กิจกรรมศึกษาทำความเข้าใจกับภาษาอินโดนีเซียผ่านนิยายอินโดนีเซียเรื่อง “Malin Kundang” |
เวลา 14.30 น. ในห้องกว้างประมาณ 35 ตารางเมตร เด็กกว่า 30 คนนั่งที่โต๊ะที่มีอาหารว่างต่างๆ เช่น ขนม ผลไม้และเครื่องดื่ม คนละ 1 โต๊ะ ส่วนผู้ปกครองนั่งด้านหลังห้องเพื่อดูเด็กๆร่วมกิจกรรมต่างๆหรือชมภาพถ่ายเกี่ยวกับคนและประเทศอินโดนีเซียที่แขวนบนผนังของห้องได้อย่างสะดวก
ก่อนเล่าเรื่องนิยาย “Malin Kundang” นางสาวเจิ่นแองทือ ที่กำลังฝึกงานในสถานทูตอินโดนีเซียได้แนะนำข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซีย การเล่าเรื่องที่น่าสนใจพร้อมสไลด์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอินโดนีเซียได้ช่วยให้เด็กๆเข้าสู่โลกแห่งนิยายของชาวปาดัง “Malin Kundang” เป็นนิยายที่เล่าเรื่องของเด็กชาย Malin Kundang ที่อกตัญญูต่อแม่จึงถูกสาปให้กลายเป็นก้อนหิน
เมื่อเล่าเรื่องจบ เด็กก็เริ่มเรียนภาษาอินโดนีเซีย บรรยากาศคึกคักมากขึ้น ซึ่งทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
เด็กชายฝ่ามตุ่งเลิม อายุ 10 ขวบจากโรงเรียนประถมศึกษา เหงียนชีเฟืองที่นั่งโต๊ะแรกกำลังตั้งใจฟังการออกเสียงของคุณ แองทือ กับคุณ นาฟีอา ซึ่งเป็นชาวอินโดนีเซียที่กำลังฝึกงานในสถานทูตอินโดนีเซีย เด็กชาย ตุ่งเลิมเผยว่า “น่าสนใจมากครับเพราะผมได้เรียนภาษาต่างประเทศอีกภาษา เมื่อก่อนนี้ ผมไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับประเทศและภาษาอินโดนีเซีย แต่นิยายในวันนี้น่าสนใจมาก ช่วยให้ผมมีความเข้าใจเกี่ยวกับความกตัญญู ต้องให้ความเคารพพ่อแม่และอาชีพของพ่อแม่”
ในตอนแรก เด็กๆ ยังรู้สึกเขินในการอ่านศัพท์ใหม่แต่หลังจากนั้นก็ชื่นชอบเพราะเมื่ออ่านถูกก็จะได้ของที่ระลึก แต่ถึงแม้จะอ่านถูกหรือผิดก็ได้รับเสียงปรบมือชื่นชม นางสาว บุ่ยทูยาง อายุ 13 ปีจากโรงเรียนเหงียนจุงจึกกล่าวว่า “วันนี้ หนูได้เรียนหลายอย่าง โดยเฉพาะคำศัพท์อินโดนีเซียบางคำ เช่น “Ibu” คือแม่ “Rumah” คือ “บ้าน” และ “Ayam” คือไก่ หนูคิดว่า ภาษาอินโดนีเซียไม่ยากมาก คล้ายๆกับภาษาอังกฤษ น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากค่ะ”
ผู้ปกครองทุกคนปรบมือชื่นชมอยู่ตลอด รวมทั้งผู้ปกครองพิเศษคนหนึ่งคือครูเหงียนเฟืองยุง จากโรงเรียนประถมศึกษาเหงียนจุงจึกที่พาเด็กกว่า 10 คนมาเรียน ครู เฟืองยุงเผยว่า “ดิฉันได้คัดเลือกนักเรียนกว่า 10 คนพามาเรียนที่นี่เพื่อลองดูว่า กิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร แล้วจะนำไปเผยแพร่และพัฒนาวัฒนธรรมที่มีค่านี้ให้แก่เด็กๆ ดิฉันเห็นว่า กิจกรรมนี้เป็นประโยชน์มาก ซึ่งข้อมูลความรู้เหมาะสมกับวัยและมีเอกลักษณ์วัฒนธรรม หวังว่า จะมีการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์นี้อีกเพื่อมีเวทีให้เด็กๆเข้าร่วมมากขึ้น”
ส่วนนาง ลินดา วีดียานตี เลขานุการคนที่ 3 ของสถานทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามเผยว่า “เราเลือกนักเรียนระดับประถม ซึ่งสามารถจำและมีสมาธิดีกว่าผู้ใหญ่ ส่วนที่เราเลือกนิยาย “Malin Kundang” ก็เพราะจะเป็นบทเรียนด้านคุณธรรมให้แก่ทุกคนเกี่ยวกับความกตัญญู นี่ไม่ใช่นิยายเท่านั้น นี่คือสาส์นที่มีคุณค่าเช่นกับเวียดนามคือ ต้องให้ความเคารพพ่อแม่ โดยเฉพาะแม่ของเรา”
เวลา 16.30 น. กิจกรรมได้เสร็จสิ้นลง เด็กแต่ละคนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างได้รับของที่ระลึกที่มีความหมาย มีผู้ปกครองและเด็กหลายคนยังเดินไปชมส่วนจัดแสดงภาพถ่ายต่างๆเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซีย นาง ลินดา วีดียานตี เผยต่อไปว่า ในเวลาข้างหน้า ที่เขตจัดแสดง “ Umah Indo” ของสถานทูตอินโดนีเซีย จะมีการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้อีกเพื่อแนะนำวัฒนธรรมและคนอินโดนีเซียให้แก่ชาวฮานอยต่อไป.