ศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองท้องถิ่นแจ่วเต่าของกรุงฮานอย

To Tuan – VOV5
Chia sẻ
( VOVworld )-บนผืนแผ่นดินต๋งโก๊ย( Tong Coi )ในอดีตหรือตำบลเตินโห่ย( Tan Hoi ) อำเภอดานเฝื่อง( Dan Phuong ) กรุงฮานอยในปัจจุบันยังคงอนุรักษ์การร้องเพลงทำนองพื้นเมืองท้องถิ่นแขนงหนึ่งไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้นั่นก็คือ การร้องเพลงทำนองเต่าเตื๋องหรือแจ่วเต่า( Cheo Tau )  ผ่านระยะต่างๆทางประวัติศาสตร์มาประมาณ ๖๐๐ ปีทำนองเพลงพื้นเมืองนี้ยังคงได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเป็นมรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของที่นี่


( VOVworld )-บนผืนแผ่นดินต๋งโก๊ย( Tong Coi )ในอดีตหรือตำบลเตินโห่ย( Tan Hoi ) อำเภอดานเฝื่อง( Dan Phuong ) กรุงฮานอยในปัจจุบันยังคงอนุรักษ์การร้องเพลงทำนองพื้นเมืองท้องถิ่นแขนงหนึ่งไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้นั่นก็คือ การร้องเพลงทำนองเต่าเตื๋องหรือแจ่วเต่า( Cheo Tau )  ผ่านระยะต่างๆทางประวัติศาสตร์มาประมาณ ๖๐๐ ปีทำนองเพลงพื้นเมืองนี้ยังคงได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเป็นมรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของที่นี่
ศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองท้องถิ่นแจ่วเต่าของกรุงฮานอย - ảnh 1
งานเทศกาลร้องเพลงพื้นเมืองทำนองแจ่วเต่าต๋งโก๊ย

แต่ไหนแต่ไรมา ชาวบ้านต๋งโก๊ย ( Tong Coi ) ที่ประกอบด้วย ๔ หมู่บ้านคือ เถื่องโห่ย( Thuong Hoi ) ทุ้ยโห่ย( Thuy Hoi ) หวิงห์กี่( Vinh Ky )และฟานลอง( Phan Long ) มักจะจัดงานเทศกาลร้องเพลงพื้นเมืองท้องถิ่นทำนองแจ่วเต่าในปีที่ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การทำไร่ทำนาได้ผลดี และงานได้จัดขึ้น ณ วังวันเซิน( Van Son ) เพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของนายพลวันหยีแถ่ง( Van Di Thanh ) ที่สามารถปราบข้าศึกหมิงจากทิศเหนือราวศตวรรษที่ ๑๕  ที่มาของงานเทศกาลและศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองทำนองแจ่วเต่า ( Cheo Tau ) ของที่นี่ยังคงได้รับความสนใจศึกษาวิจัยของบรรดานักวิจัยวัฒนธรรมเวียดนามหลายท่าน นายด่าวห่า( Dao Ha ) นักวิจัยของสมาคมวัฒนธรรมพื้นเมืองฮานอยเผยว่า  “ สำหรับที่มาของเทศกาลร้องเพลงพื้นเมืองแจ่วเต่าหรือเต่าเตื๋องมีข้อมูล ๓ ชุดได้แก่ คือตั้งแต่สมัยวีระกษัตริย์สตรีพี่น้องสองพระองค์ฮายบ่าจืง( Hai Ba Trung )  สองคือ จากการเจรจาระหว่างหลีเฝิตตื่อ(Ly Phat Tu )กับเจี่ยวกวางฝุก( Trieu Quang Phuc ) และสุดท้ายคือชาวต๋งโก๊ยยกย่องเจ้าพ่อหลักเมืองวันหยีแถ่ง  แต่สิ่งที่สำคัญคือ บริเวณและบรรยากาศการจัดเทศกาลร้องเพลงพื้นเมืองทำนองแจ่วเต่าคือในพื้นที่บ้านเกิดโต๋งโก๊ยและได้รับการจัดมานับร้อยปีเพื่อให้กำเนิดทำนองพื้นเมืองที่ยอดเยี่ยมแขนงนี้

ศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองท้องถิ่นแจ่วเต่าของกรุงฮานอย - ảnh 2
งานเทศกาลร้องเพลงแจ่วเต่า

