออกกำลังกาย ได้เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ” “ได้อ่านหนังสือ ฟังวิทยุของสถานีวิทยุเวียดนามและดูทีวี” “และได้รับการตรวจร่างกายปีละ 1 ครั้ง”
สอนอาชีพให้แก่นักโทษ |
สนับสนุนนักโทษปรับตัวเข้ากับชุม
ควบคู่กับการค้ำประกันสิทธิการได้อาศัย ศึกษาและใช้ชีวิตของนักโทษ นโยบายและกฎหมายฉบับต่างๆของเวียดนามได้กำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการสนับสนุนนักโทษปรับตัวเข้ากับชุมชนผ่านการทำงาน โดยมติรัฐบาลปี 1988 ฉบับแก้ไขได้กำหนดว่า “นักโทษทำงานวันละ 8 ชั่วโมง” “นักโทษหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิ์หยุดพักทั้งก่อนและหลังคลอดบุตรตามข้อกำหนดทั่วไปของรัฐ” “รายได้จากการทำงานของนักโทษจะใช้เพื่อลงทุนและขยายการผลิต ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคของเรือนจำและเป็นรางวัลให้นักโทษที่ทำงานเก่ง” ถ้าหากนักโทษคนใดสามารถกลับเนื้อกลับตัวได้ก็จะได้รับการพิจารณาอภัยโทษและปล่อยตัวก่อนกำหนดในช่วงตรุษเต๊ดประเพณีและวันชาติ 2 กันยายนตามกฎหมายอภัยโทษ โดยนโยบายการอภัยโทษนั้นได้รับการปฏิบัติตามหลักการค้ำประกันความเปิดเผย โปร่งใสและมีประชาธิปไตยในการคัดเลือกนักโทษที่จะได้รับอภัยโทษก่อนกำหนด การอภัยโทษแต่ละครั้งจะมีการจัดการโหวตในกลุ่มนักโทษเพื่อเลือกนักโทษที่มีความประพฤติดีและปฏิบัติตามกฎระเบียบของเรือนจำเพื่อให้ได้รับสิทธิ์การอภัยโทษ ในระหว่างปี 2009-2015 เวียดนามได้ปล่อยตัวนักโทษก่อนกำหนดกว่า 63,000 คนใน 5 ครั้ง ส่วนในหลายปีมานี้ ควบคู่กับการปฏิบัติกฎหมายอภัยโทษ รัฐเวียดนามได้ปฏิบัตินโยบายต่างๆสำหรับนักโทษ เช่น นโยบายการสอนอาชีพ ซึ่งช่วยให้นักโทษที่ได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนดในปี 2015 มีทักษะวิชาชีพที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่การปรับตัวเข้ากับชุมชน
ทั้งนี้ ทัศนะและนโยบายต่างๆของเวียดนามที่เกี่ยวข้องกับนักโทษได้สะท้อนให้เห็นถึงเกียรติประวัติความมีมนุษยธรรมและความเป็นมนุษย์อันสูงส่งของประชาชาติเวียดนาม การสร้างโอกาสให้นักโทษได้ปรับปรุงประพฤติและการสนับสนุนเป็นอย่างมากต่อเป้าหมายการปรับตัวเข้ากับชุมชนของนักโทษคือผลสำเร็จที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามในการปกป้องสิทธิมนุษยชน.