( VOVworld )-เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาถึง ๑๒ ปี ปีนี้วันกลอนเวียดนามได้รับการจัดขึ้นตรงกับช่วงเทศกาลเงวียนเตียวหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนอ้ายพร้อมกับงานเทศกาลแห่งวสันต์ฤดูหลายกิจกรรม วันกลอนปีนี้เป็นปีที่ ๑๓เพื่อประชาสัมพันธ์และยกย่องผลงานกับความสวยงามของกลอนและวัฒนธรรมเวียดนาม วันกลอนเวียดนามได้มีขึ้นระหว่างวันที่ ๒ – ๖ มีนาคม ซึ่งเป็นไฮไลท์ของกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศและคนเวียดนามให้แก่ชาวโลก สิ่งใหม่ๆในงานวันกลอนเวียดนามครั้งนี้คือ มีกวีจากกว่า ๔๐ ประเทศเข้าร่วม นี่เป็นโอกาสพบปะระหว่างกวีเวียดนามกับกวีต่างชาติเพื่อดื่มด่ำกับบรรยากาศการขับเสภาของกวีต่างชาติ
งานเปิดวันกลอนเวียดนามครั้งที่ ๑๓
มีการจัดวันกลอนเวียดนามในสถานที่กว่า ๑๐๐ แห่งทั่วประเทศ แต่วันกลอนเวียดนามที่จัดขึ้น ณ เขตโบราณสถานวันเมี้ยว-ก๊วกตื่อย้าม กรุงฮานอย มีความพิเศษเพราะมีกวี นักแปลและนักเขียนที่มีชื่อเสียงจาก ๔๓ ประเทศและดินแดนเข้าร่วม ซึ่งรวมทั้งนายกสมาคมนักเขียนบางประเทศด้วย กวีฮิวถิ่ง นายกสมาคมวรรณกรรมเวียดนามเปิดเผยว่า “ พวกเขาเป็นบุลคลที่มีชื่อเสียงและมีความรู้อย่างลึกซึ้ง พวกเขาพบปะกับพวกเราด้วยการแลกเปลี่ยนบทกวีด้วยน้ำใจของตน พวกเขาได้ยกย่องวิถีชีวิตของคนเวียดนาม ยกย่องสถานะและบุคลิกแห่งวีรกรรมของคนเวียดนามในสงคราม ตลอดจนยกย่องเวียดนามว่าเป็นประเทศที่รักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างลึกซึ้ง พวกเขาสนับสนุนประชาชนเวียดนามในการสร้างสรรค์และพิทักษ์มาตุภูมิ นับเป็นครั้งแรกที่พวกเราสามารถจัดงานที่มีนักเขียนภายในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ”
วันกลอนเวียดนามปีนี้มีหัวข้อ “ มุ่งสู่ทะเลและเกาะแก่งของมาตุภูมิ ” งานเปิดขึ้นด้วยการขับกลอน “ เสียงเพรียกของแม่คือมาตุภูมิ ” ของกวีเหงวียนเวียดเจี๊ยน
สียงเพรียกจากแม่คือมาตุภูมิที่กล่อมลูกตั้งแต่ในครรภ์
ผ่านชีวิตที่โชกโชนท่านเลี้ยงเราให้โตขึ้น
มาตุภูมิคือเมฆขาวบนเทือกเขาเจื่องเซิน
ที่บุตรได้สละเลือดเนื้อเพื่อความคงอยู่ของประเทศ
วันกลอนปี ๒๐๑๕ นี้แบ่งเป็นโซนกลอนอมตะและกลอนสากลเพื่อให้กวีต่างชาติมีโอกาสแสดงผลงานของตนและพบปะกับกวีเวียดนาม โดยกวีหญิง นีวา มูโกวา ชาวสโลวาเกียได้อ่านกลอน ๓ บทที่แต่งเป็นภาษาเวียดนาม กวีอิทรา โวสซู ชาวแอฟริกาใต้ กวีกราฮาม มอร์ท ชาวอังกฤษ กวีมาร์ธา คอลลินชาวอเมริกันและกวีเบอร์เน ซามบูนชาวมองโกเลียได้อ่านบทกวีล่าสุดของตนเกี่ยวกับเวียดนามและประชาสัมพันธ์ประเทศตนให้แก่บรรดาชาวเวียดนามที่หลงไหลในบทกลอน กวีนีวา มูโกวาคุยว่า “ บรรยากาศพิเศษมาก ดิฉันรู้สึกบอกไม่ถูก นักเขียนต่างชาติอ่านบทกวีของตน ดิฉันชอบที่พวกเขาอ่านด้วยภาษาแม่ของพวกเขาเพราะดิฉันรู้สึกถึงจังหวะภาษาของแต่ละประเทศ ดิฉันชอบกลอนเวียดนามากจนเริ่มแต่งกลอนด้วยภาษาเวียดนาม ”
