หลังจากผ่านอุปสรรคต่างๆ ข้อตกลงCPTPPหรือTPP-11ได้รับความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จาก11ประเทศสมาชิก ณ นครดานัง ประเทศเวียดนามนอกรอบการประชุมผู้นำฟอรั่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปก เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2017 ในการประชุมของหัวหน้า11คณะเจรจา ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ฝ่ายต่างๆได้เห็นพ้องเกี่ยวกับปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ ทำการตรวจสอบกรอบทางนิตินัยและเสร็จสิ้นการจัดทำระเบียบการต่างๆเพื่อลงนามข้อตกลงดังกล่าวในวันนี้.
ข้อตกลงCPTPP เป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ในระบบการค้าโลก ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายามของประเทศสมาชิก โดยญี่ปุ่นเป็นผู้เดินหน้าหลังจากที่สหรัฐประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงTPP
ความได้เปรียบของข้อตกลงการค้าแบบใหม่
ข้อตกลงใหม่นี้จะช่วยลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้ากว่าร้อยละ98ในเขตการค้าที่มีอัตราจีดีพี13ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ13.5ของเศรษฐกิจโลก ในปี2017 มูลค่าการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่าง11ประเทศสมาชิกCPTPPอยู่ที่3แสน6หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ข้อตกลงCPTPPได้คงเนื้อหาพื้นฐานของข้อตกลงTPPเอาไว้ประกอบด้วย เสรีภาพในการลงทุน การปกป้องนักลงทุน การใช้จ่ายของรัฐบาลและลิขสิทธิ์ทางปัญญา เป็นต้น ซึ่งตามนั้น ประเทศต่างๆต้องเปิดประเทศเพื่อให้บริษัทและนักลงทุนของประเทศสมาชิกCPTPPประกอบธุรกิจเหมือนผู้ผลิตภายในประเทศ นอกจากนี้ ในกรอบของข้อตกลงCPTPP บรรดาสถานประกอบการต่างชาติมีสิทธิ์และผลประโยชน์เท่าเทียมกับสถานประกอบการภายในประเทศในด้านการใช้จ่ายของรัฐบาล สถานประกอบการภาครัฐและภาคเอกชนได้รับสิทธิผลประโยชน์เท่าเทียมกัน ซึ่งได้สร้างบรรยากาศการแข่งขันที่เข้มแข็ง โปร่งใสระหว่างสถานประกอบการทั้งภายในและต่างประเทศ ข้อตกลงCPTPPยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างงานทำให้แก่แรงงาน ครอบครัว เกษตรกรและผู้บริโภค
สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ เปรูและชิลี เป็นต้น ข้อตกลงCPTPPจะเอื้อให้แก่การขยายตลาดการส่งออกในขณะที่การลงทุนในด้านการใช้จ่ายของรัฐบาลและลิขสิทธิ์ทางปัญญาก็เป็นสิ่งที่ดึงดูดประเทศที่พัฒนา
นอกจากนี้ ข้อกำหนดที่สำคัญและก้าวหน้าของข้อตกลงCPTPPคือสร้างโอกาสให้แก่ประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้ง ประเทศนอกภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งหมายความว่า ข้อตกลงCPTPPไม่จำกัดประเทศสมาชิกเพียง11ประเทศเท่านั้นหากยังเปิดรับประเทศที่ให้ความสนใจอีกด้วยและสิ่งที่น่าสนใจคือ CPTPPยังพร้อมที่จะต้อนรับสหรัฐและหวังว่าสหรัฐจะพิจารณาการยกเลิกบทบาทการเป็นประเทศมหาอำนาจในข้อตกลงการค้าที่ก้าวหน้าฉบับแรกของศตวรรษที่21 นี้
แนวทางการค้าแบบพหุภาคีเป็นสิ่งที่จำเป็น
หลังจากที่ได้รับการลงนาม ข้อตกลงCPTPPจะมีผลบังคับใช้ในต้นปี2019เมื่อประเทศสมาชิกอย่างน้อย6ประเทศเสร็จสิ้นการทำระเบียบการภายในประเทศ การลงนามข้อตกลงCPTPPเป็นก้าวเดินที่แข็งขัน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการผลักดันความร่วมมือและการผสมผสานและเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า แนวทางการค้าแบบพหุภาคีเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งการลงนามข้อตกลงCPTPPก็เพื่อต่อต้านการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคีตามแนวทาง “อเมริกาต้องมาก่อน” ของทางการประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งแน่นอนว่า ข้อตกลงCPTPPจะเดินหน้าในการต่อต้านแนวโน้มการคุ้มครองทางการค้าที่กำลังกลับมาขยายตัวในโลก
นอกจากผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจากข้อตกลงCPTPP สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือข้อตกลงCPTPPที่มีมาตรฐานในระดับสูงยังอาจจะกลายเป็นตัวอย่างให้แก่ข้อตกลงการค้าแบบพหุภาคีอื่นๆ เช่น ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือRCEPที่อาเซียนเป็นผู้นำ จากแนวทางเปิดรับทุกประเทศที่ให้ความสนใจ จำนวนประเทศสมาชิกของข้อตกลงCPTPPจะมีโอกาสเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน สาธารณรัฐเกาหลี ไต้หวัน ประเทศจีน ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าร่วมข้อตกลงนี้ การเพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกของข้อตกลงCPTPPจะช่วยพัฒนาห่วงโซ่อุปทานใหม่ในภูมิภาคเอเชียและเพิ่มผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจให้แก่ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง.