โครงการ EPPIC มีส่วนร่วมส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในภูมิภาคอาเซียน

Minh Lý
Chia sẻ
(VOVWORLD) - โครงการเพื่อการพัฒนาของสหประชาชาติหรือ UNDP ได้ร่วมกับบรรดาประเทศอาเซียนจัดการประกวด Ending Plastic Pollution Innovation Challenge หรือ EPPIC ครั้งแรกเมื่อปี 2020 ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนานอร์เวย์ โดยมี159ทีมจาก 6ประเทศอาเซียนคือเวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และมาเลเซียเข้าร่วม 
วัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวคือแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในอ่าวฮาลองของเวียดนามและเกาะสมุยของไทยอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งผลักดันการปฏิบัติผลงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมีส่วนร่วมผลักดันการสร้างสรรค์เศรษฐกิจหมุนเวียนในภูมิภาคอาเซียนผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติก การนำมาใช้ใหม่และรีไซเคิลขยะพลาสติก เป็นต้น
โครงการ EPPIC มีส่วนร่วมส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในภูมิภาคอาเซียน - ảnh 1การแนะนำของคุณเลถวี่ลิง อายุ 33ปี ผู้ริเริ่มและซีอีโอของกลุ่ม AYA จากประเทศเวียดนาม 

คุณผู้ฟังกำลังฟังคุณเลถวี่ลิง อายุ 33ปี ผู้ริเริ่มและซีอีโอของกลุ่ม AYA จากประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็น 1ใน 14กลุ่มที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศของการประกวด Ending Plastic Pollution Innovation Challenge หรือ EPPIC ปี 2020 แนะนำรูปแบบการนำแก้วแบบใช้ซ้ำได้มาใช้ในมหาวิทยาลัยแทนแก้วพลาสติก โดยก่อนหน้านี้ คุณลิงได้ปฏิบัติรูปแบบนี้ในงานเทศกาลดนตรี Epizo de 2019 ที่ เกาะฟู้ก๊วกและกิจกรรมวิ่งมาราธอน Lakerun ปี2020 ซึ่งช่วยลดการใช้แก้วพลาสติกได้หลายหมื่นใบ สำหรับรูปแบบการนำแก้วแบบใช้ซ้ำได้มาใช้ในมหาวิทยาลัย คุณลิงได้เผยว่า“พวกเรามี 2หน้าที่ หนึ่งคือแนะนำเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่นักศึกษาผ่านการจัด workshop และการอบรมต่างๆ พร้อมทั้งแนะนำรูปแบบการนำแก้วแบบใช้ซ้ำได้มาใช้ในมหาวิทยาลัยแทนแก้วพลาสติกเพื่อให้นักศึกษามีความเคยชิน สองคือต้องแสวงหานักอุปถัมภ์ที่สนับสนุนแก้วโลหะหรือเครื่องล้างแก้วอุตสาหกรรมเพื่อนำมาใช้ในมหาวิทยาลัย”

รูปแบบและกิจกรรมของกลุ่ม AYA คือสิ่งที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยเน้นการยกระดับความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่วน“กระบวนการเปลี่ยนขยะบรรจุภัณฑ์ฟิล์มอ่อนตัวหลายชั้นเป็นอลุมิเนียมเเละน้ำมันเชื้อเพลิง”ของกลุ่ม CIRAC ประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเด่นชัด ดร.ศิขริน เตมียกุล อายุ 30ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มของกลุ่ม CIRAC ได้เผยว่า กำลังทำการทดสอบเทคโนโลยีนี้ในระดับ Pilot scale โดยนำขยะพลาสติก 1 ตันไปรีไซเคิลเป็นอลูมิเนียมประมาณ 200 ก.ก.ต่อวัน ส่วนกระบวนการเปลี่ยนขยะบรรจุภัณฑ์ฟิล์มอ่อนตัวหลายชั้นสู่น้ำมันเชื้อเพลิงนั้น กำลังทำการวิจัยและพัฒนา

“เรามองอย่างนี้ ทุกอย่างเป็น material ไม่มีอะไรเป็นขยะ ตัวขยะพลาสติกก็คือ material ที่สามารถใช้งานเป็นอย่างอื่นได้ เทคโนโลยีของเราเปลี่ยนตัวขยะพลาสติกประเภท packageที่มีหลายชั้นให้เป็นอลูมิเนียม ก็คือแยกอลูมิเนียมออกจากชั้นเหล่านั้น และขยะพลาสติกกลุ่มหนึ่งให้เป็นน้ำมัน ซึ่งน้ำมันก็ถูกใช้งานในเครื่องยนตร์อยู่แล้ว ส่วนอลูมิเนียมเราก็เอามาใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้อลูมิเนียม มันก็หมายความว่า ไม่ได้ปล่อยทิ้งอะไรแต่เอามันกลับมาใช้งานอีกครั้งเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม”

