คำภีร์พระไตรปิฏกที่ทำจากไม้ของวัดหวิงเงียมมรดกทางข้อมูลของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก

Lan Anh -VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)- เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมองค์การวิทยาศาสต์การศึกษาและวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือองค์การยูเนสโก ที่กรุงเทพฯประเทศไทยได้รับรองคำภีร์พระไตรปิฏกที่ทำจากไม้ของวัดหวิงเงียมจังหวัดบั๊กยางเป็นมรดกทางข้อมูลของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก  ซึ่งนับเป็นมรดกชุดที่ ๓ ของเวียดนามต่อจาก...

(VOVworld)- เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมองค์การวิทยาศาสต์การศึกษาและวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือองค์การยูเนสโก ที่กรุงเทพฯประเทศไทยได้รับรองคำภีร์พระไตรปิฏกที่ทำจากไม้ของวัดหวิงเงียมจังหวัดบั๊กยางเป็นมรดกทางข้อมูลของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก  ซึ่งนับเป็นมรดกชุดที่ ๓ ของเวียดนามต่อจากบันทึกประวัติศาสตร์ของราชวงศ์เหงวียนที่ทำจากไม้และศิลาจารึกในวันเหมียว – ก๊วกตึ๋ย้ามหรือวิหารวรรณคดี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเวียดนามที่ได้รับการรับรองจากองค์กรยูเนสโก  อีกทั้งนับเป็นคำภีร์พระไตรปิฏกชุดหนึ่งไม่มีสองของพุทธศาสนานิกายเถี่ยนเหวียนจุ๊กเลิม ซึ่งเป็นพุทธศาสนานิกายเฉพาะของเวียดนาม  จากเนื้อไม้สามารถเดาได้ว่าคำภีร์ชุดเก่าแก่ที่สุดนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๓ ๑๔ และ ๑๕ และชุดล่าสุดปรากฎตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๒๐  

คำภีร์พระไตรปิฏกที่ทำจากไม้ของวัดหวิงเงียมมรดกทางข้อมูลของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก - ảnh 1
แผ่นคำภีร์พระไตรปิฏกเป็นมรดกทางข้อมูลของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก  
(Photo internet)

ตามบันทึกโบราณของเวียดนามได้ระบุไว้ว่า วัดหวิงเงียมได้รับก่อสร้างขึ้นในสมัยราชวงค์หลีศตวรรษที่ ๑๑  ถึงสมัยราชวงค์เจิ่นราวศตวรรษที่ ๑๓ พระสงฆ์ผู้สร้างพุทธศาสนานิกายเถี่ยนเหวียนจุ๊กเลิม ๓ รูปคือ เจิ่นเญินตง  ฟาบลวาและเหวี่ยนกวาง ได้ทำการขยายวัดเป็นโรงเรียนสงฆ์   พระทิ๊กแทงติ๋ง รองเจ้าอาวาสวัดหวิงเงียมเเปิดเผยว่า วัดหวิงเงียมมีวัตถุโบราณที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นจำนวนมากได้แก่ พระพุทธรูปกว่า ๑๐๐ องค์  ศิลาจารึก ๗ แผ่น โดยเฉพาะแผ่นไม้คำภีร์พระไตรปิฏกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม  “ เนื่องจากเป็นศูนย์การฝึกอบรมพุทธศาสนาในสมัยราชวงค์เจิ่น ดังนั้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๑๕ ณ ที่นี่ได้มีการพิมพ์และแกะสลักคำภีร์บนแผ่นไม้ ปัจจุบันยังมีแผ่นไม้คำภีร์กว่า ๓๐๐๐ แผ่นที่บันทึกพระธรรมคำสอนที่กำลังได้รับการอนุรักษ์  แผ่นคำภีร์เหล่านี้ได้วางบนฐาน ๗ แห่ง ที่มีคุณค่าด้านสาระและศิลปะการแกะสลักไม้ที่ประณีตของสมัยราชวงค์เจิ่น เลและเหงียน ”

