ท่าน เหงียนฟู้จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม |
รองศาสตราจารย์ ดร. เลเติ๊ดเคือง หัวหน้าสถาบันวิจัยและพัฒนาภูมิภาคของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีประสบการณ์ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลากว่า 40 ปี และเป็น 1 ใน 112 ปัญญาชนดีเด่นที่ได้รับการยกย่องสดุดีจากรัฐเมื่อปี 2019 ได้บอกว่าทุกครั้งที่เขานำโครงการทางวิทยาศาสตร์ไปปฏิบัติในท้องถิ่น เขาก็มีความคาดหวังที่จะช่วยให้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ หลุดพ้นจากความยากจน โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาเป็นหัวหน้าโครงการ “พัฒนาพันธุ์ส้มและส้มโอที่มีคุณภาพสูงในอำเภอบั๊กเซิน จังหวัดหล่างเซิน” โครงการ“ทดลองปลูกอะโวคาโดในจังหวัดบั๊กยาง” และ โครงการ“วิจัยรูปแบบการผลิตเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรสำหรับสินค้าเกษตรที่เป็นจุดแข็งในภาคกลางตอนบน” ซึ่งผลงานของโครงการเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้ประชาชนนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิต รองศาสตราจารย์ ดร. เลเติ๊ดเคือง เผยว่า
“เราได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการเกษตรของแต่ละภูมิภาคเพื่อกำหนดผลิตภัณฑ์การเกษตรหลัก และช่วยให้ท้องถิ่นต่างๆจัดทำแผนการและโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ยั่งยืน เรายังศึกษาวิจัยและเลือกพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มโครงสร้างพันธุ์พืชในแต่ละภูมิภาค”
ในกระบวนการวิจัย ประยุกต์ใช้ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัมนาประเทศนั้นได้มีปัญญาชนอีกหลายพันคนเหมือนรองศาสตราจารย์ ดร. เลเติ๊ดเคือง ที่ได้เข้าร่วมภารกิจนี้อย่างเข้มแข็งและกลายเป็นกองกำลังสำคัญในการส่งเสริมและแปรเป้าหมาย หน้าที่ ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและยั่งยืนให้เป็นรูปธรรมในเวลาที่ผ่านมาอีกด้วย โดยภายหลัง 15 ปีของการปฏิบัติมติที่ 27 แถวขบวนปัญญาชนเวียดนามได้เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านจำนวนและคุณภาพ และปัจจุบันก็เป็นกองกำลังเดินหน้าในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ศาสตราจารย์ เหงียนเลินหยุง สมาชิกสภาการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งชาติเวียดนามยืนยันว่า
“ผู้ที่มีความสามารถพิเศษคือสมบัติอันล้ำค่าของชาติ ในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 เราต้องการแหล่งพลังนี้เป็นอย่างมาก พวกเขาเป็นปัญญาชนที่มีชื่อเสียงซึ่งมีส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ในยุคดิจิทัล ต้องมีนโยบายเฉพาะเพื่อเอื้อให้พวกเขามีบทบาท มีส่วนร่วมต่อประเทศในการแปรแนวทางนโยบายของพรรคและรัฐให้เป็นรูปธรรมและปฏิบัติในชีวิตจริง”
ศาสตราจารย์ เหงียนเลินหยุง สมาชิกสภาการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งชาติเวียดนาม |
ทั้งนี้ เพื่อให้บรรดาปัญญาชนและนักวิทยาศาสตร์มีส่วนร่วมมากขึ้นต่อการพัฒนาของประเทศ ต้องมีกลไกและนโยบายที่เป็นก้าวกระโดด โดยเฉพาะนโยบายระดมทรัพยากรมนุษย์ การดึงดูด การให้สิทธิพิเศษและการยกย่องปัญญาชน โดยเฉพาะปัญญาชนและนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถพิเศษ ซึ่งนี่ก็เป็นเนื้อหาที่ท่าน เหงียนฟู้จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม กล่าวย้ำถึง
“การสร้างสรรค์แถวขบวนปัญญาชนที่เข้มแข็งเป็นการยกระดับสติปัญญาของชาติ ความแข็งแกร่งของประเทศ การยกระดับความสามารถในการเป็นผู้นำของพรรคฯและคุณภาพการดำเนินงานของระบบการเมือง การลงทุนเพื่อสร้างแถวขบวนปัญญาชนถือเป็นการลงทุนให้แก่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
การสร้างแถวขบวนปัญญาชนที่เข้มแข็งทั้งด้านจำนวนและคุณภาพโดยมีโครงสร้างที่เหมาะสมที่มีความผูกพันกับการส่งเสริมบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบและความสามารถของปัญญาชนในการปฏิบัติเป้าหมาย หน้าที่และยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมคือความรับผิดชอบของพรรค รัฐ ระบบการเมืองและสังคมในปัจจุบัน การเน้นส่งเสริมการปฏิรูปกลไก การระดมแหล่งพลังในสังคม การให้ความเคารพและทำการวิจัย ประดิษฐ์คิดค้น การมีกลไกและนโยบายให้สิทธิพิเศษต่อผู้ที่มีความสามารถ ปัญญาชนและนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ คือการสร้างบรรยากาศ เงื่อนไข และพลังขับเคลื่อนขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาและส่งเสริมปัญญาชน ดร. ฟานซวนหยุง ประธานสมาพันธ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนามแสดงความเห็นว่า
“ทุกประเทศในโลกถ้าอยากพัฒนาก็ต้องถือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นนโยบายที่ต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ นั่นเป็นแนวทางที่สำคัญและต้องถูกระบุในนโยบายและมาตรการและนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือการให้ความเคารพปัญญาชน การยกย่องสดุดีและการอำนวยความสะดวกให้พวกเขาปฏิบัติงาน มิใช่แค่เงินเดือนเท่านั้น สิ่งที่สำคัญคือผลงานวิจัยของพวกเขาต้องได้รับการประยุกต์ใช้"
ในตลอด 15 ปีของการปฏิบัติตามมติที่ 27 แถวขบวนปัญญาชนเวียดนามได้มีส่วนร่วมโดยตรงต่อการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ มีส่วนร่วมในการยกระดับสถานะและชื่อเสียงของเวียดนามทั้งในระดับภูมิภาคและโลก ดังนั้นเพื่อส่งเสริมผลงานนี้ เวียดนามกำลังจัดทำกลไกและนโยบายที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมแถวขบวนปัญญาชนทุ่มเทกับการค้นคว้าวิจัยและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาของประเทศในอนาคต.