การแสวงหาการสนับสนุนทางทหารจากภายนอกคือก้าวเดินที่อันตรายของนายกรัฐมนตรีอิรัก

Chia sẻ
(VOVworld) – นายนูรี อัล มาลีกี นายกรัฐมนตรีอิรักที่กำลังอยู่ระหว่างการเยือนประเทศสหรัฐเป็นเวลา 3 วันเพื่อแสวงหาการสนับสนุนทางทหารในขณะที่ประเทศอิรักกำลังต้องรับมือกับเหตุรุนแรงที่นับวันเพิ่มมากขึ้น นี่ถือเป็นการตัดสินใจที่เฉลียวฉลาดของนายนูรี อัล มาลีกีหรือไม่ในการเสริมอำนาจเพื่อช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากวิกฤตในปัจจุบัน

(VOVworld) – นายนูรี อัล มาลีกี นายกรัฐมนตรีอิรักที่กำลังอยู่ระหว่างการเยือนประเทศสหรัฐเป็นเวลา 3 วันเพื่อแสวงหาการสนับสนุนทางทหารในขณะที่ประเทศอิรักกำลังต้องรับมือกับเหตุรุนแรงที่นับวันเพิ่มมากขึ้น นี่ถือเป็นการตัดสินใจที่เฉลียวฉลาดของนายนูรี อัล มาลีกีหรือไม่ในการเสริมอำนาจเพื่อช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากวิกฤตในปัจจุบัน

การแสวงหาการสนับสนุนทางทหารจากภายนอกคือก้าวเดินที่อันตรายของนายกรัฐมนตรีอิรัก - ảnh 1
นายนูรี อัล มาลีกีอยู่ระหว่างการเยือนประเทศสหรัฐ (Photo Rudaw)

            แสวงหามาตรการแก้ไขโดยการสนับสนุนของพันธมิตร

ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนก่อนเดินทางไปเยือนประเทศสหรัฐ นาย นูรี อัล มาลีกีได้ยืนยันว่า เครือข่ายอัลกออีดะกำลังเปิดยุทธนาการก่อการร้ายโดยมุ่งเป้าไปยังประชาชนอิรัก ซึ่งตนไม่อยากให้ประเทศอิรักต้องกลายเป็นแหล่งกบดานของกลุ่มก่อการร้าย ดังนั้น การช่วยเหลือด้านทหารของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน อาวุธยุทโธปกรณ์ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้อิรักสามารถต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายและปราบปรามกลุ่มติดอาวุธต่างๆ โดยตนจะยื่นข้อเสนอนี้ต่อนายบารักโอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐ

            แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจดังกล่าวของนายนูรี อัล มาลีกี ได้ถูกคัดค้านจากส.ส.สหรัฐจำนวนมาก ซึ่งส.ส.ที่มีชื่อเสียง เช่น นายจอห์น มักเกน นาย Carl Levin นาย Robert Menendez และนาย Lindsey Graham ได้ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา เพื่อแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ที่นับวันเลวร้ายลงในอิรัก ที่มีสาเหตุมาจากการบริหารของนายนูรี อัล มาลีกีที่สร้างความแตกแยกให้แก่ชนในชาติ ซึ่งมีส่วนร่วมกระตุ้นให้สถานการณ์ใช้ความรุนแรงทวีหนักยิ่งขึ้นเพราะนาย อัล มาลีกีได้บริหารประเทศแบบเผด็จการและมีลักษณะแบบพรรคฝ่ายโดยไม่ให้ชาวซุนนีมีสิทธิพิเศษต่างๆ ดูหมิ่นชาวเคิร์ดและปล่อยให้ชาวชีอะห์รที่ปรารถนาว่าจะมีประเทศอิรักที่มีประชาธิปไตยถูกโดดเดี่ยว ดังนั้นการเพิ่มจำนวนยุทโธปกรณ์ให้แก่อิรักก็เปรียบเสมือนการราดน้ำมันใส่กองไฟ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขต้นเหตุของความไร้เสถียรภาพได้

            ในทางเป็นจริง เหตุปะทะอย่างนองเลือดนับวันทวีมากขึ้นในประเทศอิรัก ซึ่งคณะปฏิบัติงานของสหประชาชาติประจำอิรักได้สรุปว่า นับตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบัน มีชาวอิรักเสียชีวิตประมาณ 6 พันคนและได้รับบาดเจ็บประมาณ 1 หมื่น 4 พันคนจากเหตุคาร์บอมและระเบิดพลีชีพ ซึ่งเท่ากับตัวเลขในช่วงที่สงครามกลางเมืองในอิรักมีความรุนแรงที่สุด คือในช่วงปี 2006-2007  และในตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา เฉลี่ยในอิรักได้เกิดเหตุโจมตีอย่างน้อยวันละสองครั้ง ระเบิดถูกลอบวางทุกแห่งทั้งตลาด มัสยิด งานแต่งงานหรืองานศพในกรุงแบกแดดและจังหวัดอื่นๆ แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าก็คือ ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลของนายนูรี อัล มาลีกี ที่เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์เสียงข้างมากกับชาวซุนนีที่เป็นเสียงข้างน้อยได้ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งหันมาสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงที่มีความสัมพันธ์กับเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออีดะ            

การแสวงหาการสนับสนุนทางทหารจากภายนอกคือก้าวเดินที่อันตรายของนายกรัฐมนตรีอิรัก - ảnh 2
เหตุวางระเบิดบ่อยครั้งในอิรัก (Photo Brahat)

ยากที่จะเสร้างเสถียรภาพทางการเมือง

            จากสภาวะการณ์ดังกล่าว รัฐบาลอิรักได้เปิดยุทธนาการไล่ล่ากลุ่มกบฏ รับสมัครทหารใหม่เพื่อต่อสู้กับกลุ่มอัลกออีดะและประกาศคำสั่งเคอร์ฟิว แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่พอเพราะเป็นมาตรการแก้ไขในระยะสั้นเท่านั้น เพื่อยุติการใช้ความรุนแรงที่นับวันลุกลามในทั่วประเทศ รัฐบาลอิรักต้องมีแผนระยะยาวเพราะต้นตอของปัญหามาจากความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์ ซึ่งนับวันเลวร้ายลงหลังการแทรกแซงทางการเมืองของสหรัฐเมื่อปี 2003  การแยงชิงและแบ่งอำนาจยังหาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งปัญหานี้จะหาข้อยุติได้ก็ต้องผ่านการเจรจาเท่านั้น ซึ่งในสภาวะการณ์นี้ สิ่งที่นายนูรี อัล มาลีกี ต้องทำก็คือ พยายามปรับปรุงสถานะของชาวซุนนีให้ดีขึ้นและแสวงหามาตรการแบ่งอำนาจระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไม่ใช่แก้ไขด้วยการเสริมอาวุธยุทโธปกรณ์

            สาเหตุการใช้ความรุนแรงในอิรักมาจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นการเสริมอาวุธยุทโธปกรณ์จึงถือเป็นยาที่อันตรายที่จะทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความไร้เสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายในการเยือนวอชิงตันครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีอิรักจึงถือเป็นความหวังลมๆแล้งๆที่จะช่วยให้อิรักหลุดพ้นจากสถานการณ์ความรุนแรง./.

Hồng Vân – VOV5

Feedback