กวีต่างชาติขับกลอน
ภายในงานยังมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเวียดนามกับวัฒนธรรมหลายประเทศ ส่วนนักเขียนและกวีได้กลายเป็นทูตสันถวไมตรี นี่เป็นโอกาสให้ชาวโลกเข้าใจกลอนเวียดนามมากขึ้น กวีเจเก มารินาช ชาวอเมริกัน กล่าวถึงความรู้สึกของตนหลังจากฟังกวีเวียดนามขับกลอนของตนเอง “ วรรณกรรมและกลอนเวียดนามมีความโดดเด่นพิเศษที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ บทกลอนของเวียดนามแฝงไว้ซึ่งความไพเราะ ความงาม ความละเอียดและความนิ่มนวล ที่เราสามารถสัมผัสได้ โดยกวีเวียดนามใช้วิธีเปรียบเปรยอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ธรรมชาติ คนและความรักได้ช่วยสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ดังกล่าว ”
แม้จะอยู่ไกลทางภูมิศาสตร์ แต่บทกลอนมีพลังวิเศษที่ผูกพันคนเรา ดังนั้นการที่ได้เข้าร่วมวันกลอนเวียดนามจึงเป็นอนุสรณ์ที่น่าจดจำของกวีต่างชาติ กวีและนักเขียนนาเซอร์ ฟลาอิห์ ฮาสซาน ชาวอิรักเปิดเผยว่า “ ผมรู้สึกมีความสุขที่ได้เข้าร่วมงาน เวียดนามเป็นประเทศที่สวยงาม ระบำเพื้นบ้านดีมากๆและธรรมชาติสมบูรณ์ ผมได้พบปะกับคนที่มีอัธยาสัยดี ผมมีไอเดียมากมายเกี่ยวกับคนและกลอนเวียดนาม ผมเข้าใจว่า กลอนมีความสำคัญยิ่งต่อคนเวียดนาม ผมมีบทกลอนชุดหนึ่งของเวียดนาม เมื่อกลับประเทศผมจะอ่านบทกลอนเหล่านี้เพราะผมชอบบทกวีเวียดนาม ”
ภายในงานยังมีกิจกรรมต่างๆเช่น นิทรรศการแลกเปลี่ยนวรรณกรรมต่างชาติ ผลงานวรรณกรรมเวียดนามที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศและตีพิมพ์ในต่างประเทศ บูธจัดแสดงหนังสือของสำนักพิมพ์ภายในประเทศและถนนแห่งศิลปะโดยมีสโมสรกลอน ๓๐ แห่งจากท้องถิ่น ๘ แห่งและ๖ มหาวิทยาลัยในพื้นที่นครหลวงเข้าร่วม กวีฮิวถิ่งเห็นว่า “ พวกเราเปิดประตูสู่โลก พวกเราเปิดประตูรับวัฒนธรรมของโลก และถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องส่งวัฒนธรรมสู่โลกและประชาสัมพันธ์ให้แก่คุณค่าของเรา พวกเราจัดกิจกรรมนี้เพื่อประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมเวียดนามที่เป็นเอกลักษณ์ พวกเราต้องทำมากขึ้น โดยผ่านวรรณกรรมเพื่อให้ชาวโลกเข้าใจประเทศ คนและวัฒนธรรมเวียดนามที่ได้เติมแต่งความสวยงามให้แก่วัฒนธรรมโลก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนั้นช่วยให้เราเรียนรู้วัฒนธรรมที่ดีเลิศของโลกเพื่อพัฒนากลอนให้มีความไพเราะมากขึ้นและทันกับโลกด้วย ”
แม้ฝนตกแต่มีผู้เข้าร่วมงานอย่างหนาแน่น
ในโอกาสนี้ สมาคมนักเขียนเวียดนามได้ตีพิมพ์ผลงานกลอนชุดหนึ่งที่มีชื่อว่า “ ความปรารถนาแห่งสันติภาพ ” รวมบทกวี ๑๐๘ บทของกวีเวียดนามใน ๑๐ ศตวรรษที่สร้างสรรค์และพิทักษ์ประเทศ หนังสือกลอนชุดนี้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้กวี นักวิจัยและสำนักพิมพ์ต่างชาติเข้าใจจิตใจแห่งเอกราชและความปรารถนาของคนเวียดนามที่จะได้อยู่ในสันติภาพ ./.