นมัสการวัดGhềnhยามวสันต์

Tô Tuấn
Chia sẻ
(VOVWorld) – ตามประเพณี ในช่วงวันต้นวสันตฤดู ชาวเวียดนามจะไปทำบุญที่วัดเพื่อตั้งความหวังและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้ครอบครัวประสบโชคลาภซึ่งในกรุงฮานอยมีวัดวาอารามหลายแห่ง รวมทั้งวัดGhềnh ซึ่งชาวฮานอยนิยมไปขอพร


(VOVWorld) – ตามประเพณี ในช่วงวันต้นวสันตฤดู ชาวเวียดนามจะไปทำบุญที่วัดเพื่อตั้งความหวังและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้ครอบครัวประสบโชคลาภซึ่งในกรุงฮานอยมีวัดวาอารามหลายแห่ง รวมทั้งวัดGhềnh ซึ่งชาวฮานอยนิยมไปขอพร
นมัสการวัดGhềnhยามวสันต์ - ảnh 1
ประตูวัด Ghềnh(Photo:Internet)

(VOVWorld) – วัดGhềnh ตั้งอยู่ในแขวงBồ Đề เขตLong Biên กรุงฮานอย ห่างจากสะพานChương Dươngไปทางทิศเหนือประมาณ๑ร้อยเมตร ที่มาของชื่อGhềnh ก็เนื่องจากเมื่อก่อนนี้ ที่หน้าวัดมีแก่งน้ำขนาดใหญ่ที่ทั้งเชี่ยวและลึก จนถึงปัจจุบันยังคงมีตำนานเล่าขานของวัดแห่งนี้ที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิตอันน่าเศร้าของเจ้าฟ้าหญิงNgọc Hân ที่ทรงพระสิริโฉมและมากความสามารถโดยพระราชบิดาทรงอนุญาติให้เจ้าฟ้าหญิงNgọc Hân สมรสกับ Quang Trung Nguyễn Huệ ซึ่งเป็นวีรชนที่ได้สร้างชัยชนะแห่งประวัติศาสตร์ Ngọc Hồi Đống Đaโดยได้บทขยี้ทหารชิงผู้รุกรานกว่า๒แสนคนในวสันตฤดูปีระกา๑๗๘๙ เจ้าฟ้าหญิงNgọc Hân และNguyễn Huệ ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้๖ปีเท่านั้น กษัตริย์ที่ปรีชาสามารถพระองค์นี้ก็เสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันซึ่งทำให้เจ้าฟ้าหญิงNgọc Hân ทรงเสียพระหฤทัยและตรอมใจเสด็จสวรรคตตามในขณะที่ยังทรงมีพระชนมายุน้อย  เพื่อแก้แค้นทหารTây Sơn  ราชวงค์Nguyễn ได้ลอยพระสรีรังคารของเจ้าฟ้าหญิงNgọc Hân และเจ้าชายอีก๒พระองค์ที่แม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดง เพื่อรำลึกถึงเจ้าฟ้าหญิงNgọc Hân  ชาวบ้านÁi Mộ ได้ก่อสร้างวัดบูชาพระองค์ริมฝั่งแม่น้ำห่ง  เรื่องราวความรักของเจ้าฟ้าหญิงNgọc Hân  และชีวิตที่เศร้าโศกของพระองค์ยังคงฝังลึกอยู่ในความทรงจำของชาวบ้าน ทำให้วัดGhềnh มีสีสันตำนาน และความศักดิ์สิทธิ์  ปัจจุบัน แผ่นศิลาจารึกในวัดระบุว่า เมื่อปี๑๘๕๘ นาง Đặng Thị Bản ซึ่งเป็นชาวบ้านได้อุทิศเงินก่อสร้างวัดแห่งนี้  ๒๐๐ปีได้ผ่านพ้นไป ปัจจุบัน หน้าที่ดูแลวัดยังเป็นของลูกหลานของนางBản   นาย Đặng Đình Khuê ผู้ดูแลวัดเผยว่า“ผมเป็นรุ่นที่๕ของตระกูลĐặngที่ดูแลวัดแห่งนี้  สมัยก่อน ที่นี่มีท่าเรือและต้นไทร และอยู่ติดกับฝั่งแม่น้ำ หลังจากที่ถูกกระแสน้ำซัดจึงย้ายวัดมายังที่นี่”