โครงการ EPPIC มีส่วนร่วมส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในภูมิภาคอาเซียน - ảnh 2กลุ่ม CIRAC นำเสนอผลงานผ่านทางออนไลน์และเป็นหนึ่งใน 4 ทีมที่คว้ารางวัลการประกวด

ผลงานของกลุ่ม CIRAC ได้รับการชื่นชมจากคณะกรรมการตัดสินเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้กลุ่ม CIRAC เป็นหนึ่งใน 4 ทีมที่คว้ารางวัลการประกวด Ending Plastic Pollution Innovation Challenge ในภูมิภาคอาเซียนปี 2020 โดยได้รับเงินรางวัลทีมละ 1 หมื่น 8พันดอลลาร์สหรัฐและได้เข้าร่วมการอบรมเป็นเวลา 9เดือนเพื่อผลักดันการปฏิบัติผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากเทคโนโลยีที่ได้รับการทดสอบในระดับ Pilot scale เหมือนผลงานของกลุ่ม CIRAC แล้ว ยังมีรูปแบบที่กำลังดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำหลอดจากกระจูดของบริษัท Green Joy ประเทศเวียดนาม ซึ่งไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกเท่านั้น หากยังสร้างงานทำให้แก่ประชาชนและมีส่วนร่วมผลักดันการสร้างสรรค์รูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย คุณหวอท้าวเงวียน ผู้ริเริ่มและซีอีโอของบริษัท Green Joy ได้เผยว่า“โครงการทำหลอดจากกระจูดของบริษัท Green Joy ได้ปฏิบัติมาเป็นเวลากว่า 2ปี โดยได้รับการชื่นชมจากลูกค้าและเพื่อนมิตรชาวต่างชาติ ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการจำหน่ายในกว่า 30จังหวัดและนครทั่วประเทศ อีกทั้งได้รับการส่งออกไปยังกว่า 30ประเทศในยุโรป เอเชียและแถบลาตินอเมริกา ทางบริษัทฯได้ประสานงานกับฝ่ายต่างๆในการสร้างงานทำและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและสตรีกว่า 100คนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เรามีแผนขยายการผลิตในจังหวัดต่างๆทางภาคกลางและภาคเหนือ”

โครงการ EPPIC มีส่วนร่วมส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในภูมิภาคอาเซียน - ảnh 3มี14กลุ่มที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศของการประกวด Ending Plastic Pollution Innovation Challenge หรือ EPPIC ปี 2020 

ส่วนสำหรับรัฐบาลเวียดนาม โครงการ EPPIC ได้มีส่วนร่วมปฏิบัตินโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างสรรค์เศรษฐกิจทางทะเลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก โดยเฉพาะขยะพลาสติกทางทะเล นาย ตะดิ่งที อธิบดีทบวงทะเลและหมู่เกาะเวียดนาม สมาชิกคณะกรรมการจัดการประกวด EPPIC ปี2020ได้เผยว่า“โครงการนี้ได้มีส่วนร่วมต่อการปฏิบัตินโยบายต่างๆ โดยเฉพาะหน้าที่ที่สำคัญของแผนการปฏิบัติแห่งชาติเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะพลาสติกในทะเลและมหาสมุทรที่นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ประกาศใช้ อันเป็นการยืนยันถึงบทบาทของเวียดนามในการเข้าร่วม เสนอและปฏิบัติความคิดริเริ่มเกี่ยวกับความร่วมมือแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในทะเลและมหาสมุทรในภูมิภาคอาเซียน ปฏิบัติแนวทางของพรรคและรัฐบาลเวียดนามในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืน สร้างสรรค์เศรษฐกิจทางทะเลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจหมุนเวียน”

เพื่อสานต่อความสำเร็จของโครงการ EPPIC ปี2020 คณะกรรมการจัดงานได้เปิดการประกวด Ending Plastic Pollution Innovation Challenge ในภูมิภาคอาเซียนหรือ EPPIC ปี 2021 โดยเน้นแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในเขตเศรษฐกิจ Mandalika บนเกาะ Lombok ประเทศอินโดนีเซียและเกาะ Samal ประเทศฟิลิปปินส์เพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างงานทำตามรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในภูมิภาค.

Feedback