บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมฟอรั่มเศรษฐกิจสีเขียวอาเซียน (Photo:กระทรวงวางแผนและการพัฒนาแห่งชาติอินโดนีเซีย) |
เมื่อปี 2021 บรรดาผู้นำอาเซียนได้ออกปฏิญญาเกี่ยวกับเศรษฐกิจสีเขียว โดยยืนยันถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคในด้านนี้ ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวในอาเซียนที่ได้กล่าวถึง ประกอบด้วย การใช้งาน การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทะเลและมหาสมุทร รวมถึงทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและริมชายฝั่ง เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การขนส่งทางเรือ พลังงานหมุนเวียน การท่องเที่ยว การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับระบบสวัสดิการสังคมของประชาชน พร้อมทั้งส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
ในกรอบฟอรั่มเศรษฐกิจสีเขียวอาเซียนที่มีขึ้นเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ณ หมู่เกาะบังกา เบอลีตุง ประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นประเทศเจ้าภาพได้เรียกร้องให้กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ประโยชน์จากพันธมิตรการเงินแบบผสมทั่วโลก เพื่อปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจสีเขียวของภูมิภาค โดยพันธมิตรการเงินแบบผสมทั่วโลก ซึ่งเป็นข้อคิดริเริ่มที่อินโดนีเซียได้ประกาศในการประชุมสุดยอด G20 ปี 2022 ที่เกาะบาหลี สามารถช่วยให้อาเซียนรวมตัวกลุ่มนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในสาขาเศรษฐกิจสีเขียวต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การบริหารจัดการของเสียในมหาสมุทรและริมชายฝั่ง และอาชีพการประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งคาดว่า มีการประกอบด้วยหลักการที่ครอบคลุมและยั่งยืน ควบคู่กับค่านิยมดั้งเดิมของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นาย Suharso Monoarfa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาแห่งชาติอินโดนีเซีย เผยว่า
“ในฐานะประธานอาเซียนปี 2023 ประเทศอินโดนีเซียให้คำมั่นที่จะนำเสนอกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสีเขียวสำหรับอาเซียน โดยมีการวางรากฐานในการสร้างการรับรู้ร่วมกัน พร้อมแผนงานต่างๆ ที่จะส่งเสริมกลยุทธ์นี้ให้เป็นหนึ่งในปัจจัยการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งกลยุทธ์นี้มีความจำเป็นอย่างมากเนื่องด้วยรายได้ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนยังคงมีช่องว่างที่ห่างออกจากกัน ผมมีความเชื่อมั่นว่า อาเซียนสามารถรับบทบาทเป็นผู้นำในกระแสเศรษฐกิจแห่งสีเขียวทั่วโลก ส่งเสริมจุดแข็งต่างๆ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับทะเล มหาสมุทร และแหล่งน้ำต่างๆ อีกทั้งกระตุ้นข้อคิดริเริ่มเชิงสร้างสรรค์ แบ่งปันวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของอาเซียน”
เวียดนามมีศักยภาพอีกมากเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล (Photo: TTXVN) |
ในภูมิภาคแห่งนี้ เวียดนามเป็นประเทศที่มีแนวชายฝั่งยาวกว่า 3,250 กม. จากเหนือจรดใต้ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศและภูมิภาค ดังนั้น จึงมีเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยหลายประการสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว นาย เหงวียนแองดึ๊ก เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจของกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนาม ได้เผยว่า นอกเหนือจากศักยภาพทางธรรมชาติแล้ว เวียดนามกำลังสร้างเงื่อนไขต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว อีกทั้งยังได้เสนอมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวในภูมิภาคอาเซียน เช่น การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน การรักษาคุณค่าที่สำคัญจากท้องทะเล การส่งเสริมเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมถึงการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ขั้นสูง
ส่วนประเทศกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนปี 2022 ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจสีเขียวคือกุญแจสู่การเจริญเติบโตของอาเซียน โดยนาย Heng Sarith เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำอาเซียน ได้เผยว่า การพัฒนาท่าเรือและการคมนาคมขนส่งทางเรือเป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกัมพูชาในห่วงโซ่อุปทานโลก พร้อมทั้งยังเป็นคันเร่งที่มีศักยภาพสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว นาย Heng Sarith ได้กล่าวถึงผลกระทบของเศรษฐกิจสีเขียวและมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวให้แก่ภูมิภาคอาเซียน ว่า
“ทางการกัมพูชาได้เห็นว่า เศรษฐกิจสีเขียวได้ส่งผลไม่น้อยต่อสิ่งแวดล้อม โดยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนจนถึงปี 2025 ระบุว่า การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างพร้อมเพรียงด้วยความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อสามารถสร้างประสิทธิภาพที่สูงสุด ดังนั้น รัฐบาล องค์กรทางสังคม สถานประกอบการ และพลเมืองอาเซียน ต้องร่วมกันตระหนักถึงประสิทธิผลของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือกับหุ้นส่วนระหว่างประเทศต่างๆ ยังคงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน”
ทั้งนี้ ตามรายงานสถิติจากฟอรั่มเศรษฐกิจสีเขียวอาเซียนปี 2023 พบว่า พื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่าร้อยละ 66 เป็นทะเลและมหาสมุทร ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการประมงทั่วโลกถึงร้อยละ 15 สร้างงานให้แก่แรงงานประมาณ 625 ล้านคนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวในด้านต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การบริหารจัดการขยะในมหาสมุทร และอาชีพการประมงที่ยั่งยืน จะเป็นโอกาสครั้งใหญ่สำหรับการส่งเสริมการขยายตัวในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน และมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างสถานะของอาเซียน รวมถึงบทบาทการเป็นศูนย์กลางแห่งการเจริญเติบโตของอาเซียน ตามหัวข้อในปีประธานอาเซียน 2023 ของอินโดนีเซีย “อาเซียนที่มีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเจริญเติบโต”.