แผ่นคำภีร์พระไตรปิฏกกว่า ๓๐๐๐ แผ่นบันทึกเกี่ยวกับแนวคิดพุทธศาสนามหายานของพระสงฆ์ผู้สร้างพุทธศาสนานิกายเถี่ยนเหวียนจุ๊กเลิมของเวียดนามคือ พระเจิ่นเญินตง ฟาบลวา และเหวี่ยนกวาง  นักวิชาการเห็นว่า นี่เป็นคำภีร์ไม้เกี่ยวกับพระไตรปิฏกชุดเดียวไม่มีสองที่ยังได้รับอนุรักษ์ของพุทธศาสนานิกายเถี่ยนเหวียนจุ๊กเลิมซึ่งเป็นพุทธศาสนาเฉพาะของเวียดนาม ซึ่งก็นับเป็นจุดเด่นที่ทำให้องค์การวิทยาศาสตร์การศึกษาและวัฒนธรรมหรือยูเนสโกให้การรับรองคำภีร์ไม้ชุดนี้เป็นมรดกของโลก  การกำเนิดพุทธศาสนานิกายเถี่ยนเหวียนจุ๊กเลิมในศตวรรษที่ ๑๓ ไม่เพียงแต่เป็นเหตุการณ์ที่มีความหมายอันยิ่งใหญ่ของเวียดนามเท่านั้น หากยังมีอิทธิพลต่อภูมิภาคและโลกด้วย  ซึ่งจุดเด่นของพุทธศาสนานี้คือจิตใจเป็นตัวของตัวเอง ไม่อาศัยอำนาจของไสยศาสตร์ มองชีวิตในทางที่ดีและยอมรับกฎแห่งธรรมชาติ  แนวคิดของพุทธศาสนานิกายเถี่ยนเหวี่ยนจุ๊กเลิมเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงการแปรพุทธศาสนาของอินเดียและจีนเป็นของเวียดนามได้อย่างดียิ่ง  ผู้อำนวยการพิพิธภัณย์จังหวัดบั๊กยางนาย เจิ่นวันหลาง กล่าวว่า “ มีวัดหลายแห่งเช่น โบ่ด่าและเวินห่าที่ยังอนุรักษ์ชุดคำภีร์ไม้ธรรมดา แต่ไม่มีคำภีร์พระไตรปิฏกนิกายเถี่ยนเหวี่ยนจุ๊กเลิม นับเป็นการยืนยันว่าเมื่อพุทธศาสนานิกายนี้ถือกำเนิดขึ้นมาต้องมีพระธรรมคำสอนเฉพาะของตนและบันทึกชุดนี้เพื่อเผยแพร่ให้แก่พุทธศาสนิกชน  กว่าที่จะได้บันทึกคำภีร์ไม้ชุดนี้บรรพบุรุษต้องศึกษาไตรปิฏกของอินเดียและจีน นับเป็นพื้นฐานของพระไตรปิฏกที่เป็นเอกลักษณ์ของเวียดนาม แนวคิดของท่านเจิ่นเญินตงคือ การฝึกจิตใจให้เป็นพระฝึกฝนตนเองเพื่องานส่วนรวมโดยไม่ต้องบวชที่วัดหรือสถาบัน ซึ่หมายความว่าต้องเป็นคนดีในครอบครัวในชุมชนของตนเองมาก่อน ”

คำภีร์พระไตรปิฏกที่ทำจากไม้ของวัดหวิงเงียมมรดกทางข้อมูลของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก - ảnh 2
แผ่นไม้คำภีร์ได้รับแกะสลักตัวอักษรฮั่นและนม
(Photo internet)

ไม้ที่ใช้ในการแกะสลักคำภีร์เป็นไม้จันทน์ที่ปลูกในวัด  ไม้ชนิดนี้เหมาะแก่การแกะสลักและทนกับกาลเวลา  แผ่นไม้คำภีร์ได้รับแกะสลักตัวอักษรฮั่นและนมหรือเป็นแม่พิมพ์ที่สวยงามประณีตที่มีอายุหลายร้อยปี บางแผ่นได้แกะสลักภาพประกอบในบริบทที่ลงตัว นักวิจัยศึกษาภาษาฮั่นนมและเป็นรองผู้อำนวยการพิพิทธภัณย์จังหวัดบั๊กยางนายเหงวียนวันฟองกล่าวว่า “ ที่เวียดนามมีค่ายช่างแกะสลักน้อยมากนักที่จะทำการแกะสลักคำภีร์ไม้ชุดนี้ ซึ่งค่ายที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ที่จังหวัดห่ายเยือง  ณ ที่นั่นมีหนังสือแกะสลักต้นฉบับที่ช่างฝีมือดีสามารถแกะสลักตัวอักษร ๔ – ๕ ตัวโดยใช้พื้นที่บนเนื้อไม้เพียง๑.๒ซม.  ซึ่งช่างที่ทำอาชีพนี้ต้องเก่งในด้านอักษรศาสตร์  และมีใจรักอาชีพด้วย มีค่ายหลายแห่งประกอบอาชีพนี้แต่หนังสือทุกชุดต่างถูกต้องตามมาตรฐาน ”

การแกะสลักตัวอักษรบนแผ่นไม้ต้องใช้เวลาเกือบ๑๐๐ ปีและได้รับการสืบทอดผ่านเจ้าอาวาสของวัดถึง ๕๙ รูป  เนื่องจากการแกะสลักบนไม้แผ่นเดียวสำหรับช่างฝีมือดีต้องใช้เวลากว่า ๒ เดือน และกว่าจะได้คำภีร์ชุดกิงฮวาเงียมของรัชกาลกษัตริย์ตื่อดึกปี ๑๘๘๔ ที่มีทั้งหมด ๒๐๐ แผ่นต้องใช้เวลากว่า ๗๐ ปี  คำภีร์พระไตรปิฏกแต่ละชุดเป็นผลงานการแกะสลักที่ประณีตสวยงามแสดงถึงความสามารถของช่างชาวเวียดนามสมัยโบราณ ซึ่งนับเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะการแกะสลักไม้ของเวียดนามในสมัยรางวงค์เลและเหงวียน./. 

Feedback