เที่ยวลาวกาย ลิ้มลองข้าวเม่า Khảu Tan Đón

Anh Kiên (VOV Tây Bắc)
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เถิมเยืองเป็นตำบลเขตเขาที่อยู่ห่างจากใจกลางอำเภอวันบ่านไปทางตะวันตกเฉียงใต้จังหวัดลาวกายประมาณ 19 กม. ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีความหมายสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทั้งอำเภอและจังหวัดลาวกาย ซึ่งที่นี่มีข้าวเหนียวชนิดพิเศษที่ต้องเอ่ยถึงก็คือ Khu Tan Đón (เคาตานด๊อน)

เที่ยวลาวกาย ลิ้มลองข้าวเม่า Khảu Tan Đón - ảnh 1ข้าวเหนียวพันธุ์เคาตานด๊อนปลูกได้ปีละครั้งในเดือนเมษายนและเก็บเกี่ยวในเดือน 9 ตามจันทรคติ
 
ในภาษาชนเผ่าไต "เคา" แปลว่าเมล็ดพันธุ์ "ตานด๊อน" แปลว่า "ข้าวเหนียวขาว" ซึ่งเป็นข้าวสารเหนียวที่หอมมาก เมื่อนึ่งสุกแล้วเมล็ดข้าวจะเหนียว นิ่ม หวานและมีน้ำมันหอมระเหยบนผิวของใบตองใบกล้วยที่ใช้ห่อข้าวเหนียวและชาวท้องถิ่นได้ยกย่องให้เป็น "ข้าวเหนียวชั้นเยี่ยมประจำถิ่น" โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวสารเหนียวพันธุ์พื้นเมืองนี้ขึ้นชื่อไปทั่วภูมิภาคเพราะรสชาติที่หวาน นุ่ม และหอมเป็นเอกลักษณ์

ข้าวเหนียวพันธุ์เคาตานด๊อนปลูกได้ปีละครั้งในเดือนเมษายนและเก็บเกี่ยวในเดือน 9 ตามจันทรคติ ซึ่งเป็นช่วงที่เมล็ดข้าวเริ่มสุกและรวงข้างจะดูสวยงามสมบูรณ์ที่สุด ถึงตอนนี้ชาวบ้านตัดและมัดข้าวเป็นกำๆแล้วนำไปเผาไฟจนหอมสุกจากนั้นจึงนำไปตำจนได้ข้าวเม่าที่นุ่มอร่อยน่าทานและนี่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทุกบ้านทุกครอบครัวจะนำไปถวายบรรพบุรุษของพวกเขาและกลายเป็นอาหารจานหลักในงานบุญข้าวใหม่ของคนในท้องถิ่น

ฤดูข้าวปีนี้ ครอบครัวคุณ Vi Thi Son ในหมู่บ้านบ๋านงวาง ตำบลเถิมเยือง อำเภอวันบ่าน จังหวัดลาวกาย ปลูกข้าวสารเหนียวเคาตานด๊อน 40 กิโลกรัม และคาดว่าจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ประมาณ 1.5 ตัน โดยจากช่วงเวลาที่ข้าวเริ่มสุกพอดีนี้ ชาวบ้านมักจะไปเก็บกลับบ้านเพื่อทำข้าวเม่า        “ในช่วงฤดูทำข้าวเม่า ครอบครัวเราต้องตื่นตอนตี 5 เพื่อไปตัดรวงข้าวเหนียวที่นานำกลับบ้าน ต่อจากนั้นต้องเลือกรวงข้าวที่เพิ่งสุกเพื่อทำข้าวเม่า เพราะรวงข้าวที่สุกแก่แล้วไม่สามารถทำได้ ข้าวที่เพิ่งตัดนั้นต้องนำไปตำทันที ถ้าทิ้งไว้นานเกินจะทำให้เมล็ดข้าวไม่อร่อยและใช้เวลานานกว่าจะออกเป็นสีเขียว”

เที่ยวลาวกาย ลิ้มลองข้าวเม่า Khảu Tan Đón - ảnh 2

ชาวเผ่าไทในเถิมเยืองมีหลายวิธีการทำข้าวเม่าและเคล็ดลับในการทำให้ข้าวเม่ามีรสชาติที่เข้มข้นและหอมหวานที่ชาวบ้านมักเลือกทำคือเอารวงข้าวไปย่างบนถ่านแล้วค่อยนำไปตำในครกหินผ่านแต่ละจังหวะของสากตำ เมล็ดข้าวจะค่อยๆ แบน แกลบและเมล็ดจะถูกแยกออกจากกัน จากนั้นนำไปร่อนอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ส่วนที่สำคัญที่สุดคือเมล็ดข้าวเม่าที่เขียวเรียบ นอกจากผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าดั้งเดิมแล้ว ชาวบ้านยังพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งที่ทำจากข้าวเหนียวพันธุ์เคาตานด๊อนนี้และเริ่มเห็นสัญญาณตอบรับที่สดใสจากตลาด คุณ ลาถิเฟือง นายกสมาคมสตรีชุมชนเถิ่มเยืองกล่าวว่า       “ปัจจุบันในชุมชนของเรามีการก่อตั้งสโมสร 3 แห่ง แต่ละสโมสรมีสตรีตั้งแต่ 15 ถึง 20 คน ในแต่ละปีมีการจัดงานเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์เคาตานด๊อน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ข้าวเม่า ข้าวสาร ขนมข้าวต้มมัดดำ เป็นต้น โดยข้าวเม่าในช่วงตรงฤดูกาลจะมีราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งนำรายได้มาสู่บรรดาสตรีในชุมชนมากขึ้น”

          ในปี 2021 ในตำบลเถิมเยืองมีพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์เคาตานด๊อนเกือบ 100 เฮกตาร์ และข้าวเม่า เคาตานด๊อน ก็เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนเผ่าไทในท้องถิ่น ดังนั้นการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของข้าวสารเหนียวเคาตานด๊อนจึงเป็นแนวทางที่ทางการท้องถิ่นให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงการสร้างประสบการณ์ในอนาคตอันใกล้นี้ผ่านงานเทศกาล “หอมกลิ่นข้าวเม่า” ทุกปี นายหว่างยางนาม รองประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลเถิ่มเยืองกล่าวว่าเราพยายามพัฒนาและส่งเสริมให้เครื่องหมายการค้า “เคาตานด๊อน” สามารถออกสู่ตลาดด้านการท่องเที่ยวชุมชน โดยข้าวเหนียวพันธุ์ เคาตานด๊อน นี้เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวแรกของเวียดนามที่ได้รับหนังสือยืนยันการบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติในปี 2018 และในปี 2020 ทางการและประชาชนท้องถิ่นยังประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ OCOP ระดับ 4 ดาวอีกด้วย

ซึ่งสำหรับผู้ที่เคยชิมข้าวเหนียว เคาตานด๊อน เถิ่มเยือง เชื่อว่าจะไม่มีวันลืมรสชาตพิเศษของข้าวพันธุ์พื้นเมืองนี้ได้ เหมือนกับว่าแม้จะได้กินข้าวเหนียวพันธุ์อื่นๆ  แต่ท้ายที่สุดก็ต้องนึกถึงข้าวเหนียว เคาตานด๊อน- ข้าวเหนียวที่ขึ้นชื่อของเมืองลาวกาย หรือที่รู้จักทั่วไปคือ "ข้าวเหนียวชั้นเยี่ยมประจำถิ่น"./.

Feedback