( VOVworld ) - เขตที่ราบสูงเตยเงวียนทางภาคกลางตอนบนของประเทศเวียดนามที่มีป่าทึบอันกว้างใหญ่และเป็นที่อาศัยของชนกลุ่มน้อยเผ่าM’nong เอเด บานาและยาราย ซึ่งผืนดินแห่งนี้ยังคงแฝงไว้สิ่งมหัศจรรย์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นกลองมโหระทึกดึกดำบรรพ์ ฆ้อง เทศกาลแทงกระบือและนั่งล้อมวงดื่มเหล้าอุ แต่วัฒนธรรมที่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของที่นี่คือ การขับเสภาบทกวีมหากาพย์เตยเงวียน
|
ขับเสภาบทกวีมหกาพย์เตยเงวียนให้ชาวบ้านฟัง ( เวินแอง ) |
วรรณคดีของโลกได้ปรากฎบทกวีมหากาพย์ที่เป็นสุดยอดแห่งวรรณกรรมของยุคสมัยเช่น มหากาพย์อีเลียดและโอดีสซีย์ของกรีก มหากาพย์มหาภารตะและรามายนาของอินเดีย และก่อนหน้านี้ประมาณ ๗๐ ปี นักวิชาการชาวฝรั่งเศสบางท่านได้ค้นพบบทกวีมหากาพย์ดามซานของชนเผ่าเอเดที่ราบสูงเตยเงวียน ต่อมาก็ได้ค้นพบมหากาพย์อีกหลายบทของชนเผ่าอื่นๆที่เตยเงวียนเช่น ชนเผ่าบานา ยารายและM’nong ไม่ว่าจะเป็นบทกวีมหากาพย์ คิงยู ยัมนอย ซิงชีออน ซีง เจอ เญียฟ หรือมหากาพย์ “ ฤดูทำไร่ทำนาบอน ตีอัง ” และ “ เสาตุงวิเศษ ” ซึ่งล้วนเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์การก่อเกิดและพัฒนาของสังคมชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียน โดยกล่าวถึงการกำเนิดของฟ้าดิน มนุษย์และเทพตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียนไม่ว่าจะเป็นประเพณีแต่งงาน อาหารการกิน ชุดแต่งกายประจำชนเผ่าและดนตรี ซึ่งได้สร้างภาพสังคมของชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียนอย่างสมบูรณ์ มหากาพย์เหล่านี้มักจะเล่าเรื่องวีรกรรมของวีรชนที่ได้ปกป้องให้ชาวบ้านคลาดแคล้วจากภัยพิบัติและภูตผีปีศาจต่างๆนาๆ การขับเสภาบทกวีมหากาพย์มักจะจัดขึ้นในงานสำคัญๆหรืองานเทศกาลของหมู่บ้าน โดยชาวบ้านจะนั่งล้อมวงรอบกองไฟฟังศิลปินรุ่นเดอะเล่าเรื่องประวัติของระบอบมาตาธิปไตยหรือความในใจและชีวิตประจำวัน โดยศิลปินที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้านจะร้องว่า บุตรชายและบุตรสาวเอยที่อยู่ใกล้และไกลจงมาที่นี่ฟังคุณย่าคุณยายและคุณแม่เล่าเรื่องรักของคู่รัก ซึ่งผู้นั่งฟังต้องตั้งสมาธิและผู้เล่าอาจจะนั่งหรือนอนเล่าเรื่องยาวหลายคืนหรือหลายวัน
|
นั่งล้อมวงรอบกองไฟฟังขับบทกวีมหากาพย์เตยเงวียน ( เวินแอง )
|
บทกวีมหากาพย์เตยเงวียนได้รับการสืบทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้จากการเล่าต่อกันฟังรุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาเล่าหลายคืนหรือบางครั้งประมาณ ๔ – ๕ วัน โดยคนขับบทกวีได้ใส่อารมณ์ความรู้สึกและจังหวะที่แตกต่างกันเพื่อสร้างทำนองที่หลากหลาย ซึ่งมีทั้งการเล่า ร้อง สนทนาพร้อมกับทำท่าต่างๆ พวกเขาก็เป็นคนแต่งบทกวีและกำกับบริบทต่างๆและสามารถเลียนแบบเสียงผู้ชายผู้หญิง ปีศาจและเทพเจ้าได้ ดังนั้น ศิลปินเหล่านี้ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติ นาย อีเวิน นักสะสมบทกวีมหากาพย์ได้กล่าวถึงบทกวีมหากาพย์ดามซานของชนเผ่าเอเดเผยว่า “ มหากาพย์บทนี้กล่าวถึงชายฉกรรจ์ ดามซานที่มีภรรยาสวยและเป็นแม่ศรีเรือน มีผิวพรรณขาวใสนิ่มเหมือนสีขาวของดอกไม้จนทำให้ชายหมู่บ้านใกล้เคียงต้องแอบมอง ”
|
ร้องบทกวีมหากาพย์ดัมยวงให้เด็กในหมู่บ้าน ( เวินแอง )
|
บทกวีมหากาพย์เตยเงวียนถือเป็นพจนานุกรม เกี่ยวกับชีวิตทางวัฒนธรรมอันมีค่าของชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียนของเวียดนาม อย่างไรก็ดี ในแนวโน้มสมัยปัจจุบันมหากาพย์ไม่ได้รับความสนใจและผู้ที่สามารถขับเสภาก็ลดน้อยลงเพราะอายุสูงมากแล้วซึ่งสุ่มเสี่ยงที่ผลงานเหล่านี้ของชนเผ่าเตยเงวียนอาจจะสูญหายไป เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองที่โดดเด่นดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามได้มีนโยบายสะสมและแปลบทกวีเหล่านี้เป็นภาษากลางเพื่อเผยแพร่ให้กับชนเผ่าอื่นๆและประเทศต่างๆในโลก โดยได้จัดงบประมาณ ๒ หมื่นล้านด่งให้ทำการสะสมและบันทึกเสียงบทกวีมหากาพย์นับร้อยบท พร้อมทั้งเปิดสอนการขับบทกวีให้แก่ชนรุ่นใหม่หรือจัดเป็นหลักสูตรของโรงเรียนและส่งคณะเข้าร่วมงานมหกรรมร้องเพลงพื้นเมืองหรือฟ้อนพื้นเมือง ปัจจุบัน ทางการเตยเงวียนได้เตรียมสำเนาเกี่ยวกับบทกวีมหากาพย์เตยเงวียนเพื่อยื่นเสนอต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกพิจารณารับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมและเล่าขานของโลก ./.
|
หนังสือเกี่ยวกับมหากาพย์เตยเงวียน ( เวินแอง )
|
|
ดามซาน( ภาพจากแฟ้ม ) |