การประชุมเจนีวาปีคศ. 1954 – บทเรียนอันล้ำค่าของการต่างประเทศเวียดนาม

Hồng Vân - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมปี 1954 หนึ่งวันหลังจากชัยชนะเดียนเบียนฟู การประชุมเจนีวาเพื่อยุติสงครามและฟื้นคืนสันติภาพในอินโดจีนได้เปิดขึ้น ณ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และหลังการเจรจามาเป็นเวลา 75 วันพร้อมกับการพบปะหารือทางการทูต วันที่ 20 กรกฎาคมปีคศ. 1954 ข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยการยุติสงครามในเวียดนาม ลาวและกัมพูชาได้รับการลงนาม นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาติเวียดนาม บรรดาประเทศใหญ่ต้องยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชาติเวียดนาม ซึ่งได้แก่ เอกราช อธิปไตย เอกภาพและบูรณภาพแห่งดินแดน รัฐบาลฝรั่งเศสต้องถอนทหารออกจากประเทศเวียดนาม 
(VOVworld) – เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมปี 1954 หนึ่งวันหลังจากชัยชนะเดียนเบียนฟู การประชุมเจนีวาเพื่อยุติสงครามและฟื้นคืนสันติภาพในอินโดจีนได้เปิดขึ้น ณ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และหลังการเจรจามาเป็นเวลา 75 วันพร้อมกับการพบปะหารือทางการทูต วันที่ 20 กรกฎาคมปีคศ. 1954 ข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยการยุติสงครามในเวียดนาม ลาวและกัมพูชาได้รับการลงนาม นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาติเวียดนาม บรรดาประเทศใหญ่ต้องยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชาติเวียดนาม ซึ่งได้แก่ เอกราช อธิปไตย เอกภาพและบูรณภาพแห่งดินแดน รัฐบาลฝรั่งเศสต้องถอนทหารออกจากประเทศเวียดนาม ในโอกาสฉลองการลงนามข้อตกลงเจนีวาครบรอบ 60 ปี ขอเชิญท่านดูสาระสำคัญในบทความของท่านฝ่ามบิ่งมิงห์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามในหัวข้อ “การประชุมเจนีวาปีค.ศ. 1954 – บทเรียนอันล้ำค่าของการต่างประเทศเวียดนาม”
การประชุมเจนีวาปีคศ. 1954 – บทเรียนอันล้ำค่าของการต่างประเทศเวียดนาม - ảnh 1
การประชุมเจนีวาปีค.ศ. 1954

การประชุมเจนีวาเกี่ยวกับอินโดจีนมีคณะผู้แทนเข้าร่วมอย่างเป็นทางการ 9 คณะ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐ สหภาพโซเวียต จีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ลาว กัมพูชาและรัฐบาลของกษัตริย์บ๋าวด๋าย ซึ่งเป็นกษัตริย์องศ์สุดท้ายของเวียดนามเข้าร่วม ส่วนข้อตกลงเจนีวามีเอกสารฉบับต่างๆ ได้แก่ แถลงการณ์ฉบับล่าสุดของการประชุมเจนีวาเกี่ยวกับการฟื้นคืนสันติภาพในอินโดจีน ข้อตกลง 3 ฉบับเกี่ยวกับการยุติสงครามในเวียดนาม ลาวและกัมพูชา ซึ่งยืนยันคำมั่นของทุกประเทศที่จะให้การเคารพเอกราช อธิปไตย เอกภาพและการบูรณภาพแห่งดินแดนของเวียดนาม ไม่แทรกแซงกิจการภายในของเวียดนาม เส้นขนานที่ 17 แบ่งสองภาคเวียดนามเป็นเส้นแบ่งชั่วคราว ไม่ได้ถือเป็นเส้นแบ่งทางการเมืองหรือดินแดนและเวียดนามจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อรวมประเทศเป็นเอกภาพในเดือนกรกฎาคมปี 1956
ผลประโยชนของประเทศและประชาชาติเป็นเป้าหมายและหลักการสูงสุด
นับเป็นครั้งแรกที่การทูตเวียดนามที่วัยเยาว์ได้เข้าร่วมการเจรจาพหุภาคีที่ซับซ้อนและได้รับอิทธิพลจากประเทศใหญ่ๆ ในสภาวะการณ์ดังกล่าว ในการตระหนักได้ดีว่า ผลประโยชน์ของประเทศและประชาชาติเป็นพื้นฐานให้แก่การต่อสู้ทางการทูต เวียดนามได้ต่อสู้เพื่อมาตรการแก้ไขที่สมบูรณ์ ซึ่งถือเอกราช อธิปไตย เอกภาพและบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นผลประโยชน์อันสูงสุดและเป็นเป้าหมายพื้นฐานที่ต้องการบรรลุในการประชุมเจนีวา
เวียดนามได้ยืนหยัดเป้าหมายดังกล่าว โดยได้ต่อสู้เพื่อมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งทางทหารและการเมือง ในด้านการทหารคือการหยุดยิง การถอนทหารต่างชาติและการฟื้นคืนสันติภาพในอินโดจีน ส่วนในด้านการเมืองคือการรักษาสันติภาพ เอกราช เอกภาพและบูรณภาพแห่งดินแดนให้แก่เวียดนาม ลาวและกัมพูชา ตลอดจนยุติระบอบอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน
ด้วยเหตุนี้นับตั้งแต่วันแรกของการประชุม คณะผู้แทนเวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกจัดกิจกรรมทางการทูตต่างๆและรณรงค์นานาประเทศ ควบคู่กับการต่อสู้บนโต๊ะเจรจา คณะผู้แทนเวียดนามยังคงหารือกับคณะผู้แทนสหภาพรัสเซีย จีนและฝรั่งเศส จัดการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและพบปะกับองค์กรมวลชนและวงการการเมืองฝรั่งเศสนับร้อยองค์กรเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่ดีและความตั้งใจของตน เปิดโปงการกระทำกระหายสงครามและแผนกุศโลบายทำลายของฝ่ายที่เป็นอริ ซึ่งได้มีส่วนร่วมให้รัฐบาลฝรั่งเศสต้องยอมมาตรการแก้ไขอย่างสมบูรณ์กับเวียดนามและอินโดจีน ในเอกสารฉบับต่างๆของการประชุมก็ระบุอย่างชัดเจนว่า เส้นแบ่งเวียดนามเป็นสองภาคนั้นเป็นเส้นแบ่งชั่วคราวเท่านั้นและหลังจากนั้นสองปี สองภาคของเวียดนามจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว

