“ การเลือกตั้งในอียิปต์ยากที่จะทราบผลชี้ขาดว่าใครจะเป็นผู้นำคนใหม่ ”

Van-VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)- วันที่ ๒๓ และ ๒๔ เดือนนี้  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวอียิปต์นับสิบล้านคนได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดี นับเป็นการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์อย่างเสรีในประเทศนี้นับตั้งแต่การโค่นล้มประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ...

(VOVworld)- วันที่ ๒๓ และ ๒๔ เดือนนี้  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวอียิปต์นับสิบล้านคนได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดี นับเป็นการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์อย่างเสรีในประเทศนี้นับตั้งแต่การโค่นล้มประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ในการลุกฮือชุมนุมด้วยการใช้ความรุนแรงที่ใช้ชื่อว่า ฤดูใบไม้ผลิอาหรับก่อนหน้านี้ ๑๕ เดือน  อย่างไรก็ตามกระแสข่าวต่างเห็นว่า การเลือกตั้งรอบแรกนี้ยังไม่ทราบผลชี้ขาดว่าใครจะเป็นผู้นำคนใหม่ในจำนวนผู้ลงสมัคร ๑๒ คน 
 “ การเลือกตั้งในอียิปต์ยากที่จะทราบผลชี้ขาดว่าใครจะเป็นผู้นำคนใหม่ ” - ảnh 1
บรรยากาศก่อนการเลือกตั้ง ณ กรุงไคโร (Photo internet)

วงการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างเห็นตรงกันว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้มีความหมายสำคัญต่ออนาคตของอียิปต์เพราะว่า นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศในแถบอัฟริกาเหนือนี้  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีสิทธิ์เสรีในการเลือกประธานาธิบดีภายหลังกว่าหนึ่งปีล้มล้างประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ประเด็นที่สองคือ ผลการเลือกตั้งจะเป็นการยุติระยะเปลี่ยนผ่านอันเป็นการยุติอำนาจของสภาการทหารที่กำลังบริหารประเทศอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกำลังรอคอย  การเลือกตั้งครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า กระบวนการประชาธิปไตยในอียิปต์เริ่มก้าวเดินก้าวแรกเนื่องจากนับตั้งแต่ปี ๑๙๕๒ มานี้ ประเทศอียิปต์มีประธานาธิบดีบริหารประเทศถึง ๔ ท่านแต่มีเพียงการทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับความไว้วางใจของประชาชนต่อผู้นำทั้ง ๔ ท่านดังกล่าวเท่านั้น และแม้จะมีการจัดการเลือกตั้งในปี ๒๐๐๕ ก็ตาม แต่ได้เป็นไปตามธรรมเนียมเท่านั้นเพราะกฎเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับการเลือกตั้งยังอำนวยแก่นายฮอสนี มูบารัค  และครั้งนี้เป็นครั้งแรกผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวอียิปต์มีโอกาสเลือกผู้นำประเทศโดยตรง  ส่วนผู้ลงสมัครได้หาเสียงด้วยนโยบายต่างๆเกี่ยวกับการส่งเสริมเศรษฐกิจโดยการลงทุนในหน่วยงานอุตสาหกรรม พลังงาน การเกษตร การส่งเสริมโครงการต่างๆริมคลองสุเอซเพื่อเรียกการสนับสนุนจากสประชาชน

แม้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแต่ดูเหมือว่ายากที่จะมีผลชี้ขาดในการเลือกตั้งรอบแรก ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนการเลือกตั้งปรากฎว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งร้อยละ ๓๗ ในจำนวนทั้งหมด ๕๐ ล้านคนยังลังเลในการที่จะเทคะแนนให้กับผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง  วงการวิเคราะห์สถานการณ์มองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่มีผู้สมัครคนใดในจำนวน ๑๒ คนจะได้คะแนนเสียงกว่าครึ่งหนึ่งเพื่อจะชนะในรอบแรก หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ต้องตัดสินชี้ขาดระหว่างผู้ลงสมัครที่มีคะแนนแสียงสูงสุด ๒ คนอีกคั้งหนึ่งในวันที่  ๑๖ และ ๑๗ มิถุนายนนี้ ซึ่งปัจจุบันมีชื่อผู้สมัครตัวเต็ง ๔ คนที่เห็นลู่ทางที่แจ่มใสนั่นคือ เลขาธิการสันนิบาตอาหรับ นายอามร์ มุสซา อดีตนายกฯนาย อาร์หมัด ซาฟีค อดีตสมาชิกองค์การพี่น้องอิสลามนาย อับเดล โอเนอิม อาบูล โฟตู และหัวหน้าพรรคเสรีและยุติธรรมนาย โมฮัมหมัด เมอร์ซีสังกัดองค์การพี่น้องมุสลิม  จากรายชื่อตัวเต็งดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่การเลือกตั้งครั้งนี้อาจจะเป็นการแข่งขันระหว่างฝ่ายอิสลามกับฝ่ายอื่นๆและบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาลของอดีตประธานธิบดีฮอสนี มูบารัค   ด้วยเหตุนี้เอง ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการเมืองและยุทธศาสตร์อัลบราฮามนาย ดีซา ราสวานได้ให้ข้อสังเกตที่ไม่เห็นลู่ทางที่แจ่มใสว่า แม้ว่าผู้ลงสมัครคนใดจะชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ไม่สามารถรวมอำนาจได้เป็นหนึ่งเดียว

ขณะที่การเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่สามารถทราบผลชี้ขาดได้ กระแสข่าวต่างชี้ให้เห็นสิ่งท้าทายสำหรับประธานาธิบดีคนใหม่ภายหลังอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัคถูกโค่นล้มมาเป็น๑๕ เดือนนั่นคือ การชุมนุมประท้วงโดยใช้ความรุนแรงยังคงมีอยู่ต่อไปและเศรษฐกิจถดถดถอย  ซึ่งการชุมนุมประท้วง การใช้ความรุนแรงและความไม่สงบทำให้การลงทุนจากต่างประเทศเข้าในอียิปต์ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการลุกฮือโค่นล้ม โดยตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายนปีที่แล้วเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลงจาก ๑ พัน ๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐเหลือเพียง ๔๔๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ขาดดุลชำระ ๒ พัน ๓๖๐ ล้านเหรียญสหรัฐ  ปี ๒๐๑๑ รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงร้อยละ ๓๐ ส่งผลลับทำให้สถานการณ์อาชญากรรมขยายตัวอย่างรุนแรง  นอกจากนี้ ความแตกแยกและขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆได้ส่งผลให้ประเทศในแถบอัฟริกาเหนือนี้ไม่สามารถผ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยุคหลังประธานาธิบดีมูบารัคที่ระบุถึงอำนาจของประธานาธิบดีได้

ก่อนหน้านี้กว่า ๑ ปี ชาวอียิปต์นับล้านคนได้ลุงฮือโค่นล้มประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ด้วยหวังเปิดยุคประชาธิไตย สันติภาพและการพัฒนาในประเทศ และปัจจุบันนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกำลังใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกผู้นำประเทศของตนแต่ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง ./.

Feedback