นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐและนาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย (Photo: TTXVN) |
ในขณะที่การถกเถียงและการตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องถึงกรณีวางยาพิษอดีตสายลับสองหน้าชาวรัสเซียยังไม่คลี่คลายลง ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียก็ได้ตกเข้าสู่วังวนแห่งความตึงเครียดรอบใหม่เนื่องจากข้อสงสัยเกี่ยวกับการโจมตีด้วยอาวุธเคมีในซีเรีย
ซึ่งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการใช้อาวุธเคมีในซีเรียได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศตกเข้าสู่ภาวะวิกฤตซ้ำอีก ในขณะที่สหรัฐเตือนว่า จะมีปฏิบัติการทางทหารในซีเรีย ส่วนรัสเซียได้ยืนยันว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการโจมตีเป็นข้อมูลเท็จและจะมีปฏิบัติการตอบโต้ในทำนองเดียวกัน ซึ่งคำเตือนที่แข็งกร้าวจากทั้งสองฝ่ายในตลอด48ชั่วโมงที่ผ่านมาได้ทำให้ประชาคมโลกมีความวิตกกังวลต่อสงครามที่กำลังใกล้จะถึง
ประวัติศาสตร์ของการเผชิญหน้า
ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศที่เผชิญหน้ากันนับตั้งแต่สงครามเย็นได้เพิ่มขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งความตึงเครียดแรกระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นเมื่อปี1999หลังจากที่องค์การนาโต้ที่สหรัฐเป็นผู้นำเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์ในยูโกสลาเวีย หลังจากนั้นเมื่อปี2003 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็เลวร้ายลงเนื่องจากกองทัพสหรัฐบุกอิรักและทำการโค่นล้มผู้นำลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งรัสเซียถือปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการแทรกแซงที่รุนแรงและไร้ความรับผิดชอบของสหรัฐในสงครามกลางเมืองของลิเบียที่มีเป้าหมายเพื่อยัดเยียดประชาธิปไตยให้แก่ลิเบีย
หลังจากที่รัสเซียผนวกไครเมียเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งเมื่อปี2014และการปะทะระหว่างทางการเคียฟกับกองกำลังลุกขึ้นสู้ที่รัสเซียให้การสนับสนุน ความไว้วางใจระหว่างสหรัฐกับรัสเซียก็ลดลงอย่างหนัก ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรใส่กัน โดยสหรัฐได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรในการออกวีซ่า การเงิน อายัดทรัพสินย์ของนักการเมือง นักธุรกิจ บริษัทและธนาคารของรัสเซีย ส่วนรัสเซียได้ประกาศจำกัดและลดจำนวนนักการทูตสหรัฐในรัสเซีย
ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเร็วๆนี้ สหรัฐได้กล่าวหารัสเซียว่า แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี2016และทั้งสองฝ่ายยังโยนความผิดให้แก่กันในกรณีวางยาพิษอดีตสายลับชาวรัสเซียในประเทศอังกฤษ รัสเซียได้เนรเทศนักการทูตสหรัฐ60คนและปิดสถานกงสุลสหรัฐ ณ เมืองเซนต์ปีเตอร์สบูร์กเพื่อตอบโต้การที่38บุคคลและองค์การของรัสเซียถูกสหรัฐคว่ำบาตร โดยเฉพาะ ความล้มเหลวในการแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาซีเรียได้ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็นหัวหอกในการเผิชญหน้ากัน โดยรัสเซีย พันธมิตรอิหร่านและตุรกีให้การสนับสนุนทางการของประธานาธิบดีซีเรีย บาชาร์ อัล-อัสซาด ส่วนสหรัฐและพันธมิตรฝ่ายตะวันตกให้การสนับสนุนกองกำลังฝ่ายค้านในซีเรียที่ต่อต้านทางการซีเรีย ซึ่งการโจมตีด้วยอาวุธเคมีในซีเรียได้ทำให้ความขัดแย้งอยู่ในภาวะรุนแรงที่สุด
ยากที่จะร่วมมือกันในอนาคต
นับตั้งแต่ที่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามาและนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมีตรี เมดเวเดฟ ได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคีในพบปะเมื่อปี2009 ณ วังเครมลิน แต่ในสถานการณ์ที่เป็นจริง ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังคงตกอยู่2วังวนได้แก่การเผชิญหน้าและมาตรการคว่ำบาตร ความระแวงสงสัยและความขัดแย้งที่นับวันเพิ่มมากขึ้น รัสเซียมีท่าทีที่ไม่ประนีประนอมต่อการกระทำที่ถือว่า คุกคามต่อความมั่นคงของตน ส่วนสหรัฐและฝ่ายตะวันตกไม่ยอมรับประเทศรัสเซียที่แข็งแกร่งและคุกคามต่อแผนการขยายอิทธิพลของตนผ่านการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียและภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะ ซีเรียที่มีสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญและทั้งสองประเทศไม่อยากลดอิทธิพลของตนในภูมิภาคนี้
ในขณะเดียวกัน โลกกำลังรอคอยท่าทีของทุกฝ่าย ส่วนสหรัฐในซีเรีย ข่าวจากหลายแหล่งได้ยืนยันว่า ทัพเรือดำน้ำของอังกฤษได้เตรียมพร้อมโจมตีซีเรีย ส่วนสหรัฐได้ส่งเรือพิฆาต4ลำและเรือดำน้ำ2ลำพร้อมด้วยจรวดโทมาฮอว์ก406ลูกเข้าไปในเขตทะเลใกล้ซีเรีย ในขณะที่กองทัพของรัฐบาลซีเรียและรัสเซียตั้งอยู่ในภาวะพร้อมรบเพื่อเตรียมรับการโจมตีจากสหรัฐและพันธมิตรในสมรภูมิซีเรีย จากความผันผวนดังกล่าว แน่นอนว่า ไม่สามารถตั้งความหวังเกี่ยวกับก้าวกระโดดในการแก้ไปขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐในเวลาที่จะถึง.