การประชุมเจนีวาปีคศ. 1954 – บทเรียนอันล้ำค่าของการต่างประเทศเวียดนาม - ảnh 2
ตัวแทนของเวียดนามและฝรั่งเศสลงนามในข้อตกลงยุติสงครามในเวียดนาม

แนวทางการต่างประเทศที่อิสระและเป็ตตัวของตัวเอง
การประชุมเจนีวาถูกจัดขึ้นตามความคิดริเริ่มของบรรดาประเทศใหญ่ ดังนั้นเพื่อผลประโยชน์ของตน บรรดาประเทศเหล่านี้ได้แสวงหาทุกวิธีเพื่อยัดเยียดและชักจูงเวียดนามให้ยอมรับมาตรการแก้ไขที่เอื้อประโยชน์ให้แก่พวกเขา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามได้เข้าร่วมการประชุมในฐานะเป็นผู้ชนะในสมรภูมิเดียนเบียนฟูจึงได้กำหนดเป้าหมายของการเจรจาอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนต่างเพื่อดำเนินการเจรจา เช่น เวลาเปิดและปิดการเจรจา ตลอดจนการประสานงานระหว่างทีมต่างๆในการเจรจา เป็นต้น ต่างถูกแทรกแซงจากบรรดาประเทศใหญ่ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความพยายามที่เป็นฝ่ายรุกของเวียดนามในกระบวนการเจรจา ดังนั้น บทเรียนเกี่ยวกับการยืนหยัดในเอกราชและเป็นตัวของตัวเองในการเจรจาทางการทูตในการประชุมเจนีวาเมื่อปี 1954 ยังคงเป็นบทเรียนอันล้ำค่าของเวียดนามอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
รู้จักชนะที่ละขั้นตอนและรู้จักใช้โอกาสการสนับสนุนของประชามติโลก
ในการตระหนักได้ดีถึงความสามารถของตนและผลประโยชน์ของบรรดาประเทศใหญ่ ซึ่งรวมทั้งสหภาพโซเวียตและจีน และตระหนักได้ดีถึงสถานการณ์โลก เวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงเจนีวาที่มีเนื้อหาที่ยังไม่สะท้อนชัยชนะของตนในสมรภูมิได้หมด นี่ถือเป็นตัวอย่างแห่งบทเรียนแห่งชัยชนะที่ละขั้นตอนของการต่างประเทศของเวียดนามเพื่อรักษาเป้าหมาพื้นฐานของตนคือ ประเทศใหญ่ๆต้องให้การเคารพต่อเอกราช อธิปไตย เอกภาพและบูรณภาพแห่งดินแดนของเวียดนาม  และก็เพื่อสร้างพลังใหม่และสถานะใหม่ให้แก่เวียดนามเพื่อบรรลุเป้าหมายสุดท้ายคือการปลดปล่อยประชาชาติและร่วมประเทศเป็นเอกภาพ
นอกจากนี้ การประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างการต่อสู้ทางการทูตกับการต่อสู้ทางประชามติและแสวงหาการสนับสนุนของประชาคมระหว่างประเทศเป็บบทเรียนที่ทรงคุณค่าในทุกยุคทุกสมัยของเวียดนาม ความพยายามเพื่อสนัติภาพ เอกราช เอกภาพและบูรณภาพแห่งดินแดนของเวียดนามสอดคล้องกับความปรารถนาของมนุษย์ที่ก้าวหน้า ซึ่งรวมทั้งประชาชนฝรั่งเศสที่ก้าวหน้าด้วย
60 ปีได้ผ่านพ้นไป สถานการณ์โลกและภูมิภาค พร้อมทั้งสถานะของเวียดนามได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก สันติภาพ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาได้กลายเป็นแนวโม้มและความปราถนาอันแรงกล้า แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากความซับซ้อนของสถานการณ์โลกยังคงสร้างความท้าทายไม่น้อยต่อความมั่นคงและการพัฒนาของประเทศ ดังนั้น บทเรียนจากการประชุมเจนีวายังคงมีคุณค่าต่อไปในการสร้างสรรค์สันติภาพและปกป้องประเทศเวียดนามทุกวันนี้./.

Feedback