ความมมั่นคงทางทะเล – ปัญหาร้อนบนโต๊ะเจรจาการประชุมจี 7

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – วันที่ 8 มิถุนายน การประชุมสุดยอดจี 7 ได้เสร็จสิ้นลงหลังการประชุมมาเป็นเวลา 2 วัน ณ ปราสาท Elmau ทางภาคใต้ของประเทศเยอรมนี โดยมีการออกประกาศร่วมเกี่ยวกับปัญหาต่างๆของภูมิภาคและโลก ส่วนปัญหาความมั่นคงทางทะเลยังเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของผู้นำจี 7 อีกครั้งโดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่ประชาคมโลกนับวันมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพียงฝ่ายเดียวของจีนเพื่อพยายามเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมในทะเลฮัวตุ้งและทะเลตะวันออก

(VOVworld) – วันที่ 8 มิถุนายน การประชุมสุดยอดจี 7 ได้เสร็จสิ้นลงหลังการประชุมมาเป็นเวลา 2 วัน ณ ปราสาท Elmau ทางภาคใต้ของประเทศเยอรมนี โดยมีการออกประกาศร่วมเกี่ยวกับปัญหาต่างๆของภูมิภาคและโลก ส่วนปัญหาความมั่นคงทางทะเลยังเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของผู้นำจี 7 อีกครั้งโดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่ประชาคมโลกนับวันมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพียงฝ่ายเดียวของจีนเพื่อพยายามเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมในทะเลฮัวตุ้งและทะเลตะวันออก

