การระบำบ๊าตเหยิตจังหวัดท้ายบิ่นห์

Lan Anh –VOV5
Chia sẻ

( VOVworld )-ระบำชาววังหรือระบำบ๊าตเหยิตของตำบลอานเค อำเภอกวิ่งฝู่ จังหวัดท้ายบิ่นห์มักถูกนำมาแสดงโดยชาวบ้านในโอกาสเทศกาลต้นปี  ระบำบ๊าตเหยิตปรากฎในตำบลอานเคมาหลายร้อยปี แต่เพิ่งได้รับการฟื้นฟูมาและแสดงเมื่อวสันต์เวียนมาได้กว่า ๑๐ ปี



( VOVworld )-ระบำชาววังหรือระบำบ๊าตเหยิตของตำบลอานเค อำเภอกวิ่งฝู่ จังหวัดท้ายบิ่นห์มักถูกนำมาแสดงโดยชาวบ้านในโอกาสเทศกาลต้นปี  ระบำบ๊าตเหยิตปรากฎในตำบลอานเคมาหลายร้อยปี แต่เพิ่งได้รับการฟื้นและแสดงเมื่อวสันต์เวียนมาได้กว่า ๑๐ ปี
การระบำบ๊าตเหยิตจังหวัดท้ายบิ่นห์ - ảnh 1
การระบำบ๊าตเหยิต

ระบำบ๊าตเหยิตหรือระบำชาววังมักถูกจัดแสดงในยามประเทศสงบสุขและชีวิตของประชาชนมีความอิ่มหนำ  ระบำบ๊าตเหยิตแบบชาววังมีนักเต้น ๖๔ ชีวิต แบ่งเป็น ๘ แถว แถวละ ๘ คนจึงเรียกระบำประเภทนี้ว่า บ๊าตเหยิต    เนื่องจากระบำบ๊าตเหยิตถูกหลงลืมมาหลายสิบปี  ชาวบ้านอานเคต้องทุ่มเทแรงกายและเวลาเพื่อค้นหาผู้อาวุโสของหมู่บ้านที่เคยเข้าร่วมคณะระบำบ๊าตเหยิตโบราณ  จนถึงปัจจุบันนี้ ชาวบ้านวัยกลางคนล้วนสามารถร่ายรำบ๊าตเหยิตและต่างรอคอยงานเทศกาลอย่างใจจดใจจ่อเพื่อที่จะได้เข้าร่วมการแสดงระบำชาววังโบราณ  คุณป้าโด่ถิ่ถิ่ง อายุ ๗๓ ปี ที่เข้าร่วมการสอนร่ายรำบ๊าตเหยิตให้แก่ลูกหลานของหมู่บ้านเปิดเผยว่า  “ ดิฉันเข้าร่วมคณะระบำบ๊าตเหยิตเมื่ออายุ ๑๔ ขวบ  และไม่ได้รำมาหลายปีแล้ว  ครูสอนระบำให้แก่พวกเราปัจจุบันอายุสูงมากแล้ว  ที่นี่มีครูอาวุโสสองท่านแต่ท่านหนึ่งได้จากเราไปแล้ว  เดี๋ยวนี้ชาวบ้านที่สามารถรำบ๊าตเหยิตมีไม่กี่คน

คุณป้าถิ่งเผยต่อไปว่า  การระบำบ๊าตเหยิตมีหลายชุด ดังนั้นต้องฝึกก่อนการแสดงประมาณ ๒ เดือน   พวกเราต้องฝึกเข้มและเมื่อมีเวลาว่างก็ต้องฝึก  “ การรำบ๊าตเหยิตมี ๔ ชุด โดยชุดแรกคือ การลากตัวอักษร ชุดต่อไปคืออันเชิญดอกไม้เพราะได้รับชัยชนะ ชุดที่ ๓ คือ การร่ายรำพื้นเมือง และชุดสุดท้ายคือ การระบำชุดของนางฟ้า  การระบำชาววังมี ๓๒ คนส่วนการระบำพื้นเมืองมี ๑๖ คน  เมื่อเป็นเด็กจะมีเวลาเรียนมากกว่า

