( VOVworld )- งานเทศกาลที่อลังการด้วยแสงสีเสียง บรรยากาศที่คึกคักและวัฒนธรรมพื้นเมืองอันหลากหลายคือความรู้สึกและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่ร่วมงานเฟติวัลเว้ เฟสติวัลเว้ได้กลายเป็นกิจกรรมวัฒนธรรมที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและศิลปินนานาประเทศ โดยเฟสติวัลเว้ ๒๐๑๔ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมามีถึง ๖๘ คณะศิลปะจาก ๕ ทวีปเข้าร่วม ณ ผืนดินแห่งราชธานีเก่าเว้ ทำให้เว้กลายเป็นสถานที่พบปะและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากหลายแห่ง
การแสงตามถนนของคณะศิลปะต่างประเทศ
เฟสติวัลเว้ ๒๐๑๔ มีขึ้นเป็นเวลา ๙ วันตั้งแต่วันที่ ๑๒-๒๐เมษายน ได้นำบรรยากาศที่คึกคักไปด้วยแสงสีเสียงและรายการแสดงศิลปะต่างๆมาสู่เว้ที่เงียบสงบ โดยคณะศิลปะของเวียดนามและต่างประเทศได้แสดงศิลปะพื้นเมืองของประเทศตนบนเวทีในบริเวณพระวังชั้นในซึ่งเป็นศูนย์กลางของงาน แสดงบนเวทีกลางแจ้งตามถนนสายหลักต่างๆ ตามชนบทและเขตที่ห่างไกลความเจริญของเว้
๖๘คณะศิลปะต่างประเทศซึ่งในนั้นมีคณะศิลปะที่มีชื่อเสียงระดับโลกเช่น คณะศิลปะบาติ-ฮอลิกจากอดีตราชธานีเกียวโตประเทศญี่ปุ่น คณะศิลปะพื้นเมืองกูกาคแห่งชาติของสาธารณรัฐเกาหลีและคณะนักบัลเลต์พื้นเมืองกัวยาลาจาราได้แสดงการระบำพื้นเมือง การเต้นรำที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติและเพลงพื้นเมือง ซึ่งล้วนดึงดูดใจนักท่องเที่ยวและชาวบ้าน แม้กระทั่งศิลปินที่เข้าร่วมงานอีกด้วย แดนเซอร์ คริสเตียน อานเดรสส์ จากคณะศิลปะลอส อานเดส ประเทศชิลีเปิดเผยว่า “ พวกเราแสดงรายการศิลปะที่เป็นวัฒนธรรมพื้นเมืองและการร่ายรำพื้นเมืองของประเทศชิลี ดังนั้นพวกคุณได้ชมท่ารำและการร่ายรำของพวกเราโดยตรง พวกเราพยายามแสดงเท่าที่จะทำได้เพื่อผู้ชมชาวเวียดนามที่ได้สงวนน้ำใจให้แก่พวกเรา ปีนี้มีคณะศิลปะจากประเทศลาตินอเมริกาหลายคณะเช่น ชิลีและโคลัมเบีย นอกจากแสดงแล้ว พวกเรายังได้เรียนรู้หลายอย่างจากคณะศิลปะประเทศอื่นๆด้วย ”
ส่วนคณะร้องเพลงพื้นเมืองแจ่วจังหวัดฟู้เถาะได้แสดงการ้องเพลงทำนองซวานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก นายโงมินห์ตว้านหัวหน้าคณะร้องเพลงพื้นเมืองแจ่วฟู้เถาะเปิดเผยว่า “ งานเทศกาลเฟสติวัลเป็นโอกาสให้พวกเราได้สัมผัสกับวัฒนธรรมพื้นเมืองและโดดเด่นของโลกและของกรุงเก่าเว้ พวกเราได้เรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคและแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปใช้ในการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมนามธรรมพื้นเมืองที่มีคุณค่าเช่นการร้องเพลงทำนองพื้นเมืองซวานของบ้านเรา ”
อำลาเพื่อนๆต่างประเทศในพิธีปิดงาน
ที่เวทีดนตรีสมัยใหม่ได้นำความร้อนแรงและสดใสมาให้แก่งานเฟสติวัล อีกทั้งมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของชาติต่างๆด้วย ศิลปินเกรตตา เคลลี่ สมาชิกแบนด์ดิปบลู จากออสเตรเลียคุยกับพวกเราว่า “ พวกเราเลือกดนตรีที่มีเอกลักษณ์ของเอเชียและเพลงเวียดนาม ๑ บทเพลงนั่นคือ หลีเหงือะโอหรือเพลงเกี่ยวกับม้าดำมาแสดงในงาน ดิฉันรู้สึกประทับใจและชอบเพลงหลีเหงือะโอเพราะเป็นเพลงพื้นเมืองของเวียดนามและผมเคยร้องเพลงนี้เมื่อปีค.ศ.๑๙๗๐ ดิฉันฝึกร้องเพลงนี้ผ่านการใช้ซอฟต์แวร์แกะเพลงเพื่อฝึกทำนองและจังหวะ ผมชอบเพลงพื้นเมืองของเวียดนาม ”
งานเฟสติวัลเว้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี๒๐๐๐และมีกว่า ๓๐ คณะศิลปะของเวียดนามและฝรั่งเศสเข้าร่วมเท่านั้น และงานเฟสติวัลปีนี้ตัวเลขคณะเข้าร่วมงานได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ท่านวาเลริว อาร์เตนนี เอกอัครราชทูตโรมาเนียประจำเวียดนามเห็นว่า ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เฟสติวัลเว้ได้ดึงดูดใจชาวต่างประเทศจำนวนมาก อีกทั้งสะท้อนนโยบายพัฒนาความสัมพันธ์กับหลายฝ่ายอย่างหลากหลายรูปแบบไม่เฉพาะในด้านการเมืองเท่านั้น หากในด้านวัฒนธรรมอีกด้วย ท่านวาเลริว อาร์เตนนีกล่าว“ การเข้าร่วมของคณะศิลปะจากประเทศต่างๆมากเป็นประวัติการณ์ มีหลายคณะจากทวีปที่แสนไกลเช่น ลาตินอเมริกาและยุโรป ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมระหว่างเวียดนามกับประเทศเหล่านี้กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว และวัฒนธรรมเวียดนามก็เข้าสู่ประเทศดังกล่าวมากขึ้น เวียดนามถือได้ว่ามีวัฒนธรรมที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์จึงได้รับความสนใจจากนานาประเทศมากขึ้น
พิธีปิดงานเฟสติวัลเว้๒๐๑๔
เฟสติวัลเว้นับวันกลายเป็นเวทีสำหรับคณะศิลปะนานาประเทศและเมื่องานเสร็จสิ้นลงพวกเขาต่างรู้สึกอาลัยอาวรณ์ที่ไม่อยากลาจากกันและลาจากเมืองเว้ด้วย ./.