กิจกรรมของสโมสรเพลงกาจู่ดงมนในทุกวันเสาร์ |
ที่ลานหน้าศาลาประจำหมู่บ้านดงมนที่มีต้นไม้ใหญ่นับร้อยปีตั้งอยู่ นักร้องกาจู่รุ่นใหม่จากสโมสรเพลงกาจู่ดงมนกำลังฝึกร้องและฝึกตีกลองให้เข้ากับการเล่นเครื่องเคาะจังหวะและพิณ ซึ่งสร้างภาพที่สวยงามของหมู่บ้านชนบทในภาคเหนือเวียดนาม โดยในหลายปีที่ผ่านมา สโมสรเพลงกาจู่ดงมนได้ฝึกสอนนักร้องหลายสิบคนจนกลายเป็นนักร้องเพลงกาจู่ที่มีชื่อเสียงและจุดประกายความรักศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่ในหมู่เยาวชนและยุวชน เด็กหญิงโด๊ะถิเอี๊ยนและเด็กหญิงเหงวียนกิมเงิน นักเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษาหว่าบิ่ง 2 ต่างรอคอยให้ถึงวันเสาร์เร็วเพื่อจะได้ไปเรียนการร้องเพลงทำนองกาจู่ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน
"หนูได้เรียนการร้องเพลงทำนองกาจู่มาแล้ว 3 เดือน ตอนนี้ หนูสามารถเล่นเครื่องเคาะจังหวะและร้องเพลงที่ง่ายๆได้แล้ว หนูชอบฟังการร้องเพลงกาจู่และการบรรยายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของศิลปะแขนงนี้และอยากสานต่อเกียรติประวัติที่ดีงามนี้ของหมู่บ้าน"
"หนูได้เรียนการร้องเพลงกาจู่ตั้งแต่ชั้น ป.1 โดยแม่ของหนู่สอนให้ เพลงกาจู่ไพเราะมาก บางที หนูก็ไปแสดงการร้องเพลงทำนองกาจู่กับแม่"
ศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่ถือกำเนิดขึ้นมาในหมู่บ้านดงมนเมื่อกว่า 200ปีก่อน โดยหนังสือประวัติศาสตร์ระบุว่า ผู้ที่เผยแพร่การร้องเพลงกาจู่ในหมู่บ้านดงมนคือท่าน โตเตี๊ยน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเพลงทำนองกาจู่ในอำเภอเมืองกิงมน จังหวัดหายเยือง จากความปรารถนาที่จะพัฒนาศิลปะแขนงนี้ในหมู่บ้านดงมน ท่าน โตเตี๊ยน ได้ขออนุญาตคณะเพลงทำนองกาจู่ใหญ่ๆให้อัญเชิญป้ายบูชาผู้ให้กำเนิดอาชีพการร้องเพลงทำนองกาจู่คือกษัตริย์ ดิงหยือและ เจ้าหญิงหมานเดื่องฮวาไปประดิษฐานที่วิหารฝูตื่อในหมู่บ้านดงมนและเปิดการสอนการร้องเพลงกาจู่ โดยได้อบรมนักร้องและนักเล่นเครื่องเคาะจังหวะและพิณที่มีทักษะความสามารถจำนวนมาก
ในช่วงปี 1940 ศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่พัฒนาเป็นอย่างมาก โดยมีการจัดตั้งคณะเพลงทำนองกาจู่หลายสิบคณะของครอบครัวและตระกูลต่างๆ นาย โตวันเตวียน ซึ่งเป็นหลานของท่าน โตเตี๊ยนและได้รับรางวัลนักเล่นพิณยอดเยี่ยมในการประกวดการร้องเพลงทำนองกาจู่ทั่วประเทศปี 2018 ได้เผยว่า"เมื่อก่อน ทุกครอบครัวในหมู่บ้านดงมนต่างส่งลูกหลานไปเรียนการร้องเพลงทำนองกาจู่เพื่อทำการแสดงและประกอบเป็นอาชีพ โดยเสียงเครื่องเคาะจังหวะและพิณดังกังวาลไปทั่วทุกหมู่บ้าน ส่วนศิลปินอาวุโสของหมู่บ้านได้ไปแสดงและจัดตั้งคณะเพลงทำนองกาจู่ใหญ่ๆในท้องถิ่นต่างๆ เช่น ไซ่ง่อนและกรุงฮานอย"
สมาชิกสโมสรฯ กำลังฝึกตีกลองให้เข้ากับการเล่นเครื่องเคาะจังหวะและพิณ |
แต่อย่างไรก็ตาม ศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่ในหมู่บ้านดงมนได้สูญหายและถูกหลงลืมไปบ้างในช่วงสงครามเนื่องจากชาวบ้านได้ร่วมกับประชาชนในภาคเหนือเข้าร่วมการสู้รบและการผลิต ต่อมาจนถึงช่วงปี 1992-1993 ศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่ก็ได้รับการฟื้นฟู ศิลปินอาวุโสหลายท่านได้มีส่วนร่วมสำคัญในการฟื้นฟูการร้องเพลงทำนองกาจู่ เช่น ท่านโตหงี โตถิแจ่ เหงวียนถิจิ๋น เจิ่นจ่องเกว๋และเจิ่นบ๊าสึ ซึ่งบางท่านก็ได้จากโลกนี้ไปแล้ว แต่บรรดานักร้องและนักเล่นเครื่องเคาะจังหวะและพิณรุ่นใหม่ก็มีความหลงไหลและทุ่มเทแรงกายแรงใจให้แก่การร้องเพลงทำนองกาจู่ โดยในโอกาสวันไหว้บรรพบุรุษผู้ให้กำเนิดอาชีพการร้องเพลงทำนองกาจู่ เทศกาลตรุษเต๊ตและฤดูใบไม้ผลิ มีการแสดงการร้องเพลงทำนองกาจู่และพิธีกรรมต่างๆ บริเวณลานหน้าศาลาประจำหมู่บ้านดงมน นอกจากนี้ ยังมีการร้องเพลงทำนองกาจู่ในกิจกรรมต่างๆในชุมชนและตามโรงเรียนต่างๆ นักร้องจิ่งถิหว่ายนาม ซึ่งเป็นครูสอนการร้องเพลงกาจู่ของโรงเรียนประถมศึกษาหว่าบิ่ง 1ได้เผยว่า"โรงเรียนอยู่ใกล้ศาลเจ้า จากการสนับสนุนของผู้บริหารโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางโรงเรียนได้มีกิจกรรมต่างๆ เช่น มีแผนอนุรักษ์ศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่ระดับอำเภอ ส่งเสริมให้นักเรียนแสดงการร้องเพลงทำนองกาจู่ในโอกาสวันครูเวียดนาม 20 พฤศจิกายน หรือ วันสตรีสากล 8 มีนาคม เป็นต้น"
ทั้งนี้และทั้งนั้น แสดงให้เห็นว่า ศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่ได้รับการพัฒนาในหมู่บ้านดงมนเนื่องจากมีความผูกพันใกล้ชิดกับชีวิของชาวบ้านจนกลายเป็นปัจจัยทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด การพัฒนาบุคลิกภาพและคุณค่าที่ดีงามของชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้.