( VOVworld )-ในสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ในวันที่ ๕ สิงหาคมค.ศ.๑๙๖๔ กองทัพสหรัฐได้เปิดการรบที่ใช้ระหัสว่า “ การเดินทัพปีแอร์ซ อาร์ราว ” หรือการเดินทัพทะลุเพื่อโจมตีเป้าหมายเส้นทางคมนาคมขนส่งสายหลักๆในภาคเหนือของเวียดนามเช่น สะพานห่ามโร่งและฝ่าแก๊ปในจังหวัดแทงฮั้ว ท่าเรือเรือข้ามฟากเบ๊นถุ่ยในจังหวัดเหง่อาน ท่าเรือข้ามฟากห่อนกายและแก๋งยางจังหวัดกว่างนินห์เพื่อตัดการสนับสนุนทุกอย่างจากภาคเหนือไปยังภาคใต้ อย่างไรก็ดี ด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่ เราได้เปิดเส้นทางใหม่คือทางหลวงหมายเลข ๑๕ จากทางทิศตะวันตกจังหวัดนินห์บิ่นห์เชื่อมต่อทางหลวงโฮจิมินห์ถึงจังหวัดกว่างบิ่นห์ นับเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียงอาหารและคนสายหลักอีกสายมุ่งหน้าสู่ภาคใต้นอกเหนือจากทางหลวงหมายเลข๑เอ
อนุสรสถานสาววัยใส ๑๐ ชีวิต ณ สามแยกด่งหลก
ทางหลวงหมายเลข ๑๕ เป็นช่วงทางหนึ่งของทางหลวงโฮจิมินห์เพื่อขนส่งเสบียงและทหารในอดีตที่มีประชาชนอาศัยอยู่ไม่มากนักและถูกทำลายด้วยกระสุนและระเบิดทั้งวันและคืน ปัจจุบันได้รับการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตลาดยางมะตอย รถราวิ่งผ่านอย่างสะดวกสบาย อาคารบ้านช่องผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด พลตรีเลืองสีญูง อดีตผู้บัญชาการกองทหารผสม ๑๒ คุยกับพวกเราว่า “ วันที่ ๕ สิงหาคมค.ศ.๑๙๖๔ สหรัฐเปิดการโจมตีทำลายภาคเหนือ โดยมุ่งเป้าไปยังเส้นทางคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะสะพานเพื่อสกัดการลำเลียงเสบียงเข้าสมรภูมิภาคใต้ สะพานทุกแห่งตามทางหลวงถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการขนส่งของกองทัพเวียดนามต้องใช้เส้นทางหมายเลข ๑๕ จากทางทิศตะวันตกจังหวัดนินห์บิ่นห์ไปยังจังหวัดห่าติ๋งภาคกลางเวียดนามแล้วเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข ๘ ไปยังลาว นับเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารสายสำคัญผ่านจังหวัดต่างๆทางภาคกลางเวียดนามสู่ภาคใต้ ”
ปัจจุบัน บนทางหลวงโฮจิมินห์ช่วงผ่านภาคกลางของเวียดนามมีป้ายและโบราณสถานซึ่งเป็นร่องรอยของสงครามต่อต้านอเมริกาของชาติเวียดนามอย่างดุเดือด ที่นี่ถูกเครื่องบินของสหรัฐทิ้งระเบิดเพื้อทำลายเส้นทางขนส่งสายหลักไปยังภาคใต้ให้ราบเป็นหน้ากลอง โดยได้ทิ้งระเบิดตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ ๐ไปยังช่องเขาจวงโบ่น ท่าเรือข้ามฟากนามด่านและฝ่าแรง และสถานที่อีกหนึ่งแห่งที่ได้กลายเป็นตำนานคือ สามแยกด่งหลก สามแยกด่งหลกในตำบลด่งหลก อำเภอกานหลก จังหวัดห่าติ๋งบนทางหลวงโฮจิมินห์ตามเทือกเขาเจื่องเซินช่วงผ่านจังหวัดห่าติ่ง