ความมมั่นคงทางทะเล – ปัญหาร้อนบนโต๊ะเจรจาการประชุมจี 7 - ảnh 1
ความมมั่นคงทางทะเล – ปัญหาร้อนบนโต๊ะเจรจาการประชุมจี 7 (Photo AFP)
แม้ระเบียบวาระของการประชุมจี 7 ครั้งนี้จะเต็มไปด้วยปัญหาร้อนต่างๆ แต่ปัญหาการรักษาความมั่นคงในทะเลตะวันออกและทะเลฮัวตุ้งซึ่งเป็นปัญหาใหม่ที่ถูกระบุเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมได้กลายเป็นประเด็นร้อนบนโต๊ะเจรจาของบรรดาผู้นำประเทศมหาอำนาจที่เข้าร่วมการประชุมนี้
แสดงจุดยืนร่วมเกี่ยวกับความมั่นคงทางทะเล
ควบคู่กับปัญหาร้อนต่างๆที่ต้องแสวงหามาตรการแก้ไข เช่น สถานการณ์ในภาคตะวันออกของยูเครน การรับมือกับกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส การควบคุมโรคระบาด เป็นต้น บรรดาผู้นำจี 7 ได้สงวนเวลาเพื่อแสดงจุดยืนร่วมกันในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความปลอดภัยในการเดินเรือในเขตทะเลตะวันออกและทะเลฮัวตุ้ง โดยในการออกประกาศร่วมหลังการประชุม กลุ่มจี 7 ได้ย้ำถึงความจำเป็นในการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคงของการเดินเรือตามกฎหมายสากลโดยเฉพาะอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ผู้นำจี 7 ยังย้ำถึงบทบาทสำคัญของการแก้ไขการพิพาทด้วยสันติวิธีและการรักษาการเดินเรืออย่างเสรี การใช้เศรษฐกิจทางทะเลอย่างชอบธรรมและยืนหยัดคัดค้านการใช้อาวุธเพื่อแปลี่ยนแปลงสภาพเดิมในเขตทะเล เช่น การก่อสร้างเกาะเทียมขนาดใหญ่ในทะเลตะวันออกในเวลาที่ผ่านมา
นอกจากนั้น บรรดผู้นำจี 7 ยังยืนยันว่า ปักกิ่งต้องมีการอธิบายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับพื้นฐานของคำประกาศอธิปไตยเหนือเขตทะเลตามกฎหมายสากล ไม่ใช่ผ่านการข่มขู่ การใช้อาวุธและการบังคับ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่จี 7 แสดงท่าทีต่อปัญหานี้ โดยเมื่อปีที่แล้ว ในการประชุมสุดยอด ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ผู้นำจี 7 เคยประกาศคัดค้านการเคลื่อนไหวเพียงฝ่ายเดียวเพื่อเรียกร้องอธิปไตยผ่านพฤติกรรมที่ยั่วยุ ข่มขู่และการใช้อาวุธมาแล้ว
ความมมั่นคงทางทะเล – ปัญหาร้อนบนโต๊ะเจรจาการประชุมจี 7 - ảnh 2
จีนก่อสร้างเกาะเทียมในหมู่เกาะเจื่องซาหรือเสปรตลีย์ของเวียดนาม (Photo Reuters)
ความมั่นคงทางทะเลเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจของกลุ่มจี 7 อยู่เสมอ
การพิพาทอธิปไตยเหนือทะเลตะวันออก ทะเลฮัวตุ้งและความมั่นคงในการเดินเรือต่างเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากจี 7 เพราะว่า ก่อนหน้านั้นจีนได้มีการพิพาทด้านอธิปไตยกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสมาชิกของจี 7 เกี่ยวกับหมู่เกาะเซนกากุหรือเตี้ยวหยู โดยปักกิ่งได้ส่งเรือไปยังบริเวณรอบหมู่เกาะที่กำลังอยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการปะทะระหว่างสองฝ่าย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ปัญหานี้จะส่งผลกระทบทำให้การเดินเรือผ่านทะเลตะวันออกต้องหยุดชะงัก ซึ่งเป็นบริเวณที่จีนกำลังเรียกร้องอธิปไตยเกือบทั้งหมดและส่งผลกระทบในทางลบต่อทุกประเทศสมาชิกจี 7 ดังนั้น กลุ่มจี 7 ต้องแสดงท่าทีอย่างชัดเจนเกี่ยวกับปัญหานี้ จนถึงขณะนี้ จีนยังคงไม่ยอมเข้าร่วมการแก้ไขปัญหาการพิพาทอธิปไตยในทะเลตะวันออกและทะเลฮัวตุ้ง ซึ่งทำให้จีนกำลังต้องรับมือกับแรงกดดันไม่น้อยจากการคัดค้านอย่างรุนแรงของกลุ่มจี 7เพราะว่าจีนมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับหลายประเทศสมาชิกจี 7  ตามข้อมูลสถิติ บริษัทชั้นนำของสหรัฐได้ลงทุนกว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในประเทศจีน ส่วนจีนซื้อสินค้าและการบริการจากสหรัฐรวมมูลค่า 1 แสน 2 หมื่น 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนสหรัฐนำเข้าสินค้าจากจีนรวมมูลค่า 4 แสน 6 หมื่น 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ไม่เพียงแต่สร้างแรงกดดันด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่บรรดาประเทศจี 7 ยังคงมีปฏิบัติการต่างๆเพื่อแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของตน ซึ่งในกลุ่มจี 7 นั้น มีประเทศสมาชิกสองประเทศคือสหรัฐและญี่ปุ่นกำลังเข้าร่วมอย่างเข้มแข็งต่อปัญหาความมั่นคงในการเดินเรือทางทะเลในเวลาที่ผ่านมา โดยเมื่อเร็วๆนี้ สำนักข่าว CNN ของสหรัฐได้เสนอข่าวการก่อสร้างเกาะเทียมอย่างผิดกฎหมายในทะเลตะวันออกของจีนต่อสายตาของผู้ชมทั่วโลกและสหรัฐได้ยืนยันหลายครั้งว่า จีนเป็นผู้ที่สร้างอุปสรรคต่อการเดินเรืออย่างเสรีและการปฏิบัติกฎหมายสากลในทะเลฮัวตุ้งและทะเลตะวันออก เมื่อเร็วๆนี้ ประชามติโลกได้คาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้ที่วอชิงตันจะส่งเครื่องบินไปยังบริเวณ 12 ไมล์ทะเลของเกาะเทียมต่างๆที่จีนกำลังก่อสร้างในทะเลตะวันออกเพื่อเป็นการยืนยันว่า สหรัฐไม่รับรองอธิปไตยที่จีนประกาศในเขตนี้ นอกจากสหรัฐแล้ว ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่คัดค้านพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของการเดินเรือในภูมิภาค นอกจากการใช้ฟอรั่มระหว่างประเทศเพื่อเตือนไม่ให้ปักกิ่งทำลายสภาพเดิมในเขตทะเลของภูมิภาคแล้ว ญี่ปุ่นยังเพิ่มความร่วมมือกับประเทศต่างๆอีกด้วย โดยคาดว่าในวันที่ 23 และ 24 มิถุนายน กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่นจะเข้าร่วมการซ้อมรบกับกองทัพเรือฟิลิปปินส์ในทะเลตะวันออก
หลังฟอรั่มการสนทนาความมั่นคงในเอเชียหรือแชงกรีลา ปัญหาความมั่นคงและความปลอดภัยในการเดินเรือในเขตทะเลตะวันออกและทะเลฮัวตุ้งได้ถูกระบุอีกครั้งโดยผู้นำประเทศพัฒนาชั้นนำของโลกจี 7 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของประเทศต่างๆนอกภูมิภาคเพื่อรักษาสันติภาพ เสถียรภาพให้แก่เส้นทางทะเลที่สำคัญของโลก./.

Feedback