การเลือกตั้งของประเทศต่างๆในยุโรปอาจกำหนดอนาคตของกลุ่ม

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – การเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์ เยอรมนีและอิตาลีโดยเฉพาะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรกที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 เมษายนโดยชัยชนะเป็นของผู้ลงสมัครสองคนที่เป็นตัวแทนของฝ่ายค้านได้รับการประเมินว่า มีความหมายสำคัญเพราะตัวเต็งทั้งสองมีนโยบายเกี่ยวกับยุโรปที่แตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งการรักษาความสัมพันธ์และการทบทวนความร่วมมือกับยุโรป

(VOVworld) – การเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์ เยอรมนีและอิตาลีโดยเฉพาะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรกที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 เมษายนโดยชัยชนะเป็นของผู้ลงสมัครสองคนที่เป็นตัวแทนของฝ่ายค้านได้รับการประเมินว่า มีความหมายสำคัญเพราะตัวเต็งทั้งสองมีนโยบายเกี่ยวกับยุโรปที่แตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งการรักษาความสัมพันธ์และการทบทวนความร่วมมือกับยุโรป

การเลือกตั้งของประเทศต่างๆในยุโรปอาจกำหนดอนาคตของกลุ่ม - ảnh 1
นาย เอมมานูเอล มาครง และ นาง มารีน เลอ แปน 
(Photo AFP/TTXVN)

วิกฤตการเงินยังคงหลอกหลอนและเป็นฝันร้ายของยุโรปโดยปัญหาคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นและกระแสผู้อพยพได้ส่งผลให้สังคมไร้เสถียรภาพ ซึ่งทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในบรรดาประเทศยุโรปไม่พอใจกับสถานการณ์ปัจจุบันและหันมาสนับสนุนพรรคการเมืองแนวประชานิยม ดังนั้น คาดว่า การเลือกตั้งของประเทศต่างๆในยุโรปในปีนี้จะเป็นการแข่งขันที่ดุดเดือด

เห็นอะไรจากบัตรเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

แม้การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลงโดยชัยชนะเป็นของนาย เอมมานูเอล มาครง ผู้ลงสมัครอิสระที่ได้คะแนนร้อยละ 23.82 สูงกว่าไม่มากเมื่อเที่ยบกับนาง มารีน เลอ แปน หัวหน้าพรรคแนวร่วมแห่งชาติฝ่ายขวาจัดที่ได้ร้อยละ 21.58 แต่การที่ นาง มารีน เลอ แปน อาจจะแซงหน้าเพื่อได้คะแนนนำในการเลือกตั้งรอบที่ 2 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้นั้นจะเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเพราะตามความคิดเห็นของผู้สังเกตการณ์ ทั้งสองคนมีโอกาสชนะการเลือกตั้งพอๆกัน

นาย เอมมานูเอล มาครง สนับสนุนสหภาพยุโรปหรืออียูและกระบวนการโลกาภิวัตน์ ดังนั้นถ้าหากเขาชนะ อียูจะได้รับการปฏิรูปและยุโรปมีโอกาสฟื้นฟู ส่วนนาง มารีน เลอ แปน ได้ให้คำมั่นในการหาเสียงว่า หากชนะ เธอจะจัดการลงประชามติเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากยุโรปของฝรั่งเศสหรือ Frexit เพิ่มความเข้มงวดด้านนโยบายต่อผู้อพยพ “ฟื้นฟูอธิปไตยของประเทศในด้านการเงิน เศรษฐกิจ นิติบัญญัติและบูรณภาพแห่งดินแดน” ฝรั่งเศสเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับที่ 2 ของเขตยูโรโซนและอันดับที่ 7 ของโลก พร้อมทั้งเป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งอียูและเป็นเศรษฐกิจแถวหน้าของกลุ่มร่วมกับเยอรมนี ดังนั้น ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบที่ 1 ที่ผู้ลงสมัครทั้งสองคนได้รับเสียงสนับสนุนสูสีกันนั้นถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลัทธิประชานิยมกำลังเบ่งบานในทั่วโลก 

