ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลกับสหประชาชาติเพิ่มขึ้นโดยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม กองกำลังชั่วคราวสหประชาชาติในเลบานอนหรือ UNIFIL เผยว่า กองทัพอิสราเอลได้ทำการโจมตีใส่ฐานที่ตั้งของ UNIFIL ในภาคใต้เลบานอน ทำลายหอสังเกตการณ์ 1 แห่ง อุปกรณ์สื่อสาร ระบบไฟฟ้าส่องสว่างของ UNIFIL และทำให้เจ้าหน้าที่ UNIFIL บางคนได้รับบาดเจ็บ
ปฏิบัติการที่อันตราย
การที่ UNIFIL ถูกโจมตีได้ยกระดับความอันตรายของการปะทะที่มีความเสี่ยงบานปลายไปยังทั่วประเทศเลบานอน ตามข้อมูลของสหประชาชาติ กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในภาคใต้เลบานอนได้รับผลกระทบจากการโจมตี 20 ครั้งนับตั้งแต่ที่อิสราเอลปฏิบัติการโจมตีภาคพื้นดินเข้าสู่พื้นที่ชายแดนทางตอนใต้ของเลบานอนเมื่อปลายเดือนกันยายน โดยมุ่งเป้าไปยังเป้าหมายต่างๆของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของ UNIFIL 5 นายได้รับบาดเจ็บและอิสราเอลได้ทำลายประตูและบุกเข้าไปในฐานที่ตั้งของ UNIFIL ซึ่งสหประชาชาติกล่าวหาว่า เป็นการกระทำโดยเจตนา
ในการอธิบายเกี่ยวกับปฏิบัติการที่สร้างความตึงเครียดกับสหประชาชาติ นาย เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ชี้ว่า คำตำหนิกองทัพอิสราเอลเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะกองทัพอิสราเอลได้ประกาศหลายครั้งให้ UNIFIL ถอนกำลังออกจากภาคใต้เลบานอน โดยเฉพาะเขตชายแดนระหว่างเลบานอนกับภาคเหนือของอิสราเอลและที่ราบสูงโกลันเพื่อหลีกเลี่ยงการที่ UNFIL กลายเป็น “โล่มนุษย์” ให้แก่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ แต่อย่างไรก็ดี คำอธิบายดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก ด้วยการออกประกาศประณาม การโจมตีของกองทัพอิสราเอลใส่ UNIFIL ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้และต้องยุติทันที
ในการประกาศเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 15 ประเทศสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งประเทศพันธมิตรของอิสราเอลได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายค้ำประกันความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และฐานที่มั่นของ UNIFIL ซึ่งกองกำลังรักษาสันติภาพและฐานที่มั่นของสหประชาชาติต้องไม่ใช่เป้าหมายการโจมตี พร้อมทั้งยืนยันอีกครั้งถึงการสนับสนุนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต่อ UNIFIL และความสำคัญของกองกำลังนี้ต่อการรักษาเสถียรภาพของภูมิภาค ส่วนนาย ฌอน-ปีแอร์ ลาโครอิกส์รอง เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติที่ดูแลกองกำลังรักษาสันติภาพยืนยันว่า
“กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจะไม่ย้ายหรือออกจากฐานที่มั่น นี่เป็นการตัดสินใจของพวกเราหลังจากที่พิจารณาทุกปัจจัย รวมทั้งความมั่นคงและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ ความรับผิดชอบของพวกเราต่อหน้าที่นี้และประชาชน”
อิสราเอลถูกประเทศและองค์การต่างๆตำหนิ
ในจำนวนประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่ประท้วงการโจมตีของกองทัพอิสราเอลใส่ UNIFIL บรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียูมีท่าทีที่เข้มแข็งที่สุด ในแถลงการณ์ร่วมต่างๆ ผู้นำฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนีและสเปนได้ตำหนิการกระทำดังกล่าวของกองทัพอิสราเอล เพราะเป็นประเทศที่ส่งทหารเข้าร่วม UNIFIL และสนับสนุนการปฏิบัติมติที่ 1701 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ได้ลงนามเมื่อปี 2016 เพื่อรักษาสันติภาพในเขตชายแดนระหว่างอิสราเอลกับเลบานอน ดังนั้น บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า อียูอาจถือการโจมตี UNIFIL เป็นการยั่วยุทางการทูต โดยเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้เตือนว่า ฝรั่งเศสจะไม่นิ่งเฉยถ้าหากเกิดการโจมตี UNIFIL อีกครั้ง ส่วนนายกรัฐมนตรีสเปน Pedro Sanchez เรียกร้องให้อียูยอมรับรัฐปาเลสไตน์และระงับการปฏิบัติข้อตกลงการค้าเสรีกับอิสราเอล
ส่วนในการประกาศเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม นาย โจเซฟ บอร์เรลล์ ตัวแทนระดับสูงดูแลด้านนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงของอียูได้เผยว่า 27 ประเทศสมาชิกอียูได้เห็นพ้องเรียกร้องให้อิสราเอลยุติการกระทำที่เป็นอันตรายต่อกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ส่วนประเทศอื่นๆเรียกร้องให้กองทัพอิสราเอลยุติการโจมตีใส่ UNIFIL ส่วนนาย เรเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรกีเผยว่า การกระทำดังกล่าวไม่เพียงแต่สร้างความอันตรายในสนามรบเท่านั้นหากยังส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอีกด้วยเนื่องจากสหประชาชาติไม่สามารถค้ำประกันความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ของตนได้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาคมโลก โดยเฉพาะประเทศพันธมิตรของอิสราเอลต้องเพิ่มแรงกดดันต่ออิสราเอลทั้งทางการทูตและการทหารเพื่อยุติการทวีความตึงเครียดในเลบานอน
แต่อย่างไรก็ตาม คำเรียกร้องดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะถูกเพิกเฉยเนื่องจากในการประกาศล่าสุด วันที่ 15 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีอิสราเอลได้ยืนยันว่า กองทัพอิสราเอลจะยืนหยัดปฏิบัติยุทธนาการต่อต้านกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในประเทศเลบานอน พร้อมทั้งเตือนให้ UNIFIL ถอนกำลังออกจากเขตที่เกิดการปะ ซึ่งสร้างความวิตกกังวลต่อความเสี่ยงที่กองกำลังนี้อาจถูกโจมตีอีกครั้ง.