งานเทศกาลร้องเพลงพื้นเมืองทำนองแจ่งเต่าได้จัดขึ้นเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนโดยเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนอ้ายซึ่งงานจะจัดบริเวณกลางแจ้ง โดยชาวบ้านผลัดเปลี่ยนกันร้องตั้งแต่เช้าจรดดึกแล้วเลยถึงเช้าวันถัดไป งานเริ่มต้นด้วยพิธีบวงสรวงที่ศาลเจ้าวอยฝุกแล้วแห่วอไปยังศาลาประจำหมู่บ้าน  อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงการร้องเพลงพื้นเมืองทำนองแจ่วเต่าคือ ช้างไม้และเรือไม้ที่มีล้อเพื่อที่จะลากไปมาได้  ผู้ที่เข้าร่วมการแสดงเป็นผู้หญิงสวย  โดยผู้มีอายุสูงหน่อยที่สวยไม่สร่างจะสวมบทไต้ก๋งและกัปตันเรือ  ส่วนสาวสวยวัยใสตั้งแต่ ๑๓-๑๖ ปี ยืนบนเรือและควาญช้างยืนบนหลังช้างร้องประกอบ ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของชื่อทำนองเพลงพื้นเมืองนี้ว่า แจ่วเต่าหรือพายเรือ เนื้อร้องกล่าวยกย่องเจ้าพ่อหลักเมืองวันหยีแถ่ง  นอกจากการร้องเพลงแล้ว ภายในงานยังมีการจัดการแข่งขันต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเล่นหมากรุก การแข่งหุงข้าวและโล้ชิงช้า ข้อมูลจากบรรดานักวิจัยปรากฎว่า  งานเทศกาลร้องเพลงพื้นเมืองแจ่วเต่าถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๑๖๘๓ แต่เนื่องจากงานจัดขึ้นหลายวันและมีคนเข้าร่วมจำนวนมากถึง ๒๐๐ คน การฝึกทุกอย่างก็ต้องใช้เวลา ดังนั้นงานจึงได้รับการจัดขึ้นทุกๆ ๒๕ ปีเท่านั้น  ปี๑๙๙๘ เมื่อโบราณสถานสองแห่งคือศาลเจ้าวอยฝุกและวังวันเซินได้รับรองให้เป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ งานเทศกาลจึงได้รับการฟื้นฟูจัดเป็นประจำทุกปีภายหลังถูกทิ้งช่วงมาเป็นเวลา ๗๖ ปี แต่งานจะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับเมื่อก่อน  คุณโงถิ่ทู หัวหน้าสโมสรณ์แจ่วเต่า ตำบลเตินโห่ยกล่าวถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองแขนงนี้ว่า  “ พวกเรากับเจ้าหน้าที่สถานวัฒนธรรมต่างๆได้ไปถึงบ้านของช่างศิลป์อาวุโสเพื่อบันทึกทำนองเพลงโบราณ  ซึ่งเราฝึกร้องเพลงบางบทได้เท่านั้น นี่ถือเป็นก้าวเดินเริ่มต้นซึ่งต่อไปจำเป็นต้องพึ่งความช่วยเหลือจากบรรดานักวิจัย

ศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองท้องถิ่นแจ่วเต่าของกรุงฮานอย - ảnh 3
เด็กเตรียมร่วมงาน

สโมสรณ์ร้องเพลงทำนองแจ่วเต่า ตำบลเตินโห่ยได้รับการก่อตั้งเมื่อปี ๑๙๙๘ ด้วยสมาชิก ๕๐ คน ซึ่งเป็นสาววัยตั้งแต่ ๑๘ – ๒๐  โดยได้จัดการฝึกร้องเพลงทำนองแจ่วเต่า แต่ละห้องเรียนมีประมาณ ๓๕ คน ซึ่งเป็นครูจากโรงเรียนอนุบาลและนักเรียนหญิงจากโรงเรียนมัธยมต้น  การส่งเสริมให้กำลังใจของทางการท้องถิ่นและการสนับสนุนด้านการเงินของฝ่ายจัด มีเด็กหญิงนับสิบคนได้เข้าร่วมการฝึกร้องเพลงที่สโมสรเป็นประจำทุกคืน  ครูและเด็กนักเรียนเหล่านี้จะเป็นคนเผยแพร่เพลงพื้นเมืองท้องถิ่นแจ่วเต่าต่อไปให้แก่นักเรียนของหมู่บ้านตำบลตนและท้องถิ่นใกล้เคียง  โดยทางสโมสรได้ฝึกร้องเพลงให้เด็กๆประมาณ ๑,๐๐๐ คนและสะสมเพลงพื้นเมืองท้องถิ่นทำนองแจ่วเต่าได้ ๓๐ บทรวมทั้งทำนองโบราณเช่น แซจิ๋หล่วนกีมหรือทอด้ายสอดเข็ม  โก๋เกียวบาเงิ้นหรือคอยาวสามท่อนและรังแดนห่าตเดิ่วหรือฟันดำสีถั่วดำ ซึ่งเป็นทำนองเฉพาะถิ่นต๋งโก๊ย  เพลงพื้นเมืองท้องถิ่นทำนองแจ่วเต่าของเตินโห่ยได้กลายเป็นอาหารทางใจของชาวตำบลเตินโห่ยที่ขาดมิได้จนถึงปัจจุบัน ./.


Feedback