สมัยโบราณ การระบำบ๊าตเหยิตแสดงโดยสาวโสด หน้าตาสวยและเป็นแม่ศรีเรือน แต่ปัจจุบัน นักแสดงเป็นสาววัยกลางคนของตำบลอานเค  คุณด่วานถิ่ฮวา อายุ ๕๔ ปีเปิดเผยว่า  ที่หมู่บ้านเปิดสอนระบำบ๊าตเหยิตให้แก่เด็กรุ่นใหม่หนึ่งชั้นเรียนเท่านั้นเพราะพวกเขาต้องเรียนหนังสือและทำงาน  ส่วนการแสดงนั้นโดยชาวบ้านวัยกลางคนเข้าร่วม  “ การระบำบ๊าตเหยิตมีมานานแล้วประมาณกว่าร้อยปี ตั้งแต่รุ่นปู่ทวดก็มีการรำประเภทนี้แล้ว แต่มันค่อยๆถูกหลงลืมตามกาลเวลา  พวกเรารื้อฟื้นระบำบ๊าตเหยิตมากว่า ๘ ปีและทำการรำเป็นประจำ  พวกเราจัดสอนระบำนี้สองชั้นเรียนได้แก่ ชั้นสำหรับเด็กรุ่นใหม่และชาวบ้านวัยกลางคน  คณะของพวกเรามีการฝึกตลอดโดยไม่ว่างเว้น ส่วนเด็กๆนั้นต้องเรียนหนังสือ

คุณฮวาเป็นชาวบ้านน้อยคนนักที่สามารถร้องเพลงประกอบการรำบ๊าตเหยิต  โดยเนื้อร้องเป็นคำโบราณและได้สืบสานต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า  เพลงบ๊าตเหยิตมีทำนองและจังหวะไม่เหมือนการร้องเพลงพื้นเมืองแจ่วที่คล้ายๆลำตัดของไทยหรือทำนองการร้องเพลงอำลาผู้ที่เสียชีวิต คุณฮวาบอกว่า เขาอยากถ่ายทอดการร้องเพลงบ๊าตเหยิตให้แก่คนรุ่นใหม่แต่ยังหาคนที่สามารถร้องได้ไม่เจอ

การระบำบ๊าตเหยิตจังหวัดท้ายบิ่นห์ - ảnh 2
หมวกสวมใส่ของนางรำบ๊าตเหยิตก่อนหน้านี้ ๒๕ ปี 

เมื่อเสียงเพลงจบลง นายเหงวียนซุยเล่าต่อว่า การหาคนที่มีความสามารถในการ้องเพลงบ๊าตเหยิตนั้นยากเท่าไหร่ การหาคนรู้จักเล่นเครื่องดนตรีประกอบก็ยิ่งยากกว่า  นายซุยเป็นนักเล่นเครื่องดนตรีอาวุโสของคณะดนตรีบ๊าตเหยิต “ วงดนตรีใช้เครื่องดนตรี ๓ ชิ้นได้แก่ ฉาบ กลองและกรับเท่านั้น แต่เมื่อเพลงบรรเลงขึ้นพร้อมกับการร่ายรำที่ประสานกันจนทำให้การแสดงน่ารับชมมากขึ้น  การเล่นเครื่องดนตรีเหล่านี้คนธรรมดาสามารถทำได้ไม่ยาก แต่เล่นอย่างมีศิลปะนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งก็เช่นเดียวกับการร้องเพลงบ๊าตเหยิตที่ต้องมีศิลปะแห่งความเป็นโบราณเพื่อทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกเบื่อ ทั้งนี้คือความสามารถของผู้ร้องที่ทำให้การระบำโบราณประเภทนี้จะได้รับการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่นตลอดไป

การแต่งกายของนางรำบ๊าตเหยิตสมัยโบรารคือ อ๊าวตื๊อเทินหรือชุดเสื้อยาวสี่ส่วน เอวรัดเข้มขัดผ้าหลากสีและที่ศีษะวางตะเกียง ๓ ดวงเพราะการระบำบ๊าตเหยิตนั้นมักจะแสดงยามค่ำคืน แสงไฟส่งประกายระยิบระยับตามจังหวะการระบำนั้นเป็นการเชื้อเชิญให้คนมาชมมากขึ้น  ส่วนปัจจุบัน ชุดแต่งกายของนางรำนั้นยังเป็นชุดเสื้อยาวสี่ส่วนแต่สีสันฉุดฉาดสดสวยขึ้น

เมื่องานเทศกาลเวียนมาหมู่บ้านอาเคทุกครั้ง ชาวบ้านได้มีการแสดงระบำบ๊าตเหยิต ซึ่งสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านและยกย่องชีวิตที่สงบสุข ./.





Feedback