สามแยกด่งหลกถูกห่าระเบิดของศัตรูเพราะการขนส่งทุกอย่างเข้าสมรภูมิภาคใต้ต้องผ่านที่นี่ พลตรีเลืองสีญูงเล่าว่า แต่ละตารางเมตรของที่นี่ต้องทนรับระเบิดขนาดหนึ่งตันอย่างน้อย ๓ ลูก ซึ่งไม่รวมกับระเบิดและอาวุธชนิดอื่นๆ พลตรีญูงกล่าวว่า “ สามแยกด่งหลกเป็นจุดยุทธศาสตร์เพราะมีทางหลวงหมายเลข ๑๕ ผ่านและมีอีกเส้นทางลงไปทางหลวงหมายเลข๑เอ การลำเลียงเสบียงทุกอย่างสู่ภาคใต้ต้องผ่านเส้นทางนี้ ข้างหนึ่งของสามแยกด่งหลกคือภูเขา อีกข้างหนึ่งคือทุ่งนาเหวลึก หากสามารถทำลายเส้นทางสายนี้การขนส่งเข้าภาคใต้จะถูกระงับลง ซึ่งถือเป็นเส้นทางสายเดียวไม่มีสองกองทัพสหรัฐอเมริกาเลือกโจมตีทำลายจุดที่อ่อนไหวนี้เพราะเห็นว่าหากประสบความสำเร็จก็ถือว่าทรงประสิทธิภาพมาก ”
พลตรีเลืองสีญูง
มีเรื่องเล่าว่าสาววัยใส ๑๐ คนเสียชีวิตที่นี่เพราะการทิ้งระเบิดของสหรัฐ สาวทั้ง ๑๐ คนเป็นอาสาของหน่วยเยาวชนอาสาที่ ๕๕ ของจังหวัดห่าติ่ง มีอายุตั้งแต่ ๑๗-๒๔ ปี โดยนางสาวหวอถิ่เติ่นเป็นหัวหน้า สาวอาสาเหล่านี้ตอนกลางวันต้องหนีห่าระเบิดของศัตรูพอตกค่ำจะถมดินหลุมระเบิดเพื่อเปิดทางลำเลียงขนส่งเสบียงไปยังแนวหน้า เช้าวันที่ ๒๔ กรกฎาคมค.ศ.๑๙๖๘ พวกเขาได้รับคำสั่งรีบถมดินหลุมระเบิดและขณะกำลังถมดินมีระเบิดลูกหนึ่งตกลงในบริเวรที่พวกเขากำลังปฏิบัติหน้าที่ คร่าชีวิตทั้ง ๑๐ คน
ปัจจุบัน สถานที่หญิงสาวอาสาเสียชีวิตกลายเป็นเขตอนุสรณ์สถานเพื่อบูชาสาวทั้ง ๑๐ ชีวิตที่ได้สละวัยสาวของตนเพื่อเอกราชของชาติ นายเจิ่นดิ่นห์เอื๊อก หัวหน้าฝ่ายดูแลเขตอนุสรณ์สถานสามแยกด่งหลกเปิดเผยว่า “ ฝ่ายดูแลที่นี่เน้นประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเข้าใจสงครามต่อต้านสหรัฐในอดีต โดยเฉพาะในด้านคมนาคมขนส่งและสงครามที่ประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อให้คนรุ่นใหม่ต้องตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตในปัจจุบันที่ชนรุ่นก่อนๆต้องสละเลือดเนื้อ เดือนกรกฎาคมนี้ถือว่ามีคนมาเที่ยวและจุดธูปบูชามากเป็นประวัติการ แต่ละวันจะมีประมาณ ๕๐,๐๐๐ คนมาเมื่อเที่ยบกับ ๓,๐๐๐คนในเดือนอื่น”
สามแยกด่งหลกสมัยสงครามดุเดือด
เขตอนุสรณ์สถานสามแยกด่งหลกตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีป่าสนทึบที่เป็นสีเขียวล้อมรอบ อาคารแสดง พิพิธภัณฑ์เยาวชนอาสาและอนุสาวรีย์ที่ได้รับการก่อสร้างอย่างสวยงามอยู่ตรงข้ามกับสุสานของสาววัยใส ๑๐ คน แต่ละปี นักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม ชาวต่างชาติและชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศได้มาที่นี่เพื่อจุดธูปรำลึกถึงกุลบุตรที่ได้สละชีพเพื่อชาติ และเยือนโบราณสถานแห่งประวัติศาตร์นี้ ./.