ก่อนหน้านั้น การที่อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี มัตเตโอ เรนซี แพ้ในการหยั่งเสียงประชามติเกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญได้แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอิตาลี ซึ่งเรื่องที่ทำให้อิตาลีมีความแตกต่างกับประเทศอื่นๆคือ มีพรรคฝ่ายค้านสองพรรคที่ประท้วงเรื่องเงินยูโรและกำลังจะมีพรรคที่ 3 ซึ่งมีแนวโน้มเดียวกันกับเรื่องดังกล่าว ปัจจุบันนี้ อิตาลีกำลังรอคอยการเลือกตั้งก่อนกำหนดในปีนี้ ซึ่งก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้พรรคขวาจัดที่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อยุโรปได้เข้าเวทีการเมือง อิตาลีเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับ 3 ของเขตยูโรโซนและเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขยายตัวของยุโรป ดังนั้นหากอิตาลีตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพ ก็จะส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจของภูมิภาค

ส่วนที่ประเทศเนเธอแลนด์ แม้พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยหรือวีวีดีของนายกรัฐมนตรี มาร์ค รูทท์ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสภาล่างเมื่อวันที่ 15 มีนาคมแต่รัฐบาลชุดใหม่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากความแตกแยกที่นับวันทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ยังเป็นพรรคนำหน้าแต่วีวีดีต้องเสีย 9 ที่นั่งจากจำนวน 41 ที่นั่งในรัฐสภาชุดปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน ถ้าหากเปรียบเทียบกับ 12 ที่นั่งในรัฐสภาชุดปัจจุบัน การได้ 19 ที่นั่งในการเลือกตั้งเป็นชัยชนะเบื้องต้นของพรรคขวาจัดพีวีวี และเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างการเมืองในยุโรปเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

การเลือกตั้งของประเทศต่างๆในยุโรปอาจกำหนดอนาคตของกลุ่ม - ảnh 2
อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี มัตเตโอ เรนซี (Photo VNplus)

ในขณะเดียวกัน การเลือกตั้งในเยอรมนีอาจไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใดเพราะนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิลยังคงเป็นนักการเมืองที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรปด้วยเสียงสนับสนุนร้อยละ 60 และเป็นตัวเต็งที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีอีกสมัย แม้กระทั่งพรรคฝ่ายค้าที่มีจุดยืนคัดค้านการแก้ปัญหาวิกฤตผู้อพยพของเธออาจจะได้ที่นั่งในสภาล่างเป็นครั้งแรกก็ตาม

อนาคตของยุโรปหลังการเลือกตั้งในประเทศต่างๆ

ในสภาวการณ์ที่ยุโรปต้องรับมือกับความท้าทายต่างๆเมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ อัตราคนว่างงานสูง การขาดความยุติธรรมในสังคมและปัญหากระแสผู้อพยพที่ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงและสังคม ประชาชนในหลายประเทศยุโรปอาจจะไม่ได้ตั้งความหวังทางการเมืองผ่านบัตรเลือกตั้งอีก ซึ่งการเลือกตั้งในประเทศเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ลัทธิประชานิยมจะขยายตัวในยุโรปและในความเป็นจริง ที่ประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ อิตาลีและฝรั่งเศส พรรคการเมืองขนาดเล็กกำลังมีความเข้มแข็งมากขึ้นจากการมีนโยบายที่เข้าถึงประชาชน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

หลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู การหยั่งเสียงประชามติเกี่ยวกับปฏิรูปรัฐธรรมนูญได้ประสบความล้มเหลวในอิตาลีและการเลือกตั้งรอบแรกในฝรั่งเศส ประชามติโลกกำลังพูดถึงแนวโน้มใหม่ที่เรียกว่า “ฤดูใบไม้ผลิแห่งความรักชาติ” แม้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดเกี่ยวกับกระแสนี้แต่แน่นอนว่า หลังกระแสโลกาภิวัตน์ หากเสียงพูดของประชาชนถูกละเลยและไม่ได้รับความเคารพก็จะทำให้เกิดขบวนการประชานิยมครั้งใหม่พร้อมผลพวงที่ตามมาที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ต่อเวทีการเมืองของโลก.

Feedback