นมัสการวัดGhềnhยามวสันต์ - ảnh 2
พระบรมราชินีนาถNgọc Hân (Photo:Internet)

ปัจจุบันวัดGhềnh มีความศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวฮานอย บ่ายวันที่๖เดือนอ้าย มีพระภิกษุสามเณรจำนวนมากมาทำพิธีเซ่นไหว้วันต้นปีใหม่เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้ผู้แสวงบุญประสบโชคดีและคลาดแคล้วจากสิ่งที่ไม่ดีในปีใหม่ ชาวฮานอยจำนวนมากมาที่นี่เพื่อขอพรให้ทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ประสบแต่ความสุขพร้อมทั้งชมทิวทัศน์ที่สวยงามช่วยให้จิตใจสะอาดผ่องแผ้ว นางNguyễn Thị Hồng อยู่ที่ถนนKhâm Thiênกรุงฮานอย มาทำบุญทุกปีกล่าวว่า“ประเพณีอันดีงามของชาติคือต้นปีไปทำบุญที่วัด  ดิฉันมาที่นี่เพื่อแสวงหาความสงบให้แก่จิตใจและขอให้ทำมาค้าขึ้นในปี๒๐๑๓”    นอกจากผู้สูงอายุแล้วก็ยังมีชายหญิงวัยทำงานจำนวนมากมาทำบุญที่นี่โดยนอกจากขอให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ สมาชิกในครอบครัวประสบแต่โชคดีแล้ว คู่ชายหญิงยังขอให้ความรักของตนผลิดอกออกผล  คุณDiễm Hằng อยู่ที่เขตĐống Đaกล่าวว่า“ดิฉันเห็นว่า การไปทำบุญที่วัดในต้นปีใหม่เป็นประเพณีที่ดีงาม เพราะเมื่อมาขอพรที่นี่ทุกครั้ง ดิฉันก็ต้องปรับตัวเพื่อให้มีวิถีชีวิตที่ดี ทุกคนต่างมีความปรารถนาที่แตกต่างกัน แต่ขอพรด้วยใจจริง”      นายVũ Anh Quân เจ้าของสถานประกอบการเครื่องประดับอัญมณีที่มาร่วมพิธีขอให้ประสบโชคดี คลาดแคล้วจากสิ่งไม่ดีในปีใหม่เผยว่า นี่เป็นปีที่๓ที่เขามาร่วมพิธี สำหรับเขา การไปแสวงบุญในต้นปีใหม่เป็นประเพณีที่ดีงาม ขอให้สถานประกอบการ ครอบครัว และญาติมิตรประสบโชคดีในต้นวสันตฤดู“ชาวเวียดนามมีวิถีชีวิตที่ดี ทุกครอบครัวไปทำบุญที่วัดในช่วงปลายและต้นปี เพื่อขอให้ประสบโชคลาภ มีความสุขความเจริญ มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ผมมาที่นี่ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้สมหวังดั่งใจนึก” 

นมัสการวัดGhềnhยามวสันต์ - ảnh 3
ภายในวัดGhềnh(Photo:Internet)

จากประตูวัด ผู้แสวงบุญอาจมองเห็นแม่น้ำแดงที่มีสะพานChương Dương พาดผ่านเชื่อมโยงกับใจกลางกรุงฮานอย ซึ่งเป็นภาพทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศที่บริสุทธ์ ทำให้คนเรามีจิตใจโปร่งใส ในช่วงวันต้นวสันต์ฤดู ดูเหมือนจิตวิญาณของมนุษย์ได้ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติรอบๆตัว  แต่ละคนที่มาวัดนี้ต่างมีความปรารถนาอย่างจริงจัง แสดงความเคารพต่อพระพุทธ  สำนึกในบุญคุณต่อบรรพบุรุษ ด้วยเหตุนี้  การไปแสวงบุญในต้นวสันตฤดูจึงไม่เพียงแต่มีความหมายด้านความเชื่อเท่านั้นหากยังเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมอันดีงามที่ควรอนุรักษ์และส่งเสริมสืบไป ./.

Feedback