นาย เหงวียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะผู้แทน SOM อาเซียนเวียดนาม (VGP) |
วันที่ 8 สิงหาคมปี 1967 หรือ เมื่อ 51 ปีก่อน อาเซียนได้รับการก่อตั้ง โดยมีสมาชิก 5 ประเทศ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา อาเซียนได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งจนกลายเป็นประชาคมอาเซียน รวม 10ประเทศสมาชิกที่มีสถานะนับวันสูงเด่นมากขึ้น เศรษฐกิจพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระเบียบการต่างๆได้รับการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ ตลอดจนผลักดันการเชื่อมโยงและการผสมผสานภายในกลุ่ม
ภาคภูมิใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน - รูปแบบการเชื่อมโยงในภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จ
จากการพัฒนาในระยะต่างๆ อาเซียนได้ประสบความสำเร็จมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยได้ผลักดันมให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในภาวะเผชิญหน้ามาเป็นการสนทนา จากความระแวงสงสัยกันมาเป็นความร่วมมือ จากความแตกแยกมาเป็นความสามัคคี ซึ่งความสำเร็จสูงสุดคือการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและการพัฒนา ถือเป็นจุดเด่นบนแผนที่โลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน ประชาคมอาเซียนคือองค์การใหญ่อันดับ 6 ของโลก โดยจีดีพีบรรลุเกือบ 3ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ประชาชาติต่างๆสามัคคีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ สวัสดิการสังคมได้รับการค้ำประกันและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการยกระดับให้ดีขึ้น
บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนถ่ายรูปหมู่ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ณ สิงคโปร์ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ) |
ในด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รวมถึงกับประเทศมหาอำนาจ อาเซียนเป็นฝ่ายรุกในการสนทนาและความร่วมมือ เป็นผู้ริเริ่มกลไกและฟอรั่มต่างๆในภูมิภาคและเป็นผู้เดินหน้าในการส่งเสริมการหารือในเชิงสร้างสรรค์กับหุ้นส่วนต่างๆเกี่ยวกับทุกปัญหา เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การต่อต้านการก่อการร้าย การรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ซึ่งช่วยยกระดับสถานะของอาเซียนและประเทศสมาชิกให้สูงเด่นมากขึ้นบนเวทีโลก
แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน ซึ่งสร้างความท้าทายต่างๆให้กับอาเซียนและประเทศสมาชิก นาย เหงวียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะผู้แทน SOM อาเซียนเวียดนามได้เผยว่า“ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคมีความผันผวนอย่างซับซ้อนและผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ประชาคมอาเซียนจะสามารถบรรลุเป้าหมายต่างๆที่วางไว้ได้หรือไม่ ซึ่งแม้อาเซียนจะมีสถานะและบทบาทที่สำคัญและได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก แต่จากการแข่งขันด้านยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจ เช่น ลัทธิคุ้มครองการค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อาเซียนจะสามารถธำรงบทบาทเป็นศูนย์กลางและยืดหลักปฏิบัติตามเป้าหมายและนโยบายสนับสนุนการค้าเสรีได้หรือไม่ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่อาเซียนต้องแสวงหามาตรการแก้ไข”
รัฐมนตรีช่วยเหงวียนก๊วกหยุงยังเผยว่า แม้จะมีความท้าทายมากมาย แต่อาเซียนก็สามารถบรรลุความเข้าใจร่วมและความสามัคคี ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของอาเซียนที่นำไปสู่ความสำเร็จและดึงดูดความสนใจจากประชาคมโลก“หลังการสร้างสรรค์ประชาคมในกว่า 50ปี อาเซียนได้ถอดบทเรียนเกี่ยวกับความสามัคคีและการบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา โดยได้ผลักดันการปฏิบัติกลไกที่อาเซียนเป็นผู้ริเริ่มอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้รับการชื่นชมจากประเทศต่างๆ ทำให้สถานะของอาเซียนนับวันได้รับการยกระดับให้สูงเด่นมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย”
พิธีเชิญธงอาเซียนขึั้นอยู่ยอดเสา ณ กรุงฮานอย (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ) |
มุ่งสู่การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่สามัคคีและพึ่งพาตนเอง
หลังจากเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อปี 1995 เวียดนามได้ร่วมกับประเทศสมาชิกพยายามมีส่วนร่วมพัฒนาอาเซียนมากขึ้น โดยในตลอด 23ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้สร้างนิมิตรหมายต่างๆในภารกิจการพัฒนาอาเซียนอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์โครงสร้างภูมิภาคอาเซียนที่เอกภาพ การธำรงสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและมุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของอาเซียน
หัวข้อของอาเซียนในปี 2018 คือ “สร้างสรรค์อาเซียนที่พึ่งพาตนเองและมีความสร้างสรรค์” ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากความเข้าใจร่วมของอาเซียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เช่น สถานการณ์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ปัญหาทะเลตะวันออก การก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ รวมทั้งปัญหาต่างๆด้านเศรษฐกิจ เช่น การผลักดันการเชื่อมโยงอาเซียน การลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกและแผนการจัดตั้งเครือข่ายเมืองอัจฉริยะที่เริ่มได้รับการผลักดันเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ในโอกาสฉลองครบรอบ51ปีการจัดตั้งอาเซียน จากความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ความมุ่งมั่นและความเข้าใจร่วม อาเซียนกำลังผลักดันกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคมที่สามัคคีและพัฒนาอย่างเข้